- @TOM NEWS
- May-Jun 2017
[REVIEW] ABOUT RAY
Photos : ABOUT RAY
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ถึงจะใช้ชื่อในการโปรโมทว่า About Ray แต่นี่คือเวอร์ชั่นตัดต่อใหม่ (จากเวอร์ชั่นที่ฉายในเทศกาลหนังโตรอนโตในปีที่แล้ว) และมีชื่อใหม่ขึ้นบนหน้าจอไตเติ้ลในการฉายทั่วโลกว่า Three Generations ซึ่งปรากฎว่าเราชอบชื่อใหม่มากกว่าเสียอีก เพราะในขณะที่ชื่อ About Ray นั้น ชวนให้เราคิดว่าจะได้ตามติดการก้าวข้ามผ่านสู่การเป็น “ผู้ชาย” เต็มตัวของ Ray เพียงเท่านั้น ชื่อ Three Generations กลับตรงกับตัวหนัง ที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของคนสามรุ่นในครอบครัวเดียวกัน ที่มีเรื่องราวของ Ray มาเป็นจุดพลิกผันสำคัญให้ทุกคนได้พูดคุย ถกเถียง ทะเลาะเบาะแว้ง และลงเอยด้วยความเข้าใจกัน อันตรงตัวกว่าชื่อไหนๆ
จริงอยู่ว่า หนังจับภาพช่วงเวลาสำคัญที่เด็กสาวอย่าง Ray กำลังเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศเป็นชายหนุ่มอย่างเต็มตัวเมื่อคุณหมอระบุชัดเจนแล้วว่า Ray สามารถเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ เพียงแต่ว่า จะต้องได้รับการเซ็นอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน เรื่องคงง่าย หาก Maggie ผู้เป็นแม่เป็นผู้ปกครองเพียงคนเดียวของ Ray ทว่าในความเป็นจริง Ray ยังมีพ่อที่ไม่เคยพบหน้ามาก่อนอีกด้วย แล้วตามสูตร เค้าก็คงไม่ยอมเซ็นเอกสารง่ายๆ แน่!
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น เรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเราคือ นี่ไม่ใช่หนังที่ว่าด้วยเรื่องราวของ Ray คนเดียว แต่มันให้พื้นที่กับตัวละครแม่อย่าง Maggie อย่างเท่าเทียม ทั้งการเป็นแม่ที่ไม่ง่าย และชีวิตตัวส่วนที่วุ่นวายซับซ้อนด้วยรอยแผลเป็นในชีวิต เช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่าง Maggie กับ Dolly ผู้เป็นยายของ Ray ก็ชวนหัวสนุกสนาน แม้เราจะรู้สึกว่ามันเป็นการยัดเยียดอยู่บ้างในทีแรก เมื่อตัวละครผู้เป็นยายอย่าง Dolly นั้นถูกกำหนดให้เป็นเลสเบี้ยน ราวกับจะให้ครอบครัวนี้ยุ่งเหยิงเล่นๆ ทว่าเมื่อเรื่องราวดำเนินไป เราก็เห็นความหมายและความสำคัญ ของการนำเสนอแง่มุมความแตกต่างระหว่าง เลสฯ และทรานส์ รวมถึงชุดความคิดอันไม่ได้แตกต่างแค่เรื่องวัย แต่มันก้าวไปถึงทัศนคติและกรอบความคิดแบบเดิมๆ ของคนทั่วไปด้วย แม้ว่ามันจะนำเสนอได้ไม่สุดก็ตามที แต่เราก็ชอบในท่าทีผ่อนคลาย การเจือเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และท่าทีมองโลกในแง่ดี ทำให้เรื่องบีบคั้นเคร่งเครียดสัมผัสหัวใจผู้ชมได้ง่ายขึ้น และอย่างน้อยก็ทำให้เรายอมมองข้ามความกระจัดกระจายของสไตล์ เรื่องราว และประเด็นไปได้บ้าง
ถึงหลายคนจะบอกว่าเป็นการเลือกนักแสดงที่ผิด แต่เราชอบ Elle Fanning ในบท Ray นะ เรามองเห็นเด็กผู้ชายที่ติดอยู่ในร่างเด็กผู้หญิงจริงๆ มันไม่ใช่แค่การแอ็คอาร์ตทำหล่อไปเฉยๆ แต่ข้างในตัวเธอมันสื่ออะไรออกมาด้วย Susan Sarandon ทำหน้าที่ได้ดีอย่างน่าชื่นชม มีเสน่ห์ และเรียกรอยยิ้มได้ทุกฉาก ส่วน Naomi Watts รับผิดชอบตัวละครที่กลมและมีมิติมาก แต่เรากลับรู้สึกว่าต่ำกว่ามาตรฐานของเธอ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
About Ray ทำให้เราคิดถึงกรอบความคิดเรื่องเพศที่ค่อยๆ ทลายลงช้า จากวันที่คำว่า "ผู้หญิงข้ามเพศ" ถูกหัวเราะเยาะ แนวคิดว่า "การติดอยู่ในร่างที่ไม่ตรงกับเพศตัวเอง" เคยถูกมองว่าบ้า วันนี้ ทุกคนเข้าใจมากขึ้นแล้ว แต่มันก็ยังต้องการความเข้าใจที่มากขึ้นอีก ... มากขึ้นอีก
