- @TOM NEWS
- Aug 2021
De Profundis ที่ใดมีความเศร้า ... เพราะชีวิตต้องเดินต่อไป
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ใช้เวลาอ่านนานมาก ทั้งที่หนังสือเล่มบางมาก ก็เพราะเนื้อหาอันอัดแน่นในจดหมายฉบับยาวของออสการ์ ไวลด์ นั้นไม่ได้พูดเรื่องง่ายๆ เลย นอกจากความรู้สึกส่วนตัวที่มองย้อนกลับไปยังสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต ด้วยมุมมองของคนที่เข้าใจโลก ยอมรับชะตากรรม เปิดรับความทุกข์ความเศร้าความผิดหวังที่เกิดขึ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้ว ออสการ์ยังชวนคุยเรื่องปรัชญา แนวความคิดการใช้ชีวิตตามแบบฉบับสุนทรียนิยมของเค้า เทียบเคียงกับเส้นทางของพระคริสต์ อ้างอิงชื่อนักปรัชญา นักคิดนักเขียน กวี และผลงานต่างๆ หลากหลายทั้งของตัวเค้าเองและคนอื่นๆ ในโลกยุคก่อนและโลกยุคเดียวกับเค้า ไหนจะภาษารุ่มรวยที่ต้องหยุดอ่านทวนแล้วทวนอีกหลายๆ รอบ เพื่อหาความหมายที่แท้จริงซึ่งอ่านซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดอีก ... ฟังดูเหมือนอ่านยาก ก็ใช่ มันอ่านยาก แต่มันก็เพลิดเพลินดีเหมือนกัน
จดหมายฉบับยาวนี้ถูกเขียนขึ้นในระหว่างที่ออสการ์ ไวลด์ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเรดดิ้งในช่วงเวลาท้ายๆ ของการรับโทษ 2 ปี จากข้อหากระทำลามกอนาจาร (Gross Indecency) เพราะในยุคนั้น การเป็น “รักร่วมเพศ” (อยากจะใช้คำว่า คนรักเพศเดียวกันนะ แต่ใช้คำว่า “รักร่วมเพศ” ที่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQ เกลียด เพื่อสะท้อนให้เห็นความเลวทรามที่ถูกแปะป้ายตีตรวนให้พวกเรา) ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ถึงแม้ว่าคดีความส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นคดีธรรมดาๆ ที่ไม่ได้มีใครสนใจนัก ทว่ามันตรงกันข้ามกับกรณีของ ออสการ์ ไวลด์ ที่เป็นเซเลบริตี้คนดังในแวดวงสังคม และมาพร้อมข่าวฉาวโฉ่ จากสัมพันธ์ที่เขามีต่อลอร์ดอัลเฟรด ดักลาส จนในที่สุดมันก็ทำลายชื่อเสียงของเค้าย่อยยับปนปี้ และพาเค้ามาลงเอยที่คุกเช่นนี้
ถึงแม้เนื้อหาในจดหมายหรือในส่วนที่ตีพิมพ์เป็น “De Profundis ที่ใดมีความเศร้า” นี้จะไม่ได้พูดถึงที่มาที่ไปของคดีที่ว่า แต่มันก็ถูกเรียบเรียงและบอกเล่าอย่างละเอียดอยู่ในส่วนคำนำผู้แปล, คำนำบรรณาธิการ และ “รักที่ไม่กล้าเอ่ยนาม” สรุปเรื่องราวท้ายเล่มที่อ่านสนุกมาก และขนลุกไปหมดเมื่อได้รู้ว่า นิยามความรักที่ลอร์ดอัลเฟรดเขียนไว้ในบทกวี Two Loves ถูกยกขึ้นถามในการพิจารณาคดีด้วยว่า “อะไรคือรักที่ไม่กล้าเอ่ยนาม”
