- @TOM NEWS
- Sep 2023
ความหวัง โลหิต และความรัก โครงการผสมผสานศิลปะโดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า
By : Ruta
ถือว่าเป็นโครงการที่ผสมผสานงานศิลปะหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน แล้วต่อยอดจนกลายเป็นการแสดงที่ได้เดินทางไปยังหลากหลายพื้นที่ได้อย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ สำหรับ โครงการ ”Hope Blood and Love” Solo Performance Italian Tour 2023 (ความหวัง โลหิต และความรัก) ที่ล่าสุดได้เดินทางไปแสดงถึงประเทศอิตาลีด้วย
คณะทำงาน “ตามรอยกาลิเลโอ คินี” ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการจัด ได้รับเกียรติจาก พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา Museo di Antropologia e Etnologia เมืองฟลอเรนซ์, เทศบาลเมือง Camaiore และ เทศบาลเมือง Montecatini Terme ให้นำโครงการ ”Hope Blood and Love” Solo Performance Italian Tour 2023 (ความหวัง โลหิต และความรัก) ไปแสดงที่ประเทศอิตาลี ในเดือนกันยายนนี้ในวาระ 150 ปีชาตกาลของ กาลิเลโอ คินี ศิลปินชาวอิตาลี ผู้รังสรรค์ภาพวาดบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นผู้ออกแบบฉากละคร Turandot ของ จิอาโกโม ปุชชินี
ทั้งนี้โครงการ ”Hope Blood and Love” เป็นผลงานของวรรณศักดิ์ ศิริหล้า (กั๊ก) ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากอุปรากร Turandot ของ จิอาโกโม ปุชชินี และได้นำมาสร้างเป็นการแสดงเดี่ยว โดยการตีความใหม่ ร่วมกับ ผศ.ดร.ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบกับการฉายภาพจิตกรรมของกาลิเลโอ คินี เมื่อครั้งที่มาทำงานที่สยามเป็นฉากหลัง ซึ่ง “แรงบันดาลใจนี้ทำให้เกิด "Cini And Turandot: An Interpretation Across Time" ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงในประเทศไทยมาแล้วถึง 19 ครั้ง อาทิ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จำนวน 2 รอบ (12 -13 พฤศจิกายน 2565), หอศิลปะร่วมสมัยราชดำเนิน จำนวน 5 รอบ (25 - 27 พฤศจิกายน 2565), โรงละครทรงพล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดแสดงเป็นกรณีศึกษาในการจัดเสวนาประเด็น “ละครเวทีและศิลปิน LGBTQ+ ในโลกของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร (23 มกราคม 2566), การแสดงกลางแจ้ง ณ สถานที่ที่เคยเป็นบ้านเดิมของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และกาลิเลโอ คินี เคยอาศัยอยู่เมื่อครั้งมาทำงานที่สยาม ( 2 เมษายน 2566)
ความน่าสนใจประการสำคัญก็คือ คณะทำงานได้ทำการศึกษา Turandot และค้นพบว่าเรื่องราวนี้เปรียบเสมือนการจัดสรรวัฒนธรรมที่หลากหลายผ่านมิติต่างๆ ในท้ายที่สุดก็เลือกที่จะเล่าเรื่องราวนี้จากมุมมองของผู้หญิง โลกาภิวัตน์และบทบาททางเพศได้เปลี่ยนวิธีที่ตีความประวัติศาสตร์และศิลปะ ในปี 2023 Turandot อาจโดนใจผู้ชมยุคใหม่แตกต่างกันไป และนำเสนอบทเรียน แนวคิด และโอกาสในการอภิปรายประเด็นใหม่ ๆ บางทีพลังของผลงานชิ้นนี้ไม่ได้อยู่ที่ความยิ่งใหญ่อลังการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงศักยภาพในการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการรับรู้เรื่องเพศอันหลากหลายในงานศิลปะด้วย”
