- @TOM NEWS
- Apr 2021
เรื่องเล่าสายรุ้ง กับคู่มือผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ
By : Ruta
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเวทีเสวนา เรื่องเล่าสายรุ้ง We Are Different : A Journey of the Rainbow เปิดตัว “คู่มือผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ” เพื่อเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจผู้ปกครองให้รู้จักวิธีดูแลเด็กเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากในฐานะคนทำงานด้าน LGBTQ อย่างเรา เพราะนี่ถือเป็นการตื่นตัวเพื่อพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเป็นชาว LGBTQ ครั้งแรกๆ และหน่วยงานที่มาดูแลรับผิดชอบก็ถือเป็น "ตัวจริง"
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ได้ให้ความคิดเห็นถึงโครงการนี้ในงานเสวนาเอาไว้ว่า "ความหลากหลายทางเพศสะท้อนมิติทางสุขภาวะ เพราะหลายคนยังขาดการยอมรับจากครอบครัว การดำเนินงานของโครงการชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ความกังวลของครอบครัวที่มีบุตรหลานหลากหลายทางเพศ 3 ประเด็น คือ 1.ไม่กล้าเปิดเผยตัวตน เพราะกลัวไม่ได้รับการยอมรับ หรือถูกกระทำความรุนแรงจากครอบครัว และสังคม 2.ไม่กล้าเปิดเผยหรือเปลี่ยนร่างกายให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะมีข้อจำกัดในชีวิต 3. มีความกังวลต่ออนาคตด้านการศึกษาและหน้าที่การงาน สอดคล้องกับการศึกษาอีกหลายฉบับทั้งของไทยและต่างประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนการจัดทำ 'คู่มือผู้ปกครองดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ' เพื่อสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจ จนเกิดพื้นที่ปลอดภัย ระหว่างพ่อ แม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลานหลากหลายเพศ รวมไปถึงคำแนะนำต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายเพศ เพราะสุขภาวะที่ดีเริ่มต้นได้ที่บ้าน เมื่อครอบครัวรับฟังบุตรหลานด้วยความรักและความเข้าใจ เขาก็จะกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้น มีความมั่นใจและมีความสุขในการใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง"
นอกจากนี้ ในงานเสวนา ยังมีการร่วมพูดคุยโดยคุณแม่ผู้ปกครองที่มีลูกสาวอยู่ในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ มาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น และตอกย้ำถึงความสำคัญของคู่มือเล่มนี้ โดย มัจฉา พรอินทร์ เครือข่ายครอบครัวที่มีลูกหลานหลากหลายเพศ ได้เล่าถึงวันที่ลูกบอกกับเธอและคู่ชีวิตของเธอว่า “หนูชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง” หลายครอบครัวอาจกังวล เพราะยังมีอคติเรื่องความหลากหลายทางเพศแต่เธอและคู่ชีวิตได้เปิดพื้นที่ให้ลูกสามารถพูดคุยได้อย่างเปิดใจทุกเรื่อง และเราทั้งคู่ก็ทำให้ลูกได้เห็นรูปแบบความรัก ความสัมพันธ์ ความอบอุ่นที่นอกเหนือจากหญิงและชาย เธอมองว่า แต่ละครอบครัวควรจะหาเครื่องมือหรือวิธีการในการพูดคุยสื่อสารในพื้นที่ที่รับฟังกันด้วยหัวใจ คู่มือเล่มนี้ที่จะช่วยทลายกำแพงอคติทางเพศก็ได้
ส่วนฝั่งลูกสาว ศิริวรรณ พรอินทร์ เยาวชนหญิงแห่งเอเชีย ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวว่า ครอบครัวที่มีความสุข ไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยพ่อแม่ลูกเท่านั้น หากแต่ครอบครัวที่มีความสุขต้องยินดีและสนับสนุนให้คนในครอบครัวเลือกชีวิตทางเพศของตัวเองได้ เราเติบโตมาอยู่ในครอบครัวที่มีแม่สองคน แต่เรามีสิทธิในการเลือกเพศของตัวเองและการที่แม่ทั้งสองเตรียมความพร้อมและมีพื้นที่การพูดคุยเรื่องเพศในบ้านได้ จะทำให้ลูกสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ ภายนอกได้
