- @TOM NEWS
- Nov-Dec 2021
Little Girl เด็กน้อยข้ามเพศวัย 7 ขวบกับเส้นทางสุขบนเศร้าของเธอ
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
พอตัวสารคดีสามารถแคปเจอร์ช่วงเวลาอันแสนพิเศษ อัดแน่นด้วยอารมณ์แตกสลาย สะเทือนใจ อบอุ่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข พร้อมด้วยงานภาพที่งดงามลงตัว เราก็เกิดอาการลังเลว่า นี่มันคือสารคดีตามติดชีวิตของเด็กน้อยวัย 7 ขวบ ในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต หรือมันคือภาพยนตร์ที่เขียนบทขึ้นกันแน่นะ!?
Sasha เด็กน้อยวัย 7 ขวบที่เกิดมาในร่างเด็กผู้ชาย แต่เธอรู้ตัวมาตลอดว่าตนเองเป็นเด็กผู้หญิง ใช่ เธอคือผู้หญิงข้ามเพศ หรือ Transgender นั่นเอง โชคดีเหลือเกินที่ครอบครัวของเธอ ทั้งพ่อแม่ พี่สาว พี่ชาย ต่างก็สนับสนุน Sasha ในทุกด้าน ทว่าปัญหาใหญ่ในตอนนี้ก็คือ โรงเรียนอันเป็นพื้นที่สำคัญในการเติบโตของเด็กๆ เยาวชน ไม่เปิดรับ เข้าใจ หรือสนับสนุนให้ Sasha ได้เป็นตัวของตัวเอง เธอยังต้องสวมใส่ชุดเด็กผู้ชายไปโรงเรียน และถูกปฏิบัติราวกับเป็นเด็กผู้ชาย แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอก หรือครอบครัวของเธอจะยืนกรานแค่ไหนว่า Sasha คือเด็กผู้หญิง คุณแม่ของ Sasha จึงตัดสินใจพาลูกสาวของตนเดินทางเข้าเมืองไปพบคุณหมอเฉพาะทาง ซึ่งพร้อมสนับสนุน Sasha เช่นกัน แต่ถึงอย่างไร Sasha และครอบครัวก็ต้องงัดข้อกับครูใหญ่ คุณครู และโรงเรียนอยู่ดี ยังไม่รวมถึงสังคมภาพกว้างที่พวกเค้าต้องเผชิญปัญหาอีกหลายครั้งหลายหน
ถึงแม้ว่าเราจะนั่งดู Little Girl ด้วยมุมมองของคนที่เข้าใจประเด็นคนข้ามเพศ ทั้งปมปัญหาภายในและภายนอกที่พวกเค้าต้องเผชิญ พลางคิดตลอดเวลาว่า ทำไมคุณครูและโรงเรียนถึงไม่ได้เข้าใจอะไรเลย งี่เง่าอะไรเช่นนี้ พอย้อนกลับมามองในเมืองไทย โอ้โห เรายังอยู่ห่างไกลจากตรงนั้นอีกมากมายนัก เพราะสังคมไทยเพิ่งเข้าใจคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” และแนวความคิด “การเป็นผู้หญิงที่ติดอยู่ในร่างผู้ชาย” เมื่อไม่นานมานี้อีก (จำได้ไหม นก ยลดา ไปออกรายการของวู้ดดี้แล้วถูกสังคมก่นด่าว่าเป็นบ้า มันหนักหนารุนแรงแค่ไหน) ไหนจะเรื่องการแต่งกายตามเพศสภาพไปโรงเรียนอีกล่ะ ไม่ต้องพูดถึงการสนับสนุนให้เยาวชนเข้าสู่กระบวนการเตรียมพร้อมเพื่อข้ามเพศตั้งแต่เด็กเลย เชื่อว่า ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ สังคมไทยอันดีงามก็พร้อมกระโจนลงมาโจมตีแน่นอน
และถึงแม้นี่จะเป็นการเดินทางของ Sasha แต่มันก็เป็นการร่วมทางของคุณแม่ของเธอด้วยเช่นกัน ฉากปลดล็อกที่คุณหมอบอกกับแม่ว่า การที่ Sasha เป็นเด็กผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ความผิดของคุณแม่ (ที่ปรารถนาอยากได้ลูกผู้หญิง) มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แล้วคุณแม่หลั่งน้ำตาออกมามันทำให้เราคิดถึงแม่ของตัวเองเหมือนกัน ที่ผ่านมา เราพูดเสมอว่า ประสบการณ์การค้นหาตัวเองของชาว LGBTQ+ นั้นมันเป็นเส้นทางอันแสนโดดเดี่ยว แต่ในตอนนี้ เรารู้แล้วว่า เส้นทางของเรามันโยงใยไปยังคนรอบข้างตลอดมา แล้วอาจจะเป็นตัวเราต่างหากที่เลือกความโดดเดี่ยวนั้น ทั้งที่จริงมันไม่ได้อ้างว้างเดียวดายขนาดนั้น
ความน่ารักน่าชังของ Sasha ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราหลงรักเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนี้ แต่การพยายามเข้มแข็ง เก็บกักความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองไว้ข้างใน เพื่อให้ทุกคนสบายใจ แต่ในที่สุดก็พังทลาย มันทำให้เราหัวใจสลายตามเธอไปจริงๆ นะ อยากโอบกอดน้องเหลือเกิน
เราได้ดู Little Girl ในรอบฉายสุดท้ายที่ Doc Club & Pub. พอดี แต่คนที่พลาดก็ไม่ต้องเสียใจไป ตอนนี้สามารถรับชมได้ฟรีที่แอพ VIPA
พอตัวสารคดีสามารถแคปเจอร์ช่วงเวลาอันแสนพิเศษ อัดแน่นด้วยอารมณ์แตกสลาย สะเทือนใจ อบอุ่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข พร้อมด้วยงานภาพที่งดงามลงตัว เราก็เกิดอาการลังเลว่า นี่มันคือสารคดีตามติดชีวิตของเด็กน้อยวัย 7 ขวบ ในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต หรือมันคือภาพยนตร์ที่เขียนบทขึ้นกันแน่นะ!?
