- @TOM NEWS
- Feb 2020
แถลงการณ์จากกลุ่มผู้หญิงเควียร์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กช่วล และครอบครัวหลากหลาย ในงานเชียงใหม่ไพรด์ 2020
Photos : Chiang Mai Pride
By : Ruta
ในงานเสวนา “ก้าวต่อไปเพื่อยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ” อันเป็นส่วนหนึ่งของงานเชียงใหม่ไพรด์ 2020 เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการอ่านแถลงการณ์ของตัวแทนจากภาคประชาสังคม หลากหลายกลุ่ม โดยหนึ่งในนั้นก็คือ “น้องแอร์ สายรุ้งยามเย็น” เยาวชนนักวิจัย โครงการวิจัยสตรีนิยมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โครงการสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ได้อ่านแถลงการณ์จากกลุ่มผู้หญิงเควียร์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กช่วล และครอบครัวหลากหลาย ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศตอนนี้กำลังเผชิญอยู่กับความรุนแรง ด้วยเหตุแห่งความหลากหลายทางเพศ และเหตุแห่งความเป็นชายขอบ อย่างเช่น การเป็นชาติพันธุ์ การเป็นแรงงานข้ามชาติ การประสบปัญหาจากการทำงานเป็นพนักงานบริการ การอยู่ร่วมกับความพิการ การอยู่ร่วมกับเอชไอวี ทำให้พวกเราถูกเลือกปฏิบัติ ตีตรา รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ มากไปกว่านั้น ในสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทางศาสนาความเชื่อต่างๆ ก็ส่งผลต่อผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งในความปลอดภัย การรักตัวเอง ความเชื่อมั่นในตัวเอง และการยอมรับในอัตลักษณ์ของตัวเองของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งอยู่ภายใต้วิธีคิดแบบบรรทัดฐานทางเพศ และกรอบวิธีคิดซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ
ปัญหาที่เราเจอในความรุนแรงของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ คือผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศไม่มีพื้นที่ ไม่มีตัวตน เสียงที่มาจากผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศกลายเป็นเสียงเงียบ และปัญหาที่นำเสนอออกไปไม่ได้ถูกแก้ไข ไม่มีส่วนร่วมในทางการเมือง และความรุนแรงที่เป็นปัญหาเฉพาะของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศก็คือ การข่มขืนโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขรสนิยมและอัตลักษณ์ทางเพศของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ในหลายบริบท ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังถูกบังคับแต่งงาน นั่นหมายถึงการบังคับข่มขืน โดยได้รับการอนุญาตจากครอบครัว แม้ว่าจะรู้ในรสนิยมทางเพศของเธอ หรือการแก้ทอมซ่อมดี้ เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ นั่นคือความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชน และผิดกฎหมาย
ในสถาบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพศศึกษารอบด้าน รวมไปถึงสิทธิความหลากหลายทางเพศ ทำให้ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังเผชิญกับการคุกคามทางเพศ ละเมิดสิทธิ กลั่นแกล้งรังแกด้วยเหตุแห่งความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ผู้หญิงข้ามเพศยังถูกบังคับให้แต่งกายตามเพศสภาพ รวมไปถึงเรื่องห้องน้ำที่เหมาะสม ส่วนในด้านสื่อ สื่อในปัจจุบันยังผลิตซ้ำ สร้างอคติ ภาพเหมารวม และสะท้อนการเกลียดกลัวผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ในทางศาสนา ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังถูกตีตรา ตัดสิน และกีดกัดจากพื้นที่ทางวัฒนธรรมและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ในสถาบันครอบครัว ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศถูกคาดหวังให้อยู่ในกรอบเพศผู้หญิง สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ การบังคับแต่งงานก็คือความรุนแรงที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของความรักและความห่วงใย
นโยบาย กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมยังขาดมุมมองทางด้านเพศภาวะ ซึ่งทำให้ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง และไม่มีส่วนร่วม เช่น การเปลี่ยนคำนำหน้าตามเพศสภาพไม่ได้ การถูกปฏิเสธในการจ้างงาน การไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อถูกข่มขืนหรือคุกคามทางเพศ และการเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ที่สำคัญคือยังไม่สามารถสมรสได้อย่างเท่าเทียม ในเรื่องสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเป็นธรรม ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่สามารถเข้าถึงการสมรสอย่างเท่าเทียม ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการตั้งครรภ์ ไม่สามารถเซ็นเอกสารทางราชการได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการเงิน ด้านธุรกรรม หรือในภาวะฉุกเฉินในการรักษาคู่ชีวิต ก็ไม่สามารถเซ็นได้ รวมไปถึงไม่สามารถรับมรดกที่สร้างมาร่วมกัน”
จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาของการเรียกร้องให้การต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศมีรูปธรรมชัดเจนมากขึ้นผ่านหัวข้อต่างๆ ซึ่งความน่าสนใจของแถลงการณ์ในครั้งนี้ก็คือ การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้พวกเราได้เห็นว่า ในความเปิดกว้างและดูเหมือนจะมีความเท่าเทียมกับพวกเราแล้วนั้น ยังมีอะไรอีกมากมายที่พวกเราต้องต่อสู้ต่อไป แล้วคุณล่ะ มองเห็นหรืออยากจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาหรือเปล่า?