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเวทีเสวนา เรื่องเล่าสายรุ้ง We Are Different : A Journey of the Rainbow เปิดตัว “คู่มือผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ” เพื่อเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจผู้ปกครองให้รู้จักวิธีดูแลเด็กเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากในฐานะคนทำงานด้าน LGBTQ อย่างเรา เพราะนี่ถือเป็นการตื่นตัวเพื่อพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเป็นชาว LGBTQ ครั้งแรกๆ และหน่วยงานที่มาดูแลรับผิดชอบก็ถือเป็น "ตัวจริง"
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ได้ให้ความคิดเห็นถึงโครงการนี้ในงานเสวนาเอาไว้ว่า "ความหลากหลายทางเพศสะท้อนมิติทางสุขภาวะ เพราะหลายคนยังขาดการยอมรับจากครอบครัว การดำเนินงานของโครงการชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ความกังวลของครอบครัวที่มีบุตรหลานหลากหลายทางเพศ 3 ประเด็น คือ 1.ไม่กล้าเปิดเผยตัวตน เพราะกลัวไม่ได้รับการยอมรับ หรือถูกกระทำความรุนแรงจากครอบครัว และสังคม 2.ไม่กล้าเปิดเผยหรือเปลี่ยนร่างกายให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะมีข้อจำกัดในชีวิต 3. มีความกังวลต่ออนาคตด้านการศึกษาและหน้าที่การงาน สอดคล้องกับการศึกษาอีกหลายฉบับทั้งของไทยและต่างประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนการจัดทำ 'คู่มือผู้ปกครองดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ' เพื่อสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจ จนเกิดพื้นที่ปลอดภัย ระหว่างพ่อ แม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลานหลากหลายเพศ รวมไปถึงคำแนะนำต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายเพศ เพราะสุขภาวะที่ดีเริ่มต้นได้ที่บ้าน เมื่อครอบครัวรับฟังบุตรหลานด้วยความรักและความเข้าใจ เขาก็จะกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้น มีความมั่นใจและมีความสุขในการใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง"
นอกจากนี้ ในงานเสวนา ยังมีการร่วมพูดคุยโดยคุณแม่ผู้ปกครองที่มีลูกสาวอยู่ในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ มาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น และตอกย้ำถึงความสำคัญของคู่มือเล่มนี้ โดย มัจฉา พรอินทร์ เครือข่ายครอบครัวที่มีลูกหลานหลากหลายเพศ ได้เล่าถึงวันที่ลูกบอกกับเธอและคู่ชีวิตของเธอว่า “หนูชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง” หลายครอบครัวอาจกังวล เพราะยังมีอคติเรื่องความหลากหลายทางเพศแต่เธอและคู่ชีวิตได้เปิดพื้นที่ให้ลูกสามารถพูดคุยได้อย่างเปิดใจทุกเรื่อง และเราทั้งคู่ก็ทำให้ลูกได้เห็นรูปแบบความรัก ความสัมพันธ์ ความอบอุ่นที่นอกเหนือจากหญิงและชาย เธอมองว่า แต่ละครอบครัวควรจะหาเครื่องมือหรือวิธีการในการพูดคุยสื่อสารในพื้นที่ที่รับฟังกันด้วยหัวใจ คู่มือเล่มนี้ที่จะช่วยทลายกำแพงอคติทางเพศก็ได้
ส่วนฝั่งลูกสาว ศิริวรรณ พรอินทร์ เยาวชนหญิงแห่งเอเชีย ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวว่า ครอบครัวที่มีความสุข ไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยพ่อแม่ลูกเท่านั้น หากแต่ครอบครัวที่มีความสุขต้องยินดีและสนับสนุนให้คนในครอบครัวเลือกชีวิตทางเพศของตัวเองได้ เราเติบโตมาอยู่ในครอบครัวที่มีแม่สองคน แต่เรามีสิทธิในการเลือกเพศของตัวเองและการที่แม่ทั้งสองเตรียมความพร้อมและมีพื้นที่การพูดคุยเรื่องเพศในบ้านได้ จะทำให้ลูกสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ ภายนอกได้