Sasha เด็กน้อยวัย 7 ขวบที่เกิดมาในร่างเด็กผู้ชาย แต่เธอรู้ตัวมาตลอดว่าตนเองเป็นเด็กผู้หญิง ใช่ เธอคือผู้หญิงข้ามเพศ หรือ Transgender นั่นเอง โชคดีเหลือเกินที่ครอบครัวของเธอ ทั้งพ่อแม่ พี่สาว พี่ชาย ต่างก็สนับสนุน Sasha ในทุกด้าน ทว่าปัญหาใหญ่ในตอนนี้ก็คือ โรงเรียนอันเป็นพื้นที่สำคัญในการเติบโตของเด็กๆ เยาวชน ไม่เปิดรับ เข้าใจ หรือสนับสนุนให้ Sasha ได้เป็นตัวของตัวเอง เธอยังต้องสวมใส่ชุดเด็กผู้ชายไปโรงเรียน และถูกปฏิบัติราวกับเป็นเด็กผู้ชาย แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอก หรือครอบครัวของเธอจะยืนกรานแค่ไหนว่า Sasha คือเด็กผู้หญิง คุณแม่ของ Sasha จึงตัดสินใจพาลูกสาวของตนเดินทางเข้าเมืองไปพบคุณหมอเฉพาะทาง ซึ่งพร้อมสนับสนุน Sasha เช่นกัน แต่ถึงอย่างไร Sasha และครอบครัวก็ต้องงัดข้อกับครูใหญ่ คุณครู และโรงเรียนอยู่ดี ยังไม่รวมถึงสังคมภาพกว้างที่พวกเค้าต้องเผชิญปัญหาอีกหลายครั้งหลายหน
ถึงแม้ว่าเราจะนั่งดู Little Girl ด้วยมุมมองของคนที่เข้าใจประเด็นคนข้ามเพศ ทั้งปมปัญหาภายในและภายนอกที่พวกเค้าต้องเผชิญ พลางคิดตลอดเวลาว่า ทำไมคุณครูและโรงเรียนถึงไม่ได้เข้าใจอะไรเลย งี่เง่าอะไรเช่นนี้ พอย้อนกลับมามองในเมืองไทย โอ้โห เรายังอยู่ห่างไกลจากตรงนั้นอีกมากมายนัก เพราะสังคมไทยเพิ่งเข้าใจคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” และแนวความคิด “การเป็นผู้หญิงที่ติดอยู่ในร่างผู้ชาย” เมื่อไม่นานมานี้อีก (จำได้ไหม นก ยลดา ไปออกรายการของวู้ดดี้แล้วถูกสังคมก่นด่าว่าเป็นบ้า มันหนักหนารุนแรงแค่ไหน) ไหนจะเรื่องการแต่งกายตามเพศสภาพไปโรงเรียนอีกล่ะ ไม่ต้องพูดถึงการสนับสนุนให้เยาวชนเข้าสู่กระบวนการเตรียมพร้อมเพื่อข้ามเพศตั้งแต่เด็กเลย เชื่อว่า ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ สังคมไทยอันดีงามก็พร้อมกระโจนลงมาโจมตีแน่นอน
และถึงแม้นี่จะเป็นการเดินทางของ Sasha แต่มันก็เป็นการร่วมทางของคุณแม่ของเธอด้วยเช่นกัน ฉากปลดล็อกที่คุณหมอบอกกับแม่ว่า การที่ Sasha เป็นเด็กผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ความผิดของคุณแม่ (ที่ปรารถนาอยากได้ลูกผู้หญิง) มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แล้วคุณแม่หลั่งน้ำตาออกมามันทำให้เราคิดถึงแม่ของตัวเองเหมือนกัน ที่ผ่านมา เราพูดเสมอว่า ประสบการณ์การค้นหาตัวเองของชาว LGBTQ+ นั้นมันเป็นเส้นทางอันแสนโดดเดี่ยว แต่ในตอนนี้ เรารู้แล้วว่า เส้นทางของเรามันโยงใยไปยังคนรอบข้างตลอดมา แล้วอาจจะเป็นตัวเราต่างหากที่เลือกความโดดเดี่ยวนั้น ทั้งที่จริงมันไม่ได้อ้างว้างเดียวดายขนาดนั้น
ความน่ารักน่าชังของ Sasha ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราหลงรักเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนี้ แต่การพยายามเข้มแข็ง เก็บกักความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองไว้ข้างใน เพื่อให้ทุกคนสบายใจ แต่ในที่สุดก็พังทลาย มันทำให้เราหัวใจสลายตามเธอไปจริงๆ นะ อยากโอบกอดน้องเหลือเกิน
เราได้ดู Little Girl ในรอบฉายสุดท้ายที่ Doc Club & Pub. พอดี แต่คนที่พลาดก็ไม่ต้องเสียใจไป ตอนนี้สามารถรับชมได้ฟรีที่แอพ VIPA