• @TOM NEWS
  • Jan 2023

10 อันดับละครเวทีถูกจริต LGBTQ ในปี 2022

By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
เป็นอีกหนึ่งปีที่เราชวนเพจ "ชีวิตผมก็เหมือนหนัง" มาจัดอันดับหมวดสื่อบันเทิงต่างๆ โดยในปีนี้ก็มี "ละครเวที" รวมอยู่ด้วย โดยโจทย์ที่เรามอบให้ก็คือ การจัดอันดับละครเวทีถูกจริตโดนใจ LGBTQ+ ประจำปี ซึ่งก็ต้องอธิบายกันอีกครั้งว่า ละครเวทีที่เลือกมานี้เป็นเพียงการแสดงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2022 และนับเฉพาะละครเวทีที่ผู้เขียนได้รับชมตลอดทั้งปีเท่านั้น

เมื่อไหร่ เมื่อนั้น' การแสดงอ่านบทละคร (Play Reading) แนวชวนหัวเรื่องใหม่  จาก ชวน-จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ | Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส | LINE TODAY
เมื่อไหร่ เมื่อนั้น (A Distanced Lullaby) (2022)

นี่คือเรื่องราวในวันหนึ่งของแก๊ง 4 เพื่อนเกย์วัยชราที่มารวมตัวกันเพื่อบอกลาหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งตัดสินใจจะโบกมือลาจากพวกเค้า บ้านที่เช่าอยู่ด้วยกัน และโลกใบนี้ไป แล้วบทสนทนาที่ว่าด้วยความเจ็บป่วย ความตาย มิตรภาพ ความรัก ความทรงจำ และความฝันก็ค่อยๆ ผุดพรายขึ้นมา ผสมปนเปไปกับเสียงบ่น ก่นด่า จิกกัด ตามประสาเพื่อนที่อยู่ด้วยกันมานาน แน่นอน ไคล์แม็กซ์ของเรื่องยิ่งทำให้ส่วนผสมต่างๆ ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น พร้อมกับเปิดตัวอีกหนึ่งตัวละครที่นั่งเงียบอยู่ในมุมมืดมาตลอดครึ่งค่อนเรื่อง

คินีและทูรันโดต์” การตีความข้ามกาลเวลา Chini and Turandot, Interpretation  across Time | สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th
คินี และทูรันโดต์ (Chini and Turandot) (2022)

เปิดเรื่องด้วยการเดินทางของ กาลิเลโอ คินี ศิลปินหนุ่มที่กำลังต้องรับหน้าที่วาดโดมขนาดใหญ่ในสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง – เป็นอีกซีนที่ชอบมาก จากนั้นเรื่องราวก็ถูกส่งต่อไปยังอีกตัวละครหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าหญิงทูรันโดต์ ผู้ต่อต้านการอภิเษก ด้วยการตั้งกฎขึ้นมาว่า เธอจะยอมเข้าพิธีเสกสมรสกับผู้ชายคนใดก็ได้ที่สามารถตอบปริศนา 3 ข้อของเธอได้ทั้งหมด แต่หากตอบปริศนาของเธอไม่ได้ เค้าคนนั้นจะต้องตาย และหลังจากทำให้เจ้าชายหลายสิบชีวิตต้องสิ้นชีพไปเพราะตอบปริศนาไม่ได้ จู่ๆ ก็มีเจ้าชายนิรนามปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับสามารถไขปริศนาของเธอได้ แล้วเจ้าหญิงทูรันโดต์จะทำเช่นไร


CLOSER (2022)

นี่คือสายสัมพันธ์แปลกประหลาดของชายหญิง 4 คน ที่เริ่มต้นจากคู่รักที่ต่างเป็นคนแปลกหน้าของกันและกัน Dan กับ Alice พบรักกันเพราะอุบัติเหตุและแซนด์วิชหนึ่งชิ้น จากนั้น Dan เอาเรื่องราวในชีวิตของหญิงสาวคนรักมาเขียนเป็นนวนิยาย ซึ่งทำให้เค้าได้มีโอกาสพบกับ Anna ตากล้องสาวผู้รับหน้าที่ถ่ายภาพพอร์ตเทรตของเค้าเพื่อใช้ในหนังสือเล่มที่ว่า ในช่วงเวลาสั้นๆ Dan หว่านเสน่ห์ใส่ Anna แล้วดูเหมือนเธอก็ติดกับดักนั้นเข้าแล้ว ทว่าเธอจะยอมเข้าไปคั่นกลางในสัมพันธ์รักของ Dan กับ Alice หรือ? แล้วก็เพราะการเล่นสนุกของ Dan นี่เองที่ทำให้ Anna ได้มีโอกาสพบกับ Larry คุณหมอหนุ่มผู้แสนเปิ่น แล้วเธอก็ตัดสินใจเลือกเค้า แต่ก็นั่นแหละ สายสัมพันธ์แสนยุ่งเหยิงเพิ่งเริ่มขึ้นเท่านั้น ความรัก เซ็กส์ การนอกใจ ความเจ็บปวด และการแก้แค้น จึงเป็นสิ่งที่พวกเค้าหลีกเลี่ยงไม่ได้

