- @TOM NEWS
- Jan 2017
3 หนัง “ตุ๊ดจีน” (ยุคใหม่) รับ “ตรุษจีน”
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
จริงๆ ไม่อยากเล่นมุก “ตุ๊ดจีน” อะไรนี่เลย แต่พอเห็นหน้าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไต้หวัน ในประเด็นที่ลูกชายเกย์เมื่อกลับบ้านไปหาครอบครัวในวันตรุษจีนก็มักจะถูกถามอยู่เสมอว่า “เมื่อไหร่จะแต่งงาน” นั่นทำให้เราตระหนักได้ว่า วันตรุษจีนของประชากรเกย์เชื้อสายจีนนั้นเต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน และเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีทั้งความสุขใจที่ได้เจอหน้าครอบครัว และทุกข์ใจที่ต้องเผชิญหน้ากับคำถามและความอึดอัดแบบเดิมๆ นั่นทำให้เราตัดสินใจเลือก 3 หนัง (ที่ยังคงความสดใหม่แบบหมาดๆ) อันว่าด้วยชาวเกย์จีนและครอบครัว เพื่อต้อนรับเทศกาลนี้
Will You Still Love Me Tomorrow? (2013)
หากจะว่าไปแล้ว พล็อตหนุ่มเกย์ตัดสินใจแต่งงานกับผู้หญิงแล้วต้องพยายามปิดบังตัวตนที่แท้จริงของตัวเองนี่มันแสนจะซ้ำซากมากเลยนะ แต่ Will You Still Love Me Tomorrow? หนังไต้หวันเรื่องนี้ก็สร้างแนวทางใหม่ให้กับตัวเองได้อย่างงดงาม นอกจากเรื่องความสัมพันธ์ของคู่สามี – ภรรยาลูกหนึ่ง ที่ฝ่ายสามีดันไปตกหลุมรักสจ๊วร์ตหนุ่มหล่ออีกคนแล้ว ยังมีเรื่องของหญิงสาว Runaway Bride กับว่าที่เจ้าบ่าวแสนเฉิ่ม เล่าสลับแก้เลี่ยนอีกคู่
ความเก๋ของหนังคือการแทรกฉากเซอร์เรียลเหนือจริงที่ทำให้คนดูอย่างเราๆ นั่งอมยิ้มถึงความช่างคิด ซึ่งอันที่จริงฉากพวกนี้ก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรนักหรอก แต่มันน่ารักชะมัด และมุกตลกที่แทรกมาเป็นระยะๆ ก็ทำให้เรื่องที่ชวนอึดอัดดูเบาบางและผ่อนคลายลงมาก นอกจากชอบการคลี่คลายและบทสรุปของหนังแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือเหล่าตัวละครที่ดูจริงมากและมีเสน่ห์มาก เป็นอีกครั้งที่เราหลงรักหนุ่มไต้หวัน (เปล่าไม่ได้ชอบสจ๊วร์ตมาดเนี้ยบคนนั้น แต่ชอบหนุ่มใหญ่อย่าง Richie Ren ต่างหาก ค้นไปค้นมา อ๋อ เค้าเป็นพระเอก Fly Me to Polaris หนังฮ่องกงปี 1999 ที่เราชอบมากนี่เอง)
Baby Steps (2015)
ผลงานการกำกับและเขียนบทของ Barney Cheng ผู้กำกับ – นักแสดงชาวไต้หวันที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเค้ากับแม่ ผสมด้วยเรื่องราวจากข่าวเกี่ยวกับการอุ้มบุญของคู่รักเกย์ในอิสราเอล จนกลายมาเป็น Baby Steps เมื่อ Danny (Barney Cheng รับบทนี้ด้วยตัวเอง) ต้องแบกรับความกดดันและอึดอัดจากแม่ของตัวเอง แม้ว่าเค้าจะเปิดเผยกับแม่ว่าเป็นเกย์ และก็เหมือนแม่จะรับได้ แต่ก็กลับปกปิดและปฏิเสธที่จะเปิดเผยกับเพื่อนๆ และคนอื่นๆ ว่ามีลูกเป็นเกย์ พร้อมกับเปรยว่า “ตระกูลลีของตัวเองคงต้องสิ้นสุดลงแล้ว” ไม่ว่าจะเป็นเพราะความต้องการพยายามพิสูจน์ตัวเองจากแม่ หรือเพราะความต้องการลึกๆ ในใจของตัวเอง แต่มันก็ทำให้ Danny ตัดสินใจวางแผนที่จะมีลูกเป็นของตัวเอง โดยการอุ้มบุญ แม้ว่า Tate คนรักชาวอเมริกันของเค้าจะไม่ยินดีหรือสนับสนุนเท่าไหร่ก็ตาม และทันทีที่แม่ได้รับรู้ว่า Danny วางแผนที่จะมีลูก เธอก็ตีตั๋วเดินทางจากไต้หวันมาแอลเอ เพื่อเผชิญกับความผิดหวัง เมื่อได้รับรู้ว่า ลูกในความหมายของ Danny มาจากการอุ้มบุญ
