- @TOM NEWS
- Nov 2022
คินี และทูรันโดต์ ละครเวทีเล่นเดี่ยวชิ้นใหม่ของ กั๊ก วรรณศักดิ์ ศิริหล้า
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
“คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot)” เป็นผลงานการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง “กั๊ก- วรรณศักดิ์ ศิริหล้า” ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง กับ “ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์” อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะทำงานตามรอยกาลิเลโอคินี ศิลปินชาวอิตาลีผู้วาดภาพสุดอลังการบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม และถือเป็นละครเวทีที่อยู่ในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022 ซึ่ง “ชีวิตผมก็เหมือนหนัง” นักเขียนประจำของเราก็ได้มีโอกาสไปนั่งชมการแสดงชิ้นนี้แล้วเก็บเอาความคิดความรู้สึกมาฝากกันเช่นเดิม
ถ้านับเฉพาะงานของ “พี่กั๊ก - วรรณศักดิ์ ศิริหล้า” ที่เราเคยดู “คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot)” เป็นงานที่มีโปรดักชั่นสวยมากที่สุด มีความเป็นศิลปะที่สอดประสานกันทั้งลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายและการสร้างสรรค์เสียงดนตรีได้พอเหมาะพอดีที่สุด จนทำให้เราครวญครางในใจหลายครั้งว่า “โอ๊ย สวยมาก กะเทยมาก - นี่คือคำชม!” เอาแค่ฉากเปิดที่พี่กั๊กเดินมาหมุนกรงนกที่มีเครื่องตกแต่งแค่นั้น เราก็ตะลึงแล้ว มันเรียบง่าย แต่ติดตาติดใจ แล้วเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่ตัวละครจะเล่าต่อไปด้วย และตลอดเวลา 1 ชั่วโมงเต็มหลังจากนั้น ทุกอย่างที่เราได้ดูด้วยตา ได้ยินด้วยหู และได้สัมผัสแตะต้องด้วยใจ ล้วนแต่ทำให้เราปิติยินดีที่ได้มานั่งดูงานชิ้นนี้
เปิดเรื่องด้วยการเดินทางของ กาลิเลโอ คินี ศิลปินหนุ่มที่กำลังต้องรับหน้าที่วาดโดมขนาดใหญ่ในสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง – เป็นอีกซีนที่ชอบมาก จากนั้นเรื่องราวก็ถูกส่งต่อไปยังอีกตัวละครหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าหญิงทูรันโดต์ ผู้ต่อต้านการอภิเษก ด้วยการตั้งกฎขึ้นมาว่า เธอจะยอมเข้าพิธีเสกสมรสกับผู้ชายคนใดก็ได้ที่สามารถตอบปริศนา 3 ข้อของเธอได้ทั้งหมด แต่หากตอบปริศนาของเธอไม่ได้ เค้าคนนั้นจะต้องตาย และหลังจากทำให้เจ้าชายหลายสิบชีวิตต้องสิ้นชีพไปเพราะตอบปริศนาไม่ได้ จู่ๆ ก็มีเจ้าชายนิรนามปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับสามารถไขปริศนาของเธอได้ แล้วเจ้าหญิงทูรันโดต์จะทำเช่นไร
ชอบตัวเรื่องของเจ้าหญิงทูรันโดต์มากๆ ด้วย จากประเด็นความเกลียดชังเพศชาย เพราะฝังใจกับการถูกช่วงชิงอำนาจและทำร้าย ลากไปสู่การเปิดเปลือยให้เห็นความไร้สาระและการทำลายทำร้ายผู้คนอีกมากมายของตัวเจ้าหญิงเอง แล้วเช่นนี้ ใครกันเล่าคือเหยื่อ หรือที่จริงแล้ว เราทุกคนต่างสร้างบาดแผลและทำร้ายใครต่อใครเป็นวงจรวนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ แล้วในขณะที่เราจมดิ่งกับตัวละครประชาชนและผู้บริสุทธิ์ที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะความบ้าคลั่งของเจ้าหญิงที่ตั้งกฎเกณฑ์บ้าๆ บอๆ พอๆ กับปริศนาคำถามที่ตั้งไว้เหมือนไม่ให้ใครตอบได้ จู่ๆ ละครก็วนกลับมาโยนปรัชญาชีวิตใส่หน้าเราผ่านตัวละคร กาลิเลโอ คินี ว่าในชีวิตเราทุกคนต่างต้องเผชิญหน้ากับคำถามสำคัญกันทั้งนั้น โอ้โห เอางี้เลย!
ในแง่ของการแสดงและการจัดการบนเวที เรามองเห็นเค้าลางจากงานเก่าๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของพี่กั๊กอยู่ แต่ทั้งๆ ที่พอจะคาดการณ์ได้อยู่ว่าจะต้องเจออะไรในงานชิ้นนี้ เราก็ยังตื่นเต้นอยู่ดี ความคิดสร้างสรรค์และความละเอียดละออในการสร้างชิ้นงานปรากฏชัดอยู่ในหลายฉากและหลายองค์ประกอบ ประทับใจการดัดแปลงเครื่องแต่งกายต่างๆ จากสิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งมาก แล้วความเป็นจีนที่เปล่งประกายอยู่ในรายละเอียดต่างๆ ก็ถูกเฉลยในตอนท้ายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหนือสิ่งอื่นใด เรามองเห็นพลังทางการแสดงผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉง จากที่เคยสงสัยใคร่รู้ว่า นักแสดงรุ่นใหญ่คนนี้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยหรืออย่างไร มันคือการทรมานร่างกายตัวเองให้คนดูอย่างเราพิจารณาสิ่งที่เห็นหรือเปล่า ใน “คินี และทูรันโดต์” เรามองเห็นแต่ความแข็งแรงและงดงาม – ซีนท้ายๆ ของตัวละครประชาชนคนธรรมดาและคนที่ถูกทรมานนั้นน่าทึ่งมาก แน่นอนที่สุด การที่พี่กั๊กต้องสวมบทเป็นตัวละครหลากหลายในเรื่องเดียวยังเป็นเสน่ห์ที่น่าดูชม แต่มากไปกว่านั้น เราเชื่อในทุกตัวละครที่พี่กั๊กเล่นจริงๆ ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ในความสั่นเทาของเรือนร่าง และในแววตาที่สื่อสารนั้น เราเดินทางข้ามจากที่นั่งไปอยู่ข้างๆ ตัวละครจริงๆ
“คินี และทูรันโดต์” ทำให้เรามานั่งค้นหาข้อมูลของกาลิเลโอ คินี (Galileo Chini - มัณฑนากร นักออกแบบ จิตรกร และประติมากรชาวอิตาลีผู้มีตัวตนอยู่จริง) เช่นเดียวกับเรื่องราวของโอเปร่า Turandot พร้อมกับตัวจิอาโคโม ปุชชินี (Giocomo Puccini คีตกวีอุปรากรคนสำคัญชาวอิตาลีผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้) แล้วก็พบว่ามันสนุกเหลือเกิน!
คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot) เป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022 และจะทำการแสดงต่อที่ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน (25 พ.ย.2565 เวลา 17:00น. & 26-27 พ.ย. 2565 เวลา 14:00น. และ 17:00น. ต่อด้วยที่โรงละครทรงพล ม.ศิลปากร (ทับแก้ว) (2 ธ.ค. 2565 เวลา 14:00น. & 3 ธ.ค.2565 เวลา 14:00น. และ 19 :00น.) รายละเอียดเพิ่มเติม Facebook Page: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์
“คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot)” เป็นผลงานการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง “กั๊ก- วรรณศักดิ์ ศิริหล้า” ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง กับ “ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์” อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะทำงานตามรอยกาลิเลโอคินี ศิลปินชาวอิตาลีผู้วาดภาพสุดอลังการบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม และถือเป็นละครเวทีที่อยู่ในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022 ซึ่ง “ชีวิตผมก็เหมือนหนัง” นักเขียนประจำของเราก็ได้มีโอกาสไปนั่งชมการแสดงชิ้นนี้แล้วเก็บเอาความคิดความรู้สึกมาฝากกันเช่นเดิม
ถ้านับเฉพาะงานของ “พี่กั๊ก - วรรณศักดิ์ ศิริหล้า” ที่เราเคยดู “คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot)” เป็นงานที่มีโปรดักชั่นสวยมากที่สุด มีความเป็นศิลปะที่สอดประสานกันทั้งลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายและการสร้างสรรค์เสียงดนตรีได้พอเหมาะพอดีที่สุด จนทำให้เราครวญครางในใจหลายครั้งว่า “โอ๊ย สวยมาก กะเทยมาก - นี่คือคำชม!” เอาแค่ฉากเปิดที่พี่กั๊กเดินมาหมุนกรงนกที่มีเครื่องตกแต่งแค่นั้น เราก็ตะลึงแล้ว มันเรียบง่าย แต่ติดตาติดใจ แล้วเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่ตัวละครจะเล่าต่อไปด้วย และตลอดเวลา 1 ชั่วโมงเต็มหลังจากนั้น ทุกอย่างที่เราได้ดูด้วยตา ได้ยินด้วยหู และได้สัมผัสแตะต้องด้วยใจ ล้วนแต่ทำให้เราปิติยินดีที่ได้มานั่งดูงานชิ้นนี้