กูรู้ เธียเตอร์ @BTF2022 (Guru+ Theatre @BTF 2022), Bangkok Art & Culture  Centre BACC หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, November 19 to November 27 |  AllEvents.in
กูรู้ เธียเตอร์ @BTF2022 (Guru+ Theatre @BTF 2022)

กูรู้ เธียเตอร์ @BTF2022 (Guru+ Theatre @BTF 2022) ดัดแปลงตัวบทและการแสดงมาจาก กูรู เธียเตอร์ ของ จารุนันท์ พันธชาติ ซึ่งเราก็ไม่เคยดูหรอก ดังนั้น ก็จะโฟกัสที่การแสดงครั้งนี้ที่เทศกาลละครกรุงเทพ 2022 เพียงอย่างเดียว กับเรื่องราวชวนหัว เมื่อผู้ชมทุกคนกำลังได้ร่วมดูพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ “คอลิด มิดำ” กำลังอัญเชิญท่านอาจารย์ในวงการละครให้เข้ามาร่วมพิธีแล้วช่วยปัดเป่าเคราะห์กรรม และแก้ปัญหาต่างๆ นานาให้กับเหล่านักการละครทั้งหลาย โดยมี “เศรษฐ์สิริ นิรันดร” เป็นผู้ช่วยลูกมือหยิบจับสนับสนุนท่านอาจารย์ และมี “เยาวลักษณ์ เมฆกุลวิโรจน์” อดีตเจ้าหญิงแห่งวงการละครเวทีโรงเล็ก เป็นอาสาสมัครที่ต้องการให้ท่านอาจารย์ช่วยเหลือให้เธอได้กลับมาทวงบัลลังก์การเป็นนักแสดงได้อีกครั้ง

Bangkok Theatre Festival | Thailand
การพบกันครั้งนั้นในร้านอาหารที่หาดใหญ่ ดราฟท์ 2 (2022)

นี่คือการรวมตัวกันซ้อมละครชิ้นใหม่ (ซึ่งระบุว่าเป็นดราฟท์ที่ 2 แล้ว) อันประกอบไปด้วย หนึ่งผู้กำกับ (ซึ่งร่วมแสดงนำด้วย) และสองนักแสดง (?) กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในร้านอาหารแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ เมื่อความตายของผู้ชายที่ถูกเรียกว่า “พ่อ” ทำให้คนสามคนในสองครอบครัวต้องมาพบกัน เพื่อสะสางมรดกที่จัดสรรไม่ลงตัว และในบทสนทนาโต้เถียงของพวกเค้าก็เปิดเผยให้เห็นความคับข้องใจและความเจ็บปวดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราก็ไม่แน่ใจนักว่า ที่สุดแล้วมันจบลงอย่างไร เมื่อจู่ๆ ผู้กำกับและนักแสดงก็รู้สึกว่าดราฟท์ที่ 2 นี้มันไม่เวิร์ก ไม่จริง และแปลกๆ จนขอวนกลับไปลองอ่านดราฟท์ที่ 1 ใหม่อีกครั้ง ทว่าสำหรับเราแล้ว สถานการณ์และความรู้สึกที่เรามีต่อเหตุการณ์ตรงหน้าก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย

เทศกาลละครกรุงเทพ ๒๐ ปี กับ “๔ แผ่นดินs” | สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI  BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th
๔ แผ่นดินs : The Last Ten Years (2022)

“มาดามเพ็ชช์” ผู้ลืมตาดูโลกริมคลองโอ่งอ่างในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 และมีชีวิตยืนยาวมาถึงสี่แผ่นดิน กำลังใช้เวลาช่วง 10 ปีสุดท้ายของชีวิต หลังจากเจ็บออดๆ แอดๆ มานาน ด้วยการวางแผนออกเดินทางล่องแม่น้ำแล้วย้อนกลับไปดูชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองที่ผ่านอะไรมามากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคมปีนั้น ที่ทำให้เธอแตกสลายและมองสมาชิกในครอบครัวด้วยสายตาที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่เธอจะได้พบเจอกับเพื่อนรักผู้สวมฮิญาบ, รักแรกฝังใจสมัยยังสาว, อดีตสามีมือเปื้อนเลือดที่เธอเกลียดนักหนา, ลูกชายผู้สาบสูญ และญาติฝ่ายแม่ที่โผล่มานั่งคุยอย่างออกรสออกชาติ


