- @TOM NEWS
- Jun 2021
The Boys in the Band: Something Personal เส้นทางประวัติศาสตร์ละครเวทีเกย์เรื่องดัง
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
สารคดีสั้นๆ ความยาวแค่ 28 นาที อันเป็นส่วนขยายคล้ายๆ เบื้องหลังของภาพยนตร์ The Boys in the Band เวอร์ชั่นปี 2020 ของ Netflix ทว่าที่จริงแล้ว มันมีอะไรลึกซึ้งงดงามกว่านั้นเยอะ เพราะนี่เป็นเสมือนการคารวะสดุดี Mart Crowley ผู้ให้กำเนิด The Boys in the Band เวอร์ชั่นละครเวทีเมื่อปี 1968 ที่พาเราไปย้อนดูเส้นทางความสำเร็จของบทละครเวทีอันเป็นตำนานที่มอบอะไรมากมายให้กับผู้คนในยุคต่อๆ มา
ก็คงต้องเกริ่นก่อนว่า The Boys in the Band เป็นละครเวทีที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย Mart Crowley เล่าเรื่องราวของแก๊งเพื่อนเกย์ที่มารวมตัวกันในอพาร์ตเมนต์ของ Michael เพื่อจัดงานวันเกิดให้กับ Harold ผู้มีภาพลักษณ์เป็นผู้นำของกลุ่มเพื่อน ทว่าทุกอย่างก็ไม่เป็นไปอย่างแผนเมื่อมีแขกไม่ได้รับเชิญโผล่มากลางงาน จนกลายเป็นสงครามจิตวิทยาที่เจ็บปวดกันไปทุกฝ่าย นี่คือละครเวทีที่สร้างขึ้นในยุคที่การเป็นเกย์นั้นผิดกฎหมาย (ก่อนเหตุการณ์จราจล Stonewall ที่เป็นจุดกำเนิดงานไพรด์เสียอีก) แล้วความสำเร็จของมันก็ทำให้มีเวอร์ชั่นภาพยนตร์ตามมาในปี 1970 แล้วในปี 2018 ก็ได้มีการหยิบ The Boys in the Band กลับมาสร้างเป็นละครเวทีอีกครั้ง โดยทีมนักแสดงผู้เปิดเผยตัวเองว่าเป็นเกย์ทั้งเซ็ต และสานต่อมาเป็นเวอร์ชั่นภาพยนตร์ในปี 2020 พร้อมทีมนักแสดงชุดเดิม
The Boys in the Band: Something Personal พาเราไปรำลึกคืนวันเก่าๆ พร้อมกับทำความรู้จักกับ Mart Crowley (ผู้เสียชีวิตก่อน The Boys in the Band เวอร์ชั่นภาพยนตร์ปี 2020 ออกฉายทาง Netflix ไม่นาน) เราจะได้เห็น Mart ปรากฏกายด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ท่าทางอ่อนโยน ใจดี เปี่ยมอารมณ์ขัน ช่างถ่อมตน และมองโลกอย่างเข้าใจเหลือเกิน โอ้โห ในขณะที่เรานึกภาพตัวเองยามแก่เฒ่าไม่ออกเลยว่า จะเป็นเช่นไร แต่นี่คือเกย์วัยชราที่เราอยากจะเป็น น้ำตาไหลกับการหวนระลึกถึงเพื่อนรักของ Mart ผู้เป็นตัวแทนของตัวละคร Harold ใน The Boys in the Band และประทับใจกับการให้เครดิตคนอื่นๆ เสมอของเขามาก
มีเกร็ดเล็กๆ ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวใน The Boys in the Band มากขึ้นเต็มไปหมด แต่ที่ชอบมากก็คือ การให้ตัวละครเกย์หนุ่มที่ทำอาชีพขายบริการพูดว่า “ผมไม่เหมือนผู้ชายขายตัวทั่วไปที่คุณเจอ ผมพยายามที่จะอ่อนโยน จะได้ไม่รู้สึกเหมือนเป็นอีตัวมากนัก” ในเรื่องนั้น เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงที่ Mart ได้บังเอิญได้พบกับผู้ชายขายตัวตัวจริง และถามเขาว่า คุณทำงานแบบนี้ได้ยังไง คุณเก่งเรื่องบนเตียงหรือเปล่า และนั่นคือคำตอบจริงๆ ที่เขาได้รับกลับมา ซึ่งพอ Mart เล่าถึงตรงนี้ เสียงของเขาก็สั่นเครือ พร้อมกับบอกว่า “โอ้ พระเจ้า ผมเขียนประโยคที่ดีขนาดนี้ด้วยตัวเองไม่ได้หรอก”