กั๊ก-วรรณศักดิ์ เป็นทุกตัวละคร ตั้งแต่ผู้เล่าเรื่อง, ชาวบ้าน, ทหาร, เจ้าหญิงตูรันดอท, เจ้าชายนิรนาม ไปจนถึงนางทาสหลิว โดยขับร้องเคลื่อนไหวไปตามบทเพลงที่รังสรรค์จากนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำมาประกอบการแสดงโดย เอก โอตรวรรณะ ด้วยไอแพดผสมการบรรเลงสด จากเครื่องเคลือบดินเผา เครื่องดนตรีประกอบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานเซรามิกของกาลิเลโอ คินี เกิดจากการศึกษาค้นคว้ากรรมวิธีการผลิตจากตระกูลคินี โดย ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยเครื่องแต่งกาย ชุดที่ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบดินเผา รังสรรค์โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ เชื่อมโยงมาถึงอุปกรณ์การแสดงอื่นๆ ที่รังสรรค์จากวัสดุที่มีอยู่รอบตัวที่มีอยู่แล้ว นำมาดัดแปลง และจัดวางในการแสดง ทั้งบันไดไม้ไผ่ กล่องเก็บคำตอบ การชักรอก และอุปกรณ์สร้างเสียงประกอบต่างๆ สื่อสะท้อนความหมายว่า ของทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าและประวัติศาสตร์ของมัน ที่รอการบอกเล่าเพื่อชุบชีวิต เช่นเดียวกันกับพื้นที่ต่างๆ ที่จะจัดแสดงในครั้งนี้ ล้วนมีความหมาย และคุณค่าอย่างมากกับทีมผู้สร้างทั้งชาวไทย และอิตาลี
โดยการแสดงชุดนี้ได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรม 150 ปีชาตกาล กาลิเลโอ คินี ณ ประเทศอิตาลีตามความประสงค์ของคุณเปาล่า โปริโดริ คินี (Paula Polidori Chini) ทายาทของกาลิเลโอ คินี โดยจะมีการแสดง 3 ที่ ซึ่งล้วนแล้วมีความหมายกับชีวิตของกาลิเลโอ คินี และเป็นการนำเอาผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยไทยสู่นานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา Museo di Antropologia e Etnologia เมืองฟลอเรนซ์, โรงละคร Teatro dell’ Olivo ใจกลางเมือง Camaiore และ ลานกลางแจ้ง ของอาคาร Tamerici, Montecatini Terme
ถือว่าเป็นโครงการที่ผสมผสานงานศิลปะหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน แล้วต่อยอดจนกลายเป็นการแสดงที่ได้เดินทางไปยังหลากหลายพื้นที่ได้อย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ สำหรับ โครงการ ”Hope Blood and Love” Solo Performance Italian Tour 2023 (ความหวัง โลหิต และความรัก) ที่ล่าสุดได้เดินทางไปแสดงถึงประเทศอิตาลีด้วย
คณะทำงาน “ตามรอยกาลิเลโอ คินี” ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการจัด ได้รับเกียรติจาก พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา Museo di Antropologia e Etnologia เมืองฟลอเรนซ์, เทศบาลเมือง Camaiore และ เทศบาลเมือง Montecatini Terme ให้นำโครงการ ”Hope Blood and Love” Solo Performance Italian Tour 2023 (ความหวัง โลหิต และความรัก) ไปแสดงที่ประเทศอิตาลี ในเดือนกันยายนนี้ในวาระ 150 ปีชาตกาลของ กาลิเลโอ คินี ศิลปินชาวอิตาลี ผู้รังสรรค์ภาพวาดบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นผู้ออกแบบฉากละคร Turandot ของ จิอาโกโม ปุชชินี
ทั้งนี้โครงการ ”Hope Blood and Love” เป็นผลงานของวรรณศักดิ์ ศิริหล้า (กั๊ก) ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากอุปรากร Turandot ของ จิอาโกโม ปุชชินี และได้นำมาสร้างเป็นการแสดงเดี่ยว โดยการตีความใหม่ ร่วมกับ ผศ.ดร.ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบกับการฉายภาพจิตกรรมของกาลิเลโอ คินี เมื่อครั้งที่มาทำงานที่สยามเป็นฉากหลัง ซึ่ง “แรงบันดาลใจนี้ทำให้เกิด "Cini And Turandot: An Interpretation Across Time" ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงในประเทศไทยมาแล้วถึง 19 ครั้ง อาทิ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จำนวน 2 รอบ (12 -13 พฤศจิกายน 2565), หอศิลปะร่วมสมัยราชดำเนิน จำนวน 5 รอบ (25 - 27 พฤศจิกายน 2565), โรงละครทรงพล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดแสดงเป็นกรณีศึกษาในการจัดเสวนาประเด็น “ละครเวทีและศิลปิน LGBTQ+ ในโลกของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร (23 มกราคม 2566), การแสดงกลางแจ้ง ณ สถานที่ที่เคยเป็นบ้านเดิมของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และกาลิเลโอ คินี เคยอาศัยอยู่เมื่อครั้งมาทำงานที่สยาม ( 2 เมษายน 2566)
ความน่าสนใจประการสำคัญก็คือ คณะทำงานได้ทำการศึกษา Turandot และค้นพบว่าเรื่องราวนี้เปรียบเสมือนการจัดสรรวัฒนธรรมที่หลากหลายผ่านมิติต่างๆ ในท้ายที่สุดก็เลือกที่จะเล่าเรื่องราวนี้จากมุมมองของผู้หญิง โลกาภิวัตน์และบทบาททางเพศได้เปลี่ยนวิธีที่ตีความประวัติศาสตร์และศิลปะ ในปี 2023 Turandot อาจโดนใจผู้ชมยุคใหม่แตกต่างกันไป และนำเสนอบทเรียน แนวคิด และโอกาสในการอภิปรายประเด็นใหม่ ๆ บางทีพลังของผลงานชิ้นนี้ไม่ได้อยู่ที่ความยิ่งใหญ่อลังการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงศักยภาพในการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการรับรู้เรื่องเพศอันหลากหลายในงานศิลปะด้วย”
กั๊ก-วรรณศักดิ์ เป็นทุกตัวละคร ตั้งแต่ผู้เล่าเรื่อง, ชาวบ้าน, ทหาร, เจ้าหญิงตูรันดอท, เจ้าชายนิรนาม ไปจนถึงนางทาสหลิว โดยขับร้องเคลื่อนไหวไปตามบทเพลงที่รังสรรค์จากนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำมาประกอบการแสดงโดย เอก โอตรวรรณะ ด้วยไอแพดผสมการบรรเลงสด จากเครื่องเคลือบดินเผา เครื่องดนตรีประกอบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานเซรามิกของกาลิเลโอ คินี เกิดจากการศึกษาค้นคว้ากรรมวิธีการผลิตจากตระกูลคินี โดย ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยเครื่องแต่งกาย ชุดที่ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบดินเผา รังสรรค์โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ เชื่อมโยงมาถึงอุปกรณ์การแสดงอื่นๆ ที่รังสรรค์จากวัสดุที่มีอยู่รอบตัวที่มีอยู่แล้ว นำมาดัดแปลง และจัดวางในการแสดง ทั้งบันไดไม้ไผ่ กล่องเก็บคำตอบ การชักรอก และอุปกรณ์สร้างเสียงประกอบต่างๆ สื่อสะท้อนความหมายว่า ของทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าและประวัติศาสตร์ของมัน ที่รอการบอกเล่าเพื่อชุบชีวิต เช่นเดียวกันกับพื้นที่ต่างๆ ที่จะจัดแสดงในครั้งนี้ ล้วนมีความหมาย และคุณค่าอย่างมากกับทีมผู้สร้างทั้งชาวไทย และอิตาลี
โดยการแสดงชุดนี้ได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรม 150 ปีชาตกาล กาลิเลโอ คินี ณ ประเทศอิตาลีตามความประสงค์ของคุณเปาล่า โปริโดริ คินี (Paula Polidori Chini) ทายาทของกาลิเลโอ คินี โดยจะมีการแสดง 3 ที่ ซึ่งล้วนแล้วมีความหมายกับชีวิตของกาลิเลโอ คินี และเป็นการนำเอาผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยไทยสู่นานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา Museo di Antropologia e Etnologia เมืองฟลอเรนซ์, โรงละคร Teatro dell’ Olivo ใจกลางเมือง Camaiore และ ลานกลางแจ้ง ของอาคาร Tamerici, Montecatini Terme