หนังดำเนินเรื่องไปพร้อมกับความพยายามในการปฏิบัติภารกิจอุ้มบุญ ซึ่งมีอุปสรรคต่างๆ นานาเกิดขึ้นตลอดเรื่อง ทั้งอคติของแม่ ความไม่เข้าใจกันของ Danny และ Tate ปัญหาเรื่องกฎหมายอุ้มบุญ ไปจนถึงการหาตัวหญิงสาวผู้จะทำหน้าที่อุ้มบุญ ซึ่งหลายฉากก็เรียกได้ทั้งเสียงรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และน้ำตา
ในเรื่องราวแสน Cliché และทีท่าเก่าเชยหนัง กลับถูกโอบอุ้มให้ “รอด” ด้วยการแสดงของ “กัวอาเล่ย” ผู้รับบทแม่ของเรื่อง ซึ่งทำให้เราไม่อาจละสายตาได้ และทำให้เราน้ำตาไหลพรากกับฉากท้ายๆ ที่แสนจะ Cliché นั่นแหละ! น่าประหลาดใจที่เสน่ห์ของ Barney Cheng และ Michael Adam Hamilton ผู้รับบท Tate เปล่งประกายมากขึ้นเรื่อยๆ ตามวินาทีที่หนังดำเนินไป จากที่รู้สึกเฉยๆ กับเคมีของทั้งคู่ พอถึงช่วงท้ายกลับสัมผัสได้ถึงความโรแมนติกและน่าเชื่อขึ้นอย่างรวดเร็ว
Front Cover (2016)
เรื่องราวความรักความสัมพันธ์ของสองหนุ่ม คนหนึ่งเป็นสไตลิสต์ฝีมือดีชาวฮ่องกง อีกหนึ่งเป็นนักแสดงหนุ่มอนาคตไกลจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ต้องมาทำงานร่วมกัน จากจุดเริ่มต้นแบบคู่กัด ด้วยทัศนคติ วัฒนธรรมที่แตกต่าง และความเอาแต่ใจของทั้งคู่ กลายมาเป็นความเข้าอกเข้าใจและตกหลุมรักกัน แต่มันคือบทสรุปของความสัมพันธ์นี้แน่หรือ
ต้องบอกก่อนว่านี่คือหนังโรแมนติกคอเมดี้ใสๆ ที่ทำให้เรานั่งยิ้ม หัวเราะ จิกเบาะ และฟุ้งฝันไปตามเรื่อง มากกว่าจะมาเน้นอารมณ์ดราม่ากดดันบีบคั้นอะไรมากมาย ซึ่งก็ต้องให้คะแนนเคมีของสองนักแสดงนำ Jake Choi และ James Chen ที่มุ้งมิ้ง จิ้นกระจาย และทำให้เราเชื่อได้ว่าทั้งคู่ตกหลุมรักกันจริงๆ โดยเฉพาะฝ่ายแรก Jake Choi เสน่ห์ล้น ออร่าแรง น่ามอง และน่ากินมาก ยิ่งพอได้เห็นคาแร็คเตอร์ตัวจริงของเค้า ทั้งดิบและเถื่อน! ก็ยิ่งทึ่ง มันตรงกันข้ามกับในเรื่องอย่างสิ้นเชิง
เช่นเคย ผู้กำกับ Ray Yeung ใส่ประเด็นการปะทะกันของวัฒนธรรมตะวันออก - ตะวันตก / จีน - โลก / จีน - ฮ่องกง ไว้บางๆ พอให้ดูมี “อะไร” แบบเดียวกับที่เคยทำใน Cut Sleeve Boys แต่บางทีมันอาจจะเบาบางเกินไป จนถูกประเด็นการเปิดเผยตัวตนที่โดดเด่นกว่ากลบลบไปเสียมิด ทั้งๆ ที่ประเด็นการ Com Out นั้นดูเป็นเรื่องเก่าเชย แต่พออยู่ในบริบทของสังคมจีน และการเป็นนักแสดงในโลกบันเทิง มันก็กลายเป็นเรื่องน่าเชื่อถือ และตอกย้ำให้เราเห็นว่า เรื่องแบบนี้ไม่เคยเก่าและหายไปไหนเลยต่างหาก น่าสนใจไปกว่านั้น การให้ครอบครัวของฝ่ายหนึ่ง “โอเค” กับความเป็นเกย์ของลูก ก็ทำให้หนังมีความโมเดิร์น และย้อนแย้งกับอีกฝ่าย ที่ติดกับดักของสังคมและเปลือกมายา