By : Ruta
ในงานเสวนา “ก้าวต่อไปเพื่อยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ” อันเป็นส่วนหนึ่งของงานเชียงใหม่ไพรด์ 2020 เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการอ่านแถลงการณ์ของตัวแทนจากภาคประชาสังคม หลากหลายกลุ่ม โดยหนึ่งในนั้นก็คือ “น้องแอร์ สายรุ้งยามเย็น” เยาวชนนักวิจัย โครงการวิจัยสตรีนิยมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โครงการสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ได้อ่านแถลงการณ์จากกลุ่มผู้หญิงเควียร์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กช่วล และครอบครัวหลากหลาย ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศตอนนี้กำลังเผชิญอยู่กับความรุนแรง ด้วยเหตุแห่งความหลากหลายทางเพศ และเหตุแห่งความเป็นชายขอบ อย่างเช่น การเป็นชาติพันธุ์ การเป็นแรงงานข้ามชาติ การประสบปัญหาจากการทำงานเป็นพนักงานบริการ การอยู่ร่วมกับความพิการ การอยู่ร่วมกับเอชไอวี ทำให้พวกเราถูกเลือกปฏิบัติ ตีตรา รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ มากไปกว่านั้น ในสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทางศาสนาความเชื่อต่างๆ ก็ส่งผลต่อผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งในความปลอดภัย การรักตัวเอง ความเชื่อมั่นในตัวเอง และการยอมรับในอัตลักษณ์ของตัวเองของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งอยู่ภายใต้วิธีคิดแบบบรรทัดฐานทางเพศ และกรอบวิธีคิดซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ
ปัญหาที่เราเจอในความรุนแรงของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ คือผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศไม่มีพื้นที่ ไม่มีตัวตน เสียงที่มาจากผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศกลายเป็นเสียงเงียบ และปัญหาที่นำเสนอออกไปไม่ได้ถูกแก้ไข ไม่มีส่วนร่วมในทางการเมือง และความรุนแรงที่เป็นปัญหาเฉพาะของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศก็คือ การข่มขืนโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขรสนิยมและอัตลักษณ์ทางเพศของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ในหลายบริบท ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังถูกบังคับแต่งงาน นั่นหมายถึงการบังคับข่มขืน โดยได้รับการอนุญาตจากครอบครัว แม้ว่าจะรู้ในรสนิยมทางเพศของเธอ หรือการแก้ทอมซ่อมดี้ เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ นั่นคือความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชน และผิดกฎหมาย
ในสถาบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพศศึกษารอบด้าน รวมไปถึงสิทธิความหลากหลายทางเพศ ทำให้ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังเผชิญกับการคุกคามทางเพศ ละเมิดสิทธิ กลั่นแกล้งรังแกด้วยเหตุแห่งความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ผู้หญิงข้ามเพศยังถูกบังคับให้แต่งกายตามเพศสภาพ รวมไปถึงเรื่องห้องน้ำที่เหมาะสม ส่วนในด้านสื่อ สื่อในปัจจุบันยังผลิตซ้ำ สร้างอคติ ภาพเหมารวม และสะท้อนการเกลียดกลัวผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ในทางศาสนา ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังถูกตีตรา ตัดสิน และกีดกัดจากพื้นที่ทางวัฒนธรรมและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ในสถาบันครอบครัว ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศถูกคาดหวังให้อยู่ในกรอบเพศผู้หญิง สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ การบังคับแต่งงานก็คือความรุนแรงที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของความรักและความห่วงใย
นโยบาย กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมยังขาดมุมมองทางด้านเพศภาวะ ซึ่งทำให้ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง และไม่มีส่วนร่วม เช่น การเปลี่ยนคำนำหน้าตามเพศสภาพไม่ได้ การถูกปฏิเสธในการจ้างงาน การไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อถูกข่มขืนหรือคุกคามทางเพศ และการเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ที่สำคัญคือยังไม่สามารถสมรสได้อย่างเท่าเทียม ในเรื่องสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเป็นธรรม ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่สามารถเข้าถึงการสมรสอย่างเท่าเทียม ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการตั้งครรภ์ ไม่สามารถเซ็นเอกสารทางราชการได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการเงิน ด้านธุรกรรม หรือในภาวะฉุกเฉินในการรักษาคู่ชีวิต ก็ไม่สามารถเซ็นได้ รวมไปถึงไม่สามารถรับมรดกที่สร้างมาร่วมกัน”
จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาของการเรียกร้องให้การต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศมีรูปธรรมชัดเจนมากขึ้นผ่านหัวข้อต่างๆ ซึ่งความน่าสนใจของแถลงการณ์ในครั้งนี้ก็คือ การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้พวกเราได้เห็นว่า ในความเปิดกว้างและดูเหมือนจะมีความเท่าเทียมกับพวกเราแล้วนั้น ยังมีอะไรอีกมากมายที่พวกเราต้องต่อสู้ต่อไป แล้วคุณล่ะ มองเห็นหรืออยากจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาหรือเปล่า?