I'm Not at Home in My Own Home (2022)

ความรู้สึกแรกคือ อะไรๆ มันช่างดูเรียบง่ายจัง (และคาดเดาได้ง่ายจัง การเชื้อเชิญให้เรานั่งลงกับพื้น แล้วจดจ้องดูเพนกวินพูดถึง “บ้าน” ในมิติต่างๆ ทั้งบ้านในกรุงเทพฯ (ที่เค้าไม่รู้สึกว่าเป็นบ้านที่แท้จริง), บ้านที่ลำปาง (ที่เค้ามีความผูกพันและรู้สึกเป็นตัวของตัวเองได้มากกว่า), บ้านที่เช่าเพื่อพักอาศัยและทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ และบ้านในความหมายที่กว้างใหญ่กว่านั้น ล้วนถูกบอกเล่าอย่างซื่อตรงและเรียบง่าย การออกแบบให้บทสนทนา (หรือการสัมภาษณ์) นั้นเกิดขึ้นในระหว่างการแต่งหน้าแต่งตา-แต่งเนื้อแต่งตัวก็ไม่ได้เป็นเทคนิคมหัศจรรย์อะไร แต่! พอเรามานั่งทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการแสดง I'm Not at Home in My Own Home ทั้งหมด เรากลับพบว่า ในความเรียบง่ายเหล่านั้น มันผ่านกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ทำให้เกิดความเรียบง่ายนั้นขึ้นต่างหาก

The Practice (or The intriguing snapshot | bangkoktheatrefest
The Practice or The intriguing snapshots of the alternative worlds of a person who is thinking of ending things (2022)

ละครชื่อยาวที่เล่าเรื่องของ “อีฟ” มนุษย์วัยกลางคนผู้กำลังประสบปัญหาชีวิตขั้นรุนแรง จนตัดสินใจใช้บริการโปรแกรมบำบัดที่ชื่อว่า The Practice โดยตัวเค้าจะได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนที่จำลองสิ่งต่างๆ ซึ่งเค้ากำลังจะได้เผชิญในชีวิตจริง แล้วได้ทดลองฝึกซ้อมรับมือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจนเชี่ยวชาญและกลายเป็นคนใหม่ แต่เจ้าโปรแกรมที่ว่านี้มันจะช่วยให้อีฟดีขึ้นได้จริงๆ เหรอ ในเมื่อดูท่าทางแล้ว ปัญหาของอีฟมันมะรุมมะตุ้มวุ่นวาย และอีฟก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับ The Practice ซะเท่าไหร่

I Don't Care ไม่ว่าอย่างไร | Zipevent - Inspiration Everywhere
I Don’t Care ไม่ว่าอย่างไร (2022)

ผลงานการแสดงที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างสองกลุ่มการละคร อันได้แก่ B-Floor Theatre จากประเทศไทย และ Residenztheater จากเยอรมนี หลังจากเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ 8 คนข้ามเพศจาก 2 ประเทศ มันก็ตกผลึกออกมาเป็นการแสดงที่ผสมผสานกัน ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย สวมหัวหุ่นเป็นสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บทละครพูด คลิปวิดีโอ ไปจนถึงการเล่นเกมโชว์ เพื่อสื่อสารให้ผู้ชมเข้าอกเข้าใจเส้นทางการค้นหาตัวตนและการเดินข้ามจากเพศหนึ่งไปสู่อีกเพศหนึ่งของ “คนข้ามเพศ”


พินัยกรรมของหญิงวิกลจริต A One Woman Musical (2022)

“พินัยกรรมของหญิงวิกลจริต” เคยเป็นละครเวทีเล่นเดี่ยวในปี 2537 มาก่อน แต่ในปีนี้ บทละครถูกนำมาปรับเป็น Sung-through Musicals ที่จะดำเนินเรื่องผ่านบทเพลงโดยไม่มีบทพูดปกติเลย พร้อมต่อห้อยด้วยชื่อ A One Woman Musical นั่นแหละ และแม้จะถูกโปรโมทว่าเป็น “ละครเวทีมิวสิคัลเล่นคนเดียว เรื่องแรกในประเทศไทย” แต่ที่จริงแล้ว ยังมีตัวละครอีก 5 ตัวที่มาร่วมร้องร่วมแสดงด้วย เพียงแต่อยู่หลังฉากและปรากฏร่างเป็นเงา กับเรื่องราวของหญิงวิกลจริตคนหนึ่งที่ถูกนำมาจับขังเอาไว้ และนี่อาจจะเป็นคืนสุดท้ายในชีวิตของเธอ