อ่านบทวิจารณ์หนังอื่นๆ ของ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
จริงๆ ไม่อยากเล่นมุก “ตุ๊ดจีน” อะไรนี่เลย แต่พอเห็นหน้าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไต้หวัน ในประเด็นที่ลูกชายเกย์เมื่อกลับบ้านไปหาครอบครัวในวันตรุษจีนก็มักจะถูกถามอยู่เสมอว่า “เมื่อไหร่จะแต่งงาน” นั่นทำให้เราตระหนักได้ว่า วันตรุษจีนของประชากรเกย์เชื้อสายจีนนั้นเต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน และเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีทั้งความสุขใจที่ได้เจอหน้าครอบครัว และทุกข์ใจที่ต้องเผชิญหน้ากับคำถามและความอึดอัดแบบเดิมๆ นั่นทำให้เราตัดสินใจเลือก 3 หนัง (ที่ยังคงความสดใหม่แบบหมาดๆ) อันว่าด้วยชาวเกย์จีนและครอบครัว เพื่อต้อนรับเทศกาลนี้
Will You Still Love Me Tomorrow? (2013)
หากจะว่าไปแล้ว พล็อตหนุ่มเกย์ตัดสินใจแต่งงานกับผู้หญิงแล้วต้องพยายามปิดบังตัวตนที่แท้จริงของตัวเองนี่มันแสนจะซ้ำซากมากเลยนะ แต่ Will You Still Love Me Tomorrow? หนังไต้หวันเรื่องนี้ก็สร้างแนวทางใหม่ให้กับตัวเองได้อย่างงดงาม นอกจากเรื่องความสัมพันธ์ของคู่สามี – ภรรยาลูกหนึ่ง ที่ฝ่ายสามีดันไปตกหลุมรักสจ๊วร์ตหนุ่มหล่ออีกคนแล้ว ยังมีเรื่องของหญิงสาว Runaway Bride กับว่าที่เจ้าบ่าวแสนเฉิ่ม เล่าสลับแก้เลี่ยนอีกคู่
ความเก๋ของหนังคือการแทรกฉากเซอร์เรียลเหนือจริงที่ทำให้คนดูอย่างเราๆ นั่งอมยิ้มถึงความช่างคิด ซึ่งอันที่จริงฉากพวกนี้ก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรนักหรอก แต่มันน่ารักชะมัด และมุกตลกที่แทรกมาเป็นระยะๆ ก็ทำให้เรื่องที่ชวนอึดอัดดูเบาบางและผ่อนคลายลงมาก นอกจากชอบการคลี่คลายและบทสรุปของหนังแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือเหล่าตัวละครที่ดูจริงมากและมีเสน่ห์มาก เป็นอีกครั้งที่เราหลงรักหนุ่มไต้หวัน (เปล่าไม่ได้ชอบสจ๊วร์ตมาดเนี้ยบคนนั้น แต่ชอบหนุ่มใหญ่อย่าง Richie Ren ต่างหาก ค้นไปค้นมา อ๋อ เค้าเป็นพระเอก Fly Me to Polaris หนังฮ่องกงปี 1999 ที่เราชอบมากนี่เอง)
Baby Steps (2015)
ผลงานการกำกับและเขียนบทของ Barney Cheng ผู้กำกับ – นักแสดงชาวไต้หวันที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเค้ากับแม่ ผสมด้วยเรื่องราวจากข่าวเกี่ยวกับการอุ้มบุญของคู่รักเกย์ในอิสราเอล จนกลายมาเป็น Baby Steps เมื่อ Danny (Barney Cheng รับบทนี้ด้วยตัวเอง) ต้องแบกรับความกดดันและอึดอัดจากแม่ของตัวเอง แม้ว่าเค้าจะเปิดเผยกับแม่ว่าเป็นเกย์ และก็เหมือนแม่จะรับได้ แต่ก็กลับปกปิดและปฏิเสธที่จะเปิดเผยกับเพื่อนๆ และคนอื่นๆ ว่ามีลูกเป็นเกย์ พร้อมกับเปรยว่า “ตระกูลลีของตัวเองคงต้องสิ้นสุดลงแล้ว” ไม่ว่าจะเป็นเพราะความต้องการพยายามพิสูจน์ตัวเองจากแม่ หรือเพราะความต้องการลึกๆ ในใจของตัวเอง แต่มันก็ทำให้ Danny ตัดสินใจวางแผนที่จะมีลูกเป็นของตัวเอง โดยการอุ้มบุญ แม้ว่า Tate คนรักชาวอเมริกันของเค้าจะไม่ยินดีหรือสนับสนุนเท่าไหร่ก็ตาม และทันทีที่แม่ได้รับรู้ว่า Danny วางแผนที่จะมีลูก เธอก็ตีตั๋วเดินทางจากไต้หวันมาแอลเอ เพื่อเผชิญกับความผิดหวัง เมื่อได้รับรู้ว่า ลูกในความหมายของ Danny มาจากการอุ้มบุญ