เปิดเรื่องด้วยการเดินทางของ กาลิเลโอ คินี ศิลปินหนุ่มที่กำลังต้องรับหน้าที่วาดโดมขนาดใหญ่ในสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง – เป็นอีกซีนที่ชอบมาก จากนั้นเรื่องราวก็ถูกส่งต่อไปยังอีกตัวละครหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าหญิงทูรันโดต์ ผู้ต่อต้านการอภิเษก ด้วยการตั้งกฎขึ้นมาว่า เธอจะยอมเข้าพิธีเสกสมรสกับผู้ชายคนใดก็ได้ที่สามารถตอบปริศนา 3 ข้อของเธอได้ทั้งหมด แต่หากตอบปริศนาของเธอไม่ได้ เค้าคนนั้นจะต้องตาย และหลังจากทำให้เจ้าชายหลายสิบชีวิตต้องสิ้นชีพไปเพราะตอบปริศนาไม่ได้ จู่ๆ ก็มีเจ้าชายนิรนามปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับสามารถไขปริศนาของเธอได้ แล้วเจ้าหญิงทูรันโดต์จะทำเช่นไร
ชอบตัวเรื่องของเจ้าหญิงทูรันโดต์มากๆ ด้วย จากประเด็นความเกลียดชังเพศชาย เพราะฝังใจกับการถูกช่วงชิงอำนาจและทำร้าย ลากไปสู่การเปิดเปลือยให้เห็นความไร้สาระและการทำลายทำร้ายผู้คนอีกมากมายของตัวเจ้าหญิงเอง แล้วเช่นนี้ ใครกันเล่าคือเหยื่อ หรือที่จริงแล้ว เราทุกคนต่างสร้างบาดแผลและทำร้ายใครต่อใครเป็นวงจรวนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ แล้วในขณะที่เราจมดิ่งกับตัวละครประชาชนและผู้บริสุทธิ์ที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะความบ้าคลั่งของเจ้าหญิงที่ตั้งกฎเกณฑ์บ้าๆ บอๆ พอๆ กับปริศนาคำถามที่ตั้งไว้เหมือนไม่ให้ใครตอบได้ จู่ๆ ละครก็วนกลับมาโยนปรัชญาชีวิตใส่หน้าเราผ่านตัวละคร กาลิเลโอ คินี ว่าในชีวิตเราทุกคนต่างต้องเผชิญหน้ากับคำถามสำคัญกันทั้งนั้น โอ้โห เอางี้เลย!
ในแง่ของการแสดงและการจัดการบนเวที เรามองเห็นเค้าลางจากงานเก่าๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของพี่กั๊กอยู่ แต่ทั้งๆ ที่พอจะคาดการณ์ได้อยู่ว่าจะต้องเจออะไรในงานชิ้นนี้ เราก็ยังตื่นเต้นอยู่ดี ความคิดสร้างสรรค์และความละเอียดละออในการสร้างชิ้นงานปรากฏชัดอยู่ในหลายฉากและหลายองค์ประกอบ ประทับใจการดัดแปลงเครื่องแต่งกายต่างๆ จากสิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งมาก แล้วความเป็นจีนที่เปล่งประกายอยู่ในรายละเอียดต่างๆ ก็ถูกเฉลยในตอนท้ายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหนือสิ่งอื่นใด เรามองเห็นพลังทางการแสดงผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉง จากที่เคยสงสัยใคร่รู้ว่า นักแสดงรุ่นใหญ่คนนี้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยหรืออย่างไร มันคือการทรมานร่างกายตัวเองให้คนดูอย่างเราพิจารณาสิ่งที่เห็นหรือเปล่า ใน “คินี และทูรันโดต์” เรามองเห็นแต่ความแข็งแรงและงดงาม – ซีนท้ายๆ ของตัวละครประชาชนคนธรรมดาและคนที่ถูกทรมานนั้นน่าทึ่งมาก แน่นอนที่สุด การที่พี่กั๊กต้องสวมบทเป็นตัวละครหลากหลายในเรื่องเดียวยังเป็นเสน่ห์ที่น่าดูชม แต่มากไปกว่านั้น เราเชื่อในทุกตัวละครที่พี่กั๊กเล่นจริงๆ ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ในความสั่นเทาของเรือนร่าง และในแววตาที่สื่อสารนั้น เราเดินทางข้ามจากที่นั่งไปอยู่ข้างๆ ตัวละครจริงๆ
“คินี และทูรันโดต์” ทำให้เรามานั่งค้นหาข้อมูลของกาลิเลโอ คินี (Galileo Chini - มัณฑนากร นักออกแบบ จิตรกร และประติมากรชาวอิตาลีผู้มีตัวตนอยู่จริง) เช่นเดียวกับเรื่องราวของโอเปร่า Turandot พร้อมกับตัวจิอาโคโม ปุชชินี (Giocomo Puccini คีตกวีอุปรากรคนสำคัญชาวอิตาลีผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้) แล้วก็พบว่ามันสนุกเหลือเกิน!
คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot) เป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022 และจะทำการแสดงต่อที่ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน (25 พ.ย.2565 เวลา 17:00น. & 26-27 พ.ย. 2565 เวลา 14:00น. และ 17:00น. ต่อด้วยที่โรงละครทรงพล ม.ศิลปากร (ทับแก้ว) (2 ธ.ค. 2565 เวลา 14:00น. & 3 ธ.ค.2565 เวลา 14:00น. และ 19 :00น.) รายละเอียดเพิ่มเติม Facebook Page: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์