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ถึงจะใช้ชื่อในการโปรโมทว่า About Ray แต่นี่คือเวอร์ชั่นตัดต่อใหม่ (จากเวอร์ชั่นที่ฉายในเทศกาลหนังโตรอนโตในปีที่แล้ว) และมีชื่อใหม่ขึ้นบนหน้าจอไตเติ้ลในการฉายทั่วโลกว่า Three Generations ซึ่งปรากฎว่าเราชอบชื่อใหม่มากกว่าเสียอีก เพราะในขณะที่ชื่อ About Ray นั้น ชวนให้เราคิดว่าจะได้ตามติดการก้าวข้ามผ่านสู่การเป็น “ผู้ชาย” เต็มตัวของ Ray เพียงเท่านั้น ชื่อ Three Generations กลับตรงกับตัวหนัง ที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของคนสามรุ่นในครอบครัวเดียวกัน ที่มีเรื่องราวของ Ray มาเป็นจุดพลิกผันสำคัญให้ทุกคนได้พูดคุย ถกเถียง ทะเลาะเบาะแว้ง และลงเอยด้วยความเข้าใจกัน อันตรงตัวกว่าชื่อไหนๆ
จริงอยู่ว่า หนังจับภาพช่วงเวลาสำคัญที่เด็กสาวอย่าง Ray กำลังเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศเป็นชายหนุ่มอย่างเต็มตัวเมื่อคุณหมอระบุชัดเจนแล้วว่า Ray สามารถเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ เพียงแต่ว่า จะต้องได้รับการเซ็นอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน เรื่องคงง่าย หาก Maggie ผู้เป็นแม่เป็นผู้ปกครองเพียงคนเดียวของ Ray ทว่าในความเป็นจริง Ray ยังมีพ่อที่ไม่เคยพบหน้ามาก่อนอีกด้วย แล้วตามสูตร เค้าก็คงไม่ยอมเซ็นเอกสารง่ายๆ แน่!
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น เรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเราคือ นี่ไม่ใช่หนังที่ว่าด้วยเรื่องราวของ Ray คนเดียว แต่มันให้พื้นที่กับตัวละครแม่อย่าง Maggie อย่างเท่าเทียม ทั้งการเป็นแม่ที่ไม่ง่าย และชีวิตตัวส่วนที่วุ่นวายซับซ้อนด้วยรอยแผลเป็นในชีวิต เช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่าง Maggie กับ Dolly ผู้เป็นยายของ Ray ก็ชวนหัวสนุกสนาน แม้เราจะรู้สึกว่ามันเป็นการยัดเยียดอยู่บ้างในทีแรก เมื่อตัวละครผู้เป็นยายอย่าง Dolly นั้นถูกกำหนดให้เป็นเลสเบี้ยน ราวกับจะให้ครอบครัวนี้ยุ่งเหยิงเล่นๆ ทว่าเมื่อเรื่องราวดำเนินไป เราก็เห็นความหมายและความสำคัญ ของการนำเสนอแง่มุมความแตกต่างระหว่าง เลสฯ และทรานส์ รวมถึงชุดความคิดอันไม่ได้แตกต่างแค่เรื่องวัย แต่มันก้าวไปถึงทัศนคติและกรอบความคิดแบบเดิมๆ ของคนทั่วไปด้วย แม้ว่ามันจะนำเสนอได้ไม่สุดก็ตามที แต่เราก็ชอบในท่าทีผ่อนคลาย การเจือเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และท่าทีมองโลกในแง่ดี ทำให้เรื่องบีบคั้นเคร่งเครียดสัมผัสหัวใจผู้ชมได้ง่ายขึ้น และอย่างน้อยก็ทำให้เรายอมมองข้ามความกระจัดกระจายของสไตล์ เรื่องราว และประเด็นไปได้บ้าง
ถึงหลายคนจะบอกว่าเป็นการเลือกนักแสดงที่ผิด แต่เราชอบ Elle Fanning ในบท Ray นะ เรามองเห็นเด็กผู้ชายที่ติดอยู่ในร่างเด็กผู้หญิงจริงๆ มันไม่ใช่แค่การแอ็คอาร์ตทำหล่อไปเฉยๆ แต่ข้างในตัวเธอมันสื่ออะไรออกมาด้วย Susan Sarandon ทำหน้าที่ได้ดีอย่างน่าชื่นชม มีเสน่ห์ และเรียกรอยยิ้มได้ทุกฉาก ส่วน Naomi Watts รับผิดชอบตัวละครที่กลมและมีมิติมาก แต่เรากลับรู้สึกว่าต่ำกว่ามาตรฐานของเธอ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
About Ray ทำให้เราคิดถึงกรอบความคิดเรื่องเพศที่ค่อยๆ ทลายลงช้า จากวันที่คำว่า "ผู้หญิงข้ามเพศ" ถูกหัวเราะเยาะ แนวคิดว่า "การติดอยู่ในร่างที่ไม่ตรงกับเพศตัวเอง" เคยถูกมองว่าบ้า วันนี้ ทุกคนเข้าใจมากขึ้นแล้ว แต่มันก็ยังต้องการความเข้าใจที่มากขึ้นอีก ... มากขึ้นอีก