ทั้ง The Boys in the Band และสารคดีเรื่องนี้ ทำให้เราได้เห็นว่า พวกเราชาว LGBTQ ก้าวเดินมาไกลแค่ไหนแล้ว และเส้นทางที่ผ่านมานั้น ต้องอาศัยความกล้าหาญ ความเจ็บปวด พลังใจจากกันและกันมากมายแค่ไหน อย่างที่ Jim Parsons เจ้าของบท Michael พูดเอาไว้ในสารคดีเรื่องนี้แหละ “มีเรื่องราวประวัติศาสตร์บางอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนทางสังคมของคุณ และคุณจะเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น เมื่อได้รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” การได้ยินเขาพูดออกมาแบบนี้ มันก็ทำให้ทุกอย่างในใจเรากระจ่างชัดว่า ทำไมเราถึงหลงใหลประวัติศาสตร์ LGBTQ ในอดีตนักหนา ไม่ว่าเรื่องราวเหล่านี้จะเกิดขึ้นที่มุมใดของโลก เราก็อยากจะรู้จัก ทำความเข้าใจ และซึบซับทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในตัวตนของเรา และมันจะช่วยทำให้เราเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นได้ เมื่อได้ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้นั่นเอง
ชม The Boys in the Band: Something Personal และ The Boys in the Band ได้ทาง #Netflix
สารคดีสั้นๆ ความยาวแค่ 28 นาที อันเป็นส่วนขยายคล้ายๆ เบื้องหลังของภาพยนตร์ The Boys in the Band เวอร์ชั่นปี 2020 ของ Netflix ทว่าที่จริงแล้ว มันมีอะไรลึกซึ้งงดงามกว่านั้นเยอะ เพราะนี่เป็นเสมือนการคารวะสดุดี Mart Crowley ผู้ให้กำเนิด The Boys in the Band เวอร์ชั่นละครเวทีเมื่อปี 1968 ที่พาเราไปย้อนดูเส้นทางความสำเร็จของบทละครเวทีอันเป็นตำนานที่มอบอะไรมากมายให้กับผู้คนในยุคต่อๆ มา
ก็คงต้องเกริ่นก่อนว่า The Boys in the Band เป็นละครเวทีที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย Mart Crowley เล่าเรื่องราวของแก๊งเพื่อนเกย์ที่มารวมตัวกันในอพาร์ตเมนต์ของ Michael เพื่อจัดงานวันเกิดให้กับ Harold ผู้มีภาพลักษณ์เป็นผู้นำของกลุ่มเพื่อน ทว่าทุกอย่างก็ไม่เป็นไปอย่างแผนเมื่อมีแขกไม่ได้รับเชิญโผล่มากลางงาน จนกลายเป็นสงครามจิตวิทยาที่เจ็บปวดกันไปทุกฝ่าย นี่คือละครเวทีที่สร้างขึ้นในยุคที่การเป็นเกย์นั้นผิดกฎหมาย (ก่อนเหตุการณ์จราจล Stonewall ที่เป็นจุดกำเนิดงานไพรด์เสียอีก) แล้วความสำเร็จของมันก็ทำให้มีเวอร์ชั่นภาพยนตร์ตามมาในปี 1970 แล้วในปี 2018 ก็ได้มีการหยิบ The Boys in the Band กลับมาสร้างเป็นละครเวทีอีกครั้ง โดยทีมนักแสดงผู้เปิดเผยตัวเองว่าเป็นเกย์ทั้งเซ็ต และสานต่อมาเป็นเวอร์ชั่นภาพยนตร์ในปี 2020 พร้อมทีมนักแสดงชุดเดิม