หนังดำเนินเรื่องไปพร้อมกับความพยายามในการปฏิบัติภารกิจอุ้มบุญ ซึ่งมีอุปสรรคต่างๆ นานาเกิดขึ้นตลอดเรื่อง ทั้งอคติของแม่ ความไม่เข้าใจกันของ Danny และ Tate ปัญหาเรื่องกฎหมายอุ้มบุญ ไปจนถึงการหาตัวหญิงสาวผู้จะทำหน้าที่อุ้มบุญ ซึ่งหลายฉากก็เรียกได้ทั้งเสียงรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และน้ำตา
ในเรื่องราวแสน Cliché และทีท่าเก่าเชยหนัง กลับถูกโอบอุ้มให้ “รอด” ด้วยการแสดงของ “กัวอาเล่ย” ผู้รับบทแม่ของเรื่อง ซึ่งทำให้เราไม่อาจละสายตาได้ และทำให้เราน้ำตาไหลพรากกับฉากท้ายๆ ที่แสนจะ Cliché นั่นแหละ! น่าประหลาดใจที่เสน่ห์ของ Barney Cheng และ Michael Adam Hamilton ผู้รับบท Tate เปล่งประกายมากขึ้นเรื่อยๆ ตามวินาทีที่หนังดำเนินไป จากที่รู้สึกเฉยๆ กับเคมีของทั้งคู่ พอถึงช่วงท้ายกลับสัมผัสได้ถึงความโรแมนติกและน่าเชื่อขึ้นอย่างรวดเร็ว
Front Cover (2016)
เรื่องราวความรักความสัมพันธ์ของสองหนุ่ม คนหนึ่งเป็นสไตลิสต์ฝีมือดีชาวฮ่องกง อีกหนึ่งเป็นนักแสดงหนุ่มอนาคตไกลจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ต้องมาทำงานร่วมกัน จากจุดเริ่มต้นแบบคู่กัด ด้วยทัศนคติ วัฒนธรรมที่แตกต่าง และความเอาแต่ใจของทั้งคู่ กลายมาเป็นความเข้าอกเข้าใจและตกหลุมรักกัน แต่มันคือบทสรุปของความสัมพันธ์นี้แน่หรือ
ต้องบอกก่อนว่านี่คือหนังโรแมนติกคอเมดี้ใสๆ ที่ทำให้เรานั่งยิ้ม หัวเราะ จิกเบาะ และฟุ้งฝันไปตามเรื่อง มากกว่าจะมาเน้นอารมณ์ดราม่ากดดันบีบคั้นอะไรมากมาย ซึ่งก็ต้องให้คะแนนเคมีของสองนักแสดงนำ Jake Choi และ James Chen ที่มุ้งมิ้ง จิ้นกระจาย และทำให้เราเชื่อได้ว่าทั้งคู่ตกหลุมรักกันจริงๆ โดยเฉพาะฝ่ายแรก Jake Choi เสน่ห์ล้น ออร่าแรง น่ามอง และน่ากินมาก ยิ่งพอได้เห็นคาแร็คเตอร์ตัวจริงของเค้า ทั้งดิบและเถื่อน! ก็ยิ่งทึ่ง มันตรงกันข้ามกับในเรื่องอย่างสิ้นเชิง
เช่นเคย ผู้กำกับ Ray Yeung ใส่ประเด็นการปะทะกันของวัฒนธรรมตะวันออก - ตะวันตก / จีน - โลก / จีน - ฮ่องกง ไว้บางๆ พอให้ดูมี “อะไร” แบบเดียวกับที่เคยทำใน Cut Sleeve Boys แต่บางทีมันอาจจะเบาบางเกินไป จนถูกประเด็นการเปิดเผยตัวตนที่โดดเด่นกว่ากลบลบไปเสียมิด ทั้งๆ ที่ประเด็นการ Com Out นั้นดูเป็นเรื่องเก่าเชย แต่พออยู่ในบริบทของสังคมจีน และการเป็นนักแสดงในโลกบันเทิง มันก็กลายเป็นเรื่องน่าเชื่อถือ และตอกย้ำให้เราเห็นว่า เรื่องแบบนี้ไม่เคยเก่าและหายไปไหนเลยต่างหาก น่าสนใจไปกว่านั้น การให้ครอบครัวของฝ่ายหนึ่ง “โอเค” กับความเป็นเกย์ของลูก ก็ทำให้หนังมีความโมเดิร์น และย้อนแย้งกับอีกฝ่าย ที่ติดกับดักของสังคมและเปลือกมายา
อ่านบทวิจารณ์หนังอื่นๆ ของ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง