- @TOM NEWS
- Aug 2021
แปลรักฉันด้วยใจเธอ Part 2 เมื่อเราโตขึ้นอะไรๆ ก็ไม่เหมือนเดิม
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
การสานต่อความสำเร็จในมือของผู้กำกับและทีมเขียนบทใหม่ของ “แปลรักฉันด้วยใจเธอ Part 2” นั้นเต็มไปด้วยความกดดันจากความคาดหวังตั้งแต่ประกาศงานสร้างแล้ว และพอได้ดูจริงๆ มันก็ยากเหลือเกินที่จะไม่ไปเปรียบเทียบกับ Part แรกที่ได้ดูไปเมื่อปีก่อน สำหรับเราแล้ว สิ่งที่แตกต่างอยากชัดเจนมากก็คือจังหวะในการเล่าที่ผู้กำกับ “มีน ทศพร เหรียญทอง” เลือกเล่าเวลาใน 4 ชั้นปีในรั้วมหาวิทยาลัย กับ 5 EP ซึ่งทั้ง “เต๋” และ “โอ้เอ๋ว” ต่างก็เติบโตขึ้น ทั้งในแง่การค้นหาความฝัน ก่อร่างสร้างบุคลิกใหม่ และความสัมพันธ์ของพวกเค้าที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งพอตัวเรื่องมันถูกบังคับให้เล่าแบบกระโดดข้ามไปทีละปี มันจึงไม่ได้มาขยี้ซีนหรือบีบเค้นอารมณ์อะไรมากมาย (จนทำให้ความเวิ้นของตัวละครลดลงไปด้วย ถึงจะมีพาร์ตให้ตัวละครกอดเข่านอนเหงาอยู่คนเดียว แต่มันไม่ได้มีซีนสัญญะ นอนกลิ้งเกลือกกับพื้น สูดดมกลิ่นมะพร้าว หรืออะไรแบบนั้นอีก) ขณะเดียวกันมันก็เว้นที่ว่างให้เราปะติดปะต่อจินตนาการพื้นที่ที่ไม่ได้เล่าในระหว่างปีที่ผ่านไปของตัวละครด้วย ซึ่งพอปรับจูนอยู่สัก 2 – 3 EP เราก็โอเคกับมันนะ แต่มาชอบเอามากๆ ก็ตอน EP 4 – 5 นี่แหละ
เราไม่มีปัญหากับการให้ตัวละครได้เผชิญปัญหาเรื่องการหวั่นไหวนอกใจ หรือรู้สึกว่าความสัมพันธ์มันไม่เหมือนเดิม เพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในโลกของความเป็นจริง และเอาเข้าจริง ชีวิตจริงมันหนักหนากว่านี้เยอะ! แล้วเลเยอร์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของเต๋กับโอ้เอ๋วในครั้งนี้มันก็เต็มไปด้วยมิติซับซ้อนมากด้วย ตั้งแต่ความรู้สึกว่า ทำไมคนรักของเราเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม (ทั้งในแง่บุคลิก นิสัย การคบหาเพื่อน หรือการเปลี่ยนแปลงความฝัน), ความรู้สึกเหงาเศร้าเพราะความห่างเหิน, ความรู้สึกหวั่นไหวเพราะได้ใกล้ชิดใครคนใหม่ที่ทำให้ใจเต้น, การล่วงรู้ความลับหรือจับได้ว่าอีกฝ่ายนอกใจ ไปจนถึงความแตกร้าวในที่สุด
เอาเข้าจริงตอนเป็นเด็กวัยรุ่น เราชอบหนังรักประเภทคู่รักเลิกรากันแล้วกลับมาคบกันใหม่มากนะ ทว่าพอเอามาใช้ในชีวิตจริง เราพบว่า ถ้ามันจะเวิร์กมันก็เวิร์กตั้งแต่แรกแล้วล่ะ อย่าเสียเวลากลับมาคบกันอีกรอบ เพื่อเลิกกันอีกทีด้วยปัญหาเดิมเลยดีกว่า แต่แล้วสุดท้าย เราก็กลืนน้ำลายตัวเอง หลังจากบอกเลิกกับคนรักที่คบกันมานานเป็นสิบปี เพราะจับได้ว่าเค้านอกใจ แล้วจมดิ่งกับความเศร้าอยู่นาน เราก็พบว่าการให้โอกาสเค้าอีกครั้ง ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเค้าเอง แต่มันเป็นการให้โอกาสเพื่อตัวเราเองด้วย โอกาสที่จะมีความสุขในชีวิตอีกครั้ง แล้วก็เหมือนกับที่โอ้เอ๋วบอกกับเต๋นั่นแหละ เราไม่รู้หรอกวาอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก แต่เรามาค่อยๆ แก้ปัญหาไปด้วยกันดีกว่า #ชีวิตผมก็เหมือนหนัง ไหมล่ะ
ชอบการแสดงของ “บิวกิ้น - พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล” มากขึ้นในพาร์ตนี้ พอตัวละครมันเวิ้นน้อยลง แต่สับสนในตัวเองเก่งเหมือนเดิม มันก็พอเห็นเค้าตัวละครเดิมในเวอร์ชั่นที่โตขึ้นจริงๆ และถึงแม้ซีรี่ส์จะเล่าจากมุมมองของเต๋เป็นหลัก แต่ “พีพี - กฤษฏ์ อำนวยเดชกร” ก็ทำให้ตัวละครโอ้เอ๋วไม่หายไปจมและโดดเด่นด้วยการแสดงที่ตรึงเราไว้ตลอดเวลาที่เค้าปรากฏตัวบนจอ เอาแค่ฉากเศร้า-ร้องไห้ พีพีเล่นกับความเศร้าไม่เหมือนกันเลยสักฉาก รักมาก!
กระนั้นก็น่าเสียดายที่ซีรี่ส์ใช้ประโยชน์จากตัวละครที่มีมาเยอะกว่าเดิมได้ไม่คุ้มเลย มีเพียง “ก้อย - อรัชพร โภคินภากร” ที่มาน้อยแต่มานะ! และ “โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์” เท่านั้นที่ได้โชว์ศักยภาพของตัวเองชัดๆ หนักๆ พูดถึงตัวละคร “ไจ๋” ของโอบสักหน่อย เป็นอีกตัวละครที่เราชอบมาก ในความเห็นแก่ตัวและทำทุกอย่างเพื่อผลงานของตัวเอง การแสดงของโอบมันทำให้ตัวละครมีความเป็นมนุษย์ที่คนดูเกลียดไม่ลง แล้วมันก็ดีมากๆ ด้วย ที่เค้าแสดงออกถึงแง่มุมนี้โดยไม่ต้องมีบทพูดเลย
ไม่ได้อินกับประเด็นความนิเทศศาสตร์ หรือความละครเวทีอะไรมาก แต่อินกับประเด็นการเติบโตที่ตัวเราในวันนี้แตกต่างจากตัวเราเมื่อ 5 ปีก่อนมากมายเหลือเกิน ยิ่งกับช่วงเวลาในรั้วมหา’ลัยที่เรากอปรสร้างตัวตนขึ้นใหม่จากสภาพแวดล้อม เพื่อนฝูง การเรียน กิจกรรม จนกลายเป็นพื้นฐานหลักของตัวตนในวันนี้ การได้เห็นตัวละครมันค่อยๆ ค้นหาตัวเองแบบนี้ มันทำให้คิดถึงตัวเองในวันวัยนั้นมากเลยนะ
แล้วก็แปลกดีที่เราไม่ได้คิดถึงประเด็นความเป็นเกย์ของตัวละครกับเส้นเรื่องเท่าไหร่ นอกจากตรงที่โอ้เอ๋วถูกตำหนิว่าแสดงเป็นผู้ชายได้อ้อนแอ้นไปหน่อย และช่วงเวลาที่เต๋ต้องตัดสินใจลบรูปใน IG เพราะกำลังจะเข้าวงการบันเทิง แค่นั้นเอง (ส่วนเรื่องที่เต๋แสดงละครเวทีไม่ได้นั้น เราว่าไม่ได้เกี่ยวกับว่าคนตรงหน้าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เพราะเวิร์กช็อปของไจ๋ก็ทำให้เต๋ทำได้ โดยไม่ได้พูดถึงเรื่องเพศอะไรเลย) ซึ่งมันก็ไม่ได้ดีหรือร้ายอะไร แค่โน้ตไว้เฉยๆ ว่ามันต่างจากพาร์ตแรกที่ตัวละครเอาเรื่องความเป็นเกย์นี้มาเป็นปมใหญ่ของเรื่อง
การสานต่อความสำเร็จในมือของผู้กำกับและทีมเขียนบทใหม่ของ “แปลรักฉันด้วยใจเธอ Part 2” นั้นเต็มไปด้วยความกดดันจากความคาดหวังตั้งแต่ประกาศงานสร้างแล้ว และพอได้ดูจริงๆ มันก็ยากเหลือเกินที่จะไม่ไปเปรียบเทียบกับ Part แรกที่ได้ดูไปเมื่อปีก่อน สำหรับเราแล้ว สิ่งที่แตกต่างอยากชัดเจนมากก็คือจังหวะในการเล่าที่ผู้กำกับ “มีน ทศพร เหรียญทอง” เลือกเล่าเวลาใน 4 ชั้นปีในรั้วมหาวิทยาลัย กับ 5 EP ซึ่งทั้ง “เต๋” และ “โอ้เอ๋ว” ต่างก็เติบโตขึ้น ทั้งในแง่การค้นหาความฝัน ก่อร่างสร้างบุคลิกใหม่ และความสัมพันธ์ของพวกเค้าที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งพอตัวเรื่องมันถูกบังคับให้เล่าแบบกระโดดข้ามไปทีละปี มันจึงไม่ได้มาขยี้ซีนหรือบีบเค้นอารมณ์อะไรมากมาย (จนทำให้ความเวิ้นของตัวละครลดลงไปด้วย ถึงจะมีพาร์ตให้ตัวละครกอดเข่านอนเหงาอยู่คนเดียว แต่มันไม่ได้มีซีนสัญญะ นอนกลิ้งเกลือกกับพื้น สูดดมกลิ่นมะพร้าว หรืออะไรแบบนั้นอีก) ขณะเดียวกันมันก็เว้นที่ว่างให้เราปะติดปะต่อจินตนาการพื้นที่ที่ไม่ได้เล่าในระหว่างปีที่ผ่านไปของตัวละครด้วย ซึ่งพอปรับจูนอยู่สัก 2 – 3 EP เราก็โอเคกับมันนะ แต่มาชอบเอามากๆ ก็ตอน EP 4 – 5 นี่แหละ
เราไม่มีปัญหากับการให้ตัวละครได้เผชิญปัญหาเรื่องการหวั่นไหวนอกใจ หรือรู้สึกว่าความสัมพันธ์มันไม่เหมือนเดิม เพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในโลกของความเป็นจริง และเอาเข้าจริง ชีวิตจริงมันหนักหนากว่านี้เยอะ! แล้วเลเยอร์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของเต๋กับโอ้เอ๋วในครั้งนี้มันก็เต็มไปด้วยมิติซับซ้อนมากด้วย ตั้งแต่ความรู้สึกว่า ทำไมคนรักของเราเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม (ทั้งในแง่บุคลิก นิสัย การคบหาเพื่อน หรือการเปลี่ยนแปลงความฝัน), ความรู้สึกเหงาเศร้าเพราะความห่างเหิน, ความรู้สึกหวั่นไหวเพราะได้ใกล้ชิดใครคนใหม่ที่ทำให้ใจเต้น, การล่วงรู้ความลับหรือจับได้ว่าอีกฝ่ายนอกใจ ไปจนถึงความแตกร้าวในที่สุด
เอาเข้าจริงตอนเป็นเด็กวัยรุ่น เราชอบหนังรักประเภทคู่รักเลิกรากันแล้วกลับมาคบกันใหม่มากนะ ทว่าพอเอามาใช้ในชีวิตจริง เราพบว่า ถ้ามันจะเวิร์กมันก็เวิร์กตั้งแต่แรกแล้วล่ะ อย่าเสียเวลากลับมาคบกันอีกรอบ เพื่อเลิกกันอีกทีด้วยปัญหาเดิมเลยดีกว่า แต่แล้วสุดท้าย เราก็กลืนน้ำลายตัวเอง หลังจากบอกเลิกกับคนรักที่คบกันมานานเป็นสิบปี เพราะจับได้ว่าเค้านอกใจ แล้วจมดิ่งกับความเศร้าอยู่นาน เราก็พบว่าการให้โอกาสเค้าอีกครั้ง ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเค้าเอง แต่มันเป็นการให้โอกาสเพื่อตัวเราเองด้วย โอกาสที่จะมีความสุขในชีวิตอีกครั้ง แล้วก็เหมือนกับที่โอ้เอ๋วบอกกับเต๋นั่นแหละ เราไม่รู้หรอกวาอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก แต่เรามาค่อยๆ แก้ปัญหาไปด้วยกันดีกว่า #ชีวิตผมก็เหมือนหนัง ไหมล่ะ
ชอบการแสดงของ “บิวกิ้น - พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล” มากขึ้นในพาร์ตนี้ พอตัวละครมันเวิ้นน้อยลง แต่สับสนในตัวเองเก่งเหมือนเดิม มันก็พอเห็นเค้าตัวละครเดิมในเวอร์ชั่นที่โตขึ้นจริงๆ และถึงแม้ซีรี่ส์จะเล่าจากมุมมองของเต๋เป็นหลัก แต่ “พีพี - กฤษฏ์ อำนวยเดชกร” ก็ทำให้ตัวละครโอ้เอ๋วไม่หายไปจมและโดดเด่นด้วยการแสดงที่ตรึงเราไว้ตลอดเวลาที่เค้าปรากฏตัวบนจอ เอาแค่ฉากเศร้า-ร้องไห้ พีพีเล่นกับความเศร้าไม่เหมือนกันเลยสักฉาก รักมาก!
กระนั้นก็น่าเสียดายที่ซีรี่ส์ใช้ประโยชน์จากตัวละครที่มีมาเยอะกว่าเดิมได้ไม่คุ้มเลย มีเพียง “ก้อย - อรัชพร โภคินภากร” ที่มาน้อยแต่มานะ! และ “โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์” เท่านั้นที่ได้โชว์ศักยภาพของตัวเองชัดๆ หนักๆ พูดถึงตัวละคร “ไจ๋” ของโอบสักหน่อย เป็นอีกตัวละครที่เราชอบมาก ในความเห็นแก่ตัวและทำทุกอย่างเพื่อผลงานของตัวเอง การแสดงของโอบมันทำให้ตัวละครมีความเป็นมนุษย์ที่คนดูเกลียดไม่ลง แล้วมันก็ดีมากๆ ด้วย ที่เค้าแสดงออกถึงแง่มุมนี้โดยไม่ต้องมีบทพูดเลย
ไม่ได้อินกับประเด็นความนิเทศศาสตร์ หรือความละครเวทีอะไรมาก แต่อินกับประเด็นการเติบโตที่ตัวเราในวันนี้แตกต่างจากตัวเราเมื่อ 5 ปีก่อนมากมายเหลือเกิน ยิ่งกับช่วงเวลาในรั้วมหา’ลัยที่เรากอปรสร้างตัวตนขึ้นใหม่จากสภาพแวดล้อม เพื่อนฝูง การเรียน กิจกรรม จนกลายเป็นพื้นฐานหลักของตัวตนในวันนี้ การได้เห็นตัวละครมันค่อยๆ ค้นหาตัวเองแบบนี้ มันทำให้คิดถึงตัวเองในวันวัยนั้นมากเลยนะ
แล้วก็แปลกดีที่เราไม่ได้คิดถึงประเด็นความเป็นเกย์ของตัวละครกับเส้นเรื่องเท่าไหร่ นอกจากตรงที่โอ้เอ๋วถูกตำหนิว่าแสดงเป็นผู้ชายได้อ้อนแอ้นไปหน่อย และช่วงเวลาที่เต๋ต้องตัดสินใจลบรูปใน IG เพราะกำลังจะเข้าวงการบันเทิง แค่นั้นเอง (ส่วนเรื่องที่เต๋แสดงละครเวทีไม่ได้นั้น เราว่าไม่ได้เกี่ยวกับว่าคนตรงหน้าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เพราะเวิร์กช็อปของไจ๋ก็ทำให้เต๋ทำได้ โดยไม่ได้พูดถึงเรื่องเพศอะไรเลย) ซึ่งมันก็ไม่ได้ดีหรือร้ายอะไร แค่โน้ตไว้เฉยๆ ว่ามันต่างจากพาร์ตแรกที่ตัวละครเอาเรื่องความเป็นเกย์นี้มาเป็นปมใหญ่ของเรื่อง