The Boys in the Band: Something Personal พาเราไปรำลึกคืนวันเก่าๆ พร้อมกับทำความรู้จักกับ Mart Crowley (ผู้เสียชีวิตก่อน The Boys in the Band เวอร์ชั่นภาพยนตร์ปี 2020 ออกฉายทาง Netflix ไม่นาน) เราจะได้เห็น Mart ปรากฏกายด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ท่าทางอ่อนโยน ใจดี เปี่ยมอารมณ์ขัน ช่างถ่อมตน และมองโลกอย่างเข้าใจเหลือเกิน โอ้โห ในขณะที่เรานึกภาพตัวเองยามแก่เฒ่าไม่ออกเลยว่า จะเป็นเช่นไร แต่นี่คือเกย์วัยชราที่เราอยากจะเป็น น้ำตาไหลกับการหวนระลึกถึงเพื่อนรักของ Mart ผู้เป็นตัวแทนของตัวละคร Harold ใน The Boys in the Band และประทับใจกับการให้เครดิตคนอื่นๆ เสมอของเขามาก
มีเกร็ดเล็กๆ ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวใน The Boys in the Band มากขึ้นเต็มไปหมด แต่ที่ชอบมากก็คือ การให้ตัวละครเกย์หนุ่มที่ทำอาชีพขายบริการพูดว่า “ผมไม่เหมือนผู้ชายขายตัวทั่วไปที่คุณเจอ ผมพยายามที่จะอ่อนโยน จะได้ไม่รู้สึกเหมือนเป็นอีตัวมากนัก” ในเรื่องนั้น เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงที่ Mart ได้บังเอิญได้พบกับผู้ชายขายตัวตัวจริง และถามเขาว่า คุณทำงานแบบนี้ได้ยังไง คุณเก่งเรื่องบนเตียงหรือเปล่า และนั่นคือคำตอบจริงๆ ที่เขาได้รับกลับมา ซึ่งพอ Mart เล่าถึงตรงนี้ เสียงของเขาก็สั่นเครือ พร้อมกับบอกว่า “โอ้ พระเจ้า ผมเขียนประโยคที่ดีขนาดนี้ด้วยตัวเองไม่ได้หรอก”
ทั้ง The Boys in the Band และสารคดีเรื่องนี้ ทำให้เราได้เห็นว่า พวกเราชาว LGBTQ ก้าวเดินมาไกลแค่ไหนแล้ว และเส้นทางที่ผ่านมานั้น ต้องอาศัยความกล้าหาญ ความเจ็บปวด พลังใจจากกันและกันมากมายแค่ไหน อย่างที่ Jim Parsons เจ้าของบท Michael พูดเอาไว้ในสารคดีเรื่องนี้แหละ “มีเรื่องราวประวัติศาสตร์บางอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนทางสังคมของคุณ และคุณจะเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น เมื่อได้รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” การได้ยินเขาพูดออกมาแบบนี้ มันก็ทำให้ทุกอย่างในใจเรากระจ่างชัดว่า ทำไมเราถึงหลงใหลประวัติศาสตร์ LGBTQ ในอดีตนักหนา ไม่ว่าเรื่องราวเหล่านี้จะเกิดขึ้นที่มุมใดของโลก เราก็อยากจะรู้จัก ทำความเข้าใจ และซึบซับทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในตัวตนของเรา และมันจะช่วยทำให้เราเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นได้ เมื่อได้ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้นั่นเอง
ชม The Boys in the Band: Something Personal และ The Boys in the Band ได้ทาง #Netflix