- @TOM NEWS
- Nov-Dec 2022
The Practice ละครเวทีที่มีตัวละครเป็นนอนไบนารี่ (Non-binary)
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things ละครชื่อยาวที่เราขอเรียกย่อๆ ว่า The Practice เล่าเรื่องของ “อีฟ” มนุษย์วัยกลางคนผู้กำลังประสบปัญหาชีวิตขั้นรุนแรง จนตัดสินใจใช้บริการโปรแกรมบำบัดที่ชื่อว่า The Practice โดยตัวเค้าจะได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนที่จำลองสิ่งต่างๆ ซึ่งเค้ากำลังจะได้เผชิญในชีวิตจริง แล้วได้ทดลองฝึกซ้อมรับมือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจนเชี่ยวชาญและกลายเป็นคนใหม่ แต่เจ้าโปรแกรมที่ว่านี้มันจะช่วยให้อีฟดีขึ้นได้จริงๆ เหรอ ในเมื่อดูท่าทางแล้ว ปัญหาของอีฟมันมะรุมมะตุ้มวุ่นวาย และอีฟก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับ The Practice ซะเท่าไหร่
ความพิเศษของรอบการแสดงที่เราได้ดู The Practice หรือชื่อเต็มๆ ว่า The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things นั้นอยู่ที่เหตุไม่คาดฝัน ซึ่งทำให้ “ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ" หนึ่งในนักแสดงนำไม่สามารถร่วมการแสดงในรอบนี้ได้ ทำให้ผู้กำกับ “พี่หนุ่ม - กฤษณะ พันธุ์เพ็ง” ต้องปรับรูปแบบการนำเสนอละครเวทีเรื่องนี้อย่างกะทันหัน ซึ่งเรามารู้ภายหลังว่า มันคือการปรับให้ตัวละครนักบำบัดของณัฐวรา กลายเป็นตัวละครที่ปรากฏเพียงแค่เสียงที่ถูกผู้กำกับรับหน้าที่อ่านและแสดงแทน โดยส่งเสียงมาจากทางด้านหลังของผู้ชมทั้งหมด แล้วนักแสดงที่เหลือจะสื่อสารกับเสียงนั้น โดยหันหน้ามาทางผู้ชมแทน ซึ่งพอมานั่งจินตนาการในกรณีที่เสียงนี้จะกลายเป็นตัวละครที่โลดแล่นคู่กับนักแสดงที่ด้านหน้า เรากลับชอบวิธีการที่ผู้กำกับเลือกใช้เพื่อแก้ปัญหานี้มาก เพราะมันทำให้ภาพรวมของละครดูแปลกประหลาดมากขึ้น เข้ากับเรื่องสุดพิลึก และเราสามารถตีความเสียงปริศนาที่ส่งมานี้ให้เป็นได้ทั้งนักบำบัด, เสียงจากระบบคอมพิวเตอร์, เสียงจากในหัวของตัวละครเอง, เสียงจากเบื้องบน หรือเป็นอะไรก็ได้
ในความสับสนอลหม่านของเรื่องราวและภาพที่เห็นตรงหน้า ในคำพูดอันพรั่งพรูของอีฟ โดยไม่ทันตั้งตัว น้ำตาของเราก็ไหลอาบหน้า เมื่อเราตระหนักได้ว่าสิ่งตัวละครอีฟเผชิญอยู่มันทาบทับกับตัวเราได้พอดิบพอดี คำถามถึงชีวิต หน้าที่การงาน ความรัก และคนรัก ล้วนเป็นสิ่งที่เราก็เคยสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกัน แล้วพอถูกฮุกด้วยอาการสติแตกของตัวละครในช่วงท้าย เราก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่ทัน ในวิธีการแสดงของ “ศุภสวัสดิ์ บุรณเวช” ที่เราเคยเห็นเค้ารับบทน็อตหลุดมาแล้วหลายครั้งหลายหนจากละครเรื่องอื่นๆ ในสิ่งที่ฟังดูคลิเช่เหลือเกิน อย่างการตั้งคำถามถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำ การพยายามทำบางสิ่งที่ใฝ่ฝันแต่ถูกว่าไร้สาระ ความสัมพันธ์แบบคุยสามคำดีสี่คำร้าย การครุ่นคิดถึงความตาย มีอะไรบางอย่างในบทของ The Practice ที่แตกต่างในรายละเอียด ในความรู้สึก ในความเจ็บปวดของการเปรียบเปรย แล้วมันก็แตะต้องโดนข้างในเราเข้าเต็มๆ
หากจะมีอะไรขัดอกขัดใจอยู่บ้างก็คงเป็นการระบุในสื่อประชาสัมพันธ์ว่าตัวละครอีฟนั้นเป็นนอนไบนารี่ (Non-binary) เพราะสิ่งที่เราเห็นนั้นดูเหมือนอีฟแค่ไม่สะดวกใจจะพูดถึงมากกว่าว่าเค้ามีความสัมพันธ์กับใคร และมันอิงแอบกับความน่าจะเป็นมากกว่า ว่าเค้าอาจจะคบผู้หญิง หรือคบผู้ชายก็ได้ แต่พอได้มารับรู้ภายหลังว่า ในละครเรื่องนี้ ตัวละครอีฟนั้นจะสลับบทบาทรับผิดชอบกันระหว่างณัฐวรา และศุภสวัสดิ์ (คือทั้งคู่จะสลับกันเล่นระหว่างบทอีฟ และบทนักบำบัด) ก็เลยพอจะเข้าใจการใช้ประโยชน์จากนอนไบนารี่ของตัวละคร และพอจะยอมรับได้แหละ
The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things เป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022
The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things ละครชื่อยาวที่เราขอเรียกย่อๆ ว่า The Practice เล่าเรื่องของ “อีฟ” มนุษย์วัยกลางคนผู้กำลังประสบปัญหาชีวิตขั้นรุนแรง จนตัดสินใจใช้บริการโปรแกรมบำบัดที่ชื่อว่า The Practice โดยตัวเค้าจะได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนที่จำลองสิ่งต่างๆ ซึ่งเค้ากำลังจะได้เผชิญในชีวิตจริง แล้วได้ทดลองฝึกซ้อมรับมือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจนเชี่ยวชาญและกลายเป็นคนใหม่ แต่เจ้าโปรแกรมที่ว่านี้มันจะช่วยให้อีฟดีขึ้นได้จริงๆ เหรอ ในเมื่อดูท่าทางแล้ว ปัญหาของอีฟมันมะรุมมะตุ้มวุ่นวาย และอีฟก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับ The Practice ซะเท่าไหร่
ความพิเศษของรอบการแสดงที่เราได้ดู The Practice หรือชื่อเต็มๆ ว่า The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things นั้นอยู่ที่เหตุไม่คาดฝัน ซึ่งทำให้ “ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ" หนึ่งในนักแสดงนำไม่สามารถร่วมการแสดงในรอบนี้ได้ ทำให้ผู้กำกับ “พี่หนุ่ม - กฤษณะ พันธุ์เพ็ง” ต้องปรับรูปแบบการนำเสนอละครเวทีเรื่องนี้อย่างกะทันหัน ซึ่งเรามารู้ภายหลังว่า มันคือการปรับให้ตัวละครนักบำบัดของณัฐวรา กลายเป็นตัวละครที่ปรากฏเพียงแค่เสียงที่ถูกผู้กำกับรับหน้าที่อ่านและแสดงแทน โดยส่งเสียงมาจากทางด้านหลังของผู้ชมทั้งหมด แล้วนักแสดงที่เหลือจะสื่อสารกับเสียงนั้น โดยหันหน้ามาทางผู้ชมแทน ซึ่งพอมานั่งจินตนาการในกรณีที่เสียงนี้จะกลายเป็นตัวละครที่โลดแล่นคู่กับนักแสดงที่ด้านหน้า เรากลับชอบวิธีการที่ผู้กำกับเลือกใช้เพื่อแก้ปัญหานี้มาก เพราะมันทำให้ภาพรวมของละครดูแปลกประหลาดมากขึ้น เข้ากับเรื่องสุดพิลึก และเราสามารถตีความเสียงปริศนาที่ส่งมานี้ให้เป็นได้ทั้งนักบำบัด, เสียงจากระบบคอมพิวเตอร์, เสียงจากในหัวของตัวละครเอง, เสียงจากเบื้องบน หรือเป็นอะไรก็ได้
ในความสับสนอลหม่านของเรื่องราวและภาพที่เห็นตรงหน้า ในคำพูดอันพรั่งพรูของอีฟ โดยไม่ทันตั้งตัว น้ำตาของเราก็ไหลอาบหน้า เมื่อเราตระหนักได้ว่าสิ่งตัวละครอีฟเผชิญอยู่มันทาบทับกับตัวเราได้พอดิบพอดี คำถามถึงชีวิต หน้าที่การงาน ความรัก และคนรัก ล้วนเป็นสิ่งที่เราก็เคยสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกัน แล้วพอถูกฮุกด้วยอาการสติแตกของตัวละครในช่วงท้าย เราก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่ทัน ในวิธีการแสดงของ “ศุภสวัสดิ์ บุรณเวช” ที่เราเคยเห็นเค้ารับบทน็อตหลุดมาแล้วหลายครั้งหลายหนจากละครเรื่องอื่นๆ ในสิ่งที่ฟังดูคลิเช่เหลือเกิน อย่างการตั้งคำถามถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำ การพยายามทำบางสิ่งที่ใฝ่ฝันแต่ถูกว่าไร้สาระ ความสัมพันธ์แบบคุยสามคำดีสี่คำร้าย การครุ่นคิดถึงความตาย มีอะไรบางอย่างในบทของ The Practice ที่แตกต่างในรายละเอียด ในความรู้สึก ในความเจ็บปวดของการเปรียบเปรย แล้วมันก็แตะต้องโดนข้างในเราเข้าเต็มๆ
หากจะมีอะไรขัดอกขัดใจอยู่บ้างก็คงเป็นการระบุในสื่อประชาสัมพันธ์ว่าตัวละครอีฟนั้นเป็นนอนไบนารี่ (Non-binary) เพราะสิ่งที่เราเห็นนั้นดูเหมือนอีฟแค่ไม่สะดวกใจจะพูดถึงมากกว่าว่าเค้ามีความสัมพันธ์กับใคร และมันอิงแอบกับความน่าจะเป็นมากกว่า ว่าเค้าอาจจะคบผู้หญิง หรือคบผู้ชายก็ได้ แต่พอได้มารับรู้ภายหลังว่า ในละครเรื่องนี้ ตัวละครอีฟนั้นจะสลับบทบาทรับผิดชอบกันระหว่างณัฐวรา และศุภสวัสดิ์ (คือทั้งคู่จะสลับกันเล่นระหว่างบทอีฟ และบทนักบำบัด) ก็เลยพอจะเข้าใจการใช้ประโยชน์จากนอนไบนารี่ของตัวละคร และพอจะยอมรับได้แหละ
The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things เป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลละครกรุงเทพ 2022