กลับมาที่ตัวเนื้อหาความเรียงขนาดยาวที่ออสการ์เขียนเป็นจดหมายนี้ มันถูกโรเบิร์ต รอส เพื่อนและอดีตคนรัก ตัดทอนเนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องส่วนตัวและตัดชื่อบุคคลที่ถูกพาดพิงทิ้งไปส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันคดีความที่อาจตามมา จนออกมาเป็น “De Profundis ที่ใดมีความเศร้า” ซึ่งทำให้เราครุ่นคิดถึงการรับมือของผู้คนที่ถูกจองจำอยู่ในคุก พวกเค้ามีวิธีการที่จะผ่านพ้นไปในแต่ละวันอย่างไรนะ สุดท้ายเค้าจะมองหาแง่มุมดีๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นได้เหมือนออสการ์ไหม มีความหวังหรือความฝันอะไรบ้างหลังจากได้เดินสู่อิสรภาพ
แปลกดีที่เราแทบไม่พบการตอบโต้อย่างโกรธแค้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือคนที่ตัดสินเค้าอย่างตรงไปตรงมา (อาจจะมีก็ได้ แต่ถูกรอสตัดทิ้งไปแล้ว) แต่การหยิบยกเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์มาพูดคุย ตีความ โดยเชิดชูพระคริสต์ในมิติต่างๆ ก็เป็นการตบหน้าพวกมือถือสากปากถือศีล (รวมถึงลูกขุนในศาล) ทั้งหลายว่า ข้อหาที่พวกแกมอบให้ฉันมันไม่ใช่เรื่องผิดบาปผิดเพี้ยนอะไรเลย ฉันต่างหากคือผู้เข้าใจพระคริสต์อย่างถ่องแท้ ไม่ใช่พวกแก!
เอาเข้าจริง ตัวหนังสือของออสการ์ในจดหมาย/ความเรียงนี้มันเต็มไปด้วยพลังบวก จากการยอมรับและเข้าใจชีวิต มันมีความฝันและความมุ่งหมายที่จะใช้ชีวิตหลังออกมาจากคุกด้วยความมั่นอกมั่นใจ เชิดหน้ารับทุกสิ่ง รักตัวเองและคนอื่นๆ ให้มากขึ้น จนเราอยากจะเอาไปให้เหล่าคนดังทั้งหลายที่เคยทำเรื่องผิดพลาดจนต้องไปอยู่ในเรือนจำได้อ่าน ทว่าในชีวิตจริงของชายผู้ใช้ความรักนำชีวิตอย่างออสการ์มันช่างแสนเศร้า ... หลังออกมาจากคุก ออสการ์พบว่าสังคมที่ลอนดอนไม่ได้ต้อนรับเค้าอีกต่อไปแล้ว เค้าจึงย้ายไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ได้ใช้ชีวิตกับลอร์ดอัลเฟรดคนรักที่พาเค้ามาสู่จุดตกต่ำนี้สั้นๆ ก่อนจะถูกทิ้งไปอีกครั้ง แล้วจมอยู่กับความเมามายจนล้มป่วย และตายจากไปในวัยเพียง 46 ปี
ใช้เวลาอ่านนานมาก ทั้งที่หนังสือเล่มบางมาก ก็เพราะเนื้อหาอันอัดแน่นในจดหมายฉบับยาวของออสการ์ ไวลด์ นั้นไม่ได้พูดเรื่องง่ายๆ เลย นอกจากความรู้สึกส่วนตัวที่มองย้อนกลับไปยังสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต ด้วยมุมมองของคนที่เข้าใจโลก ยอมรับชะตากรรม เปิดรับความทุกข์ความเศร้าความผิดหวังที่เกิดขึ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้ว ออสการ์ยังชวนคุยเรื่องปรัชญา แนวความคิดการใช้ชีวิตตามแบบฉบับสุนทรียนิยมของเค้า เทียบเคียงกับเส้นทางของพระคริสต์ อ้างอิงชื่อนักปรัชญา นักคิดนักเขียน กวี และผลงานต่างๆ หลากหลายทั้งของตัวเค้าเองและคนอื่นๆ ในโลกยุคก่อนและโลกยุคเดียวกับเค้า ไหนจะภาษารุ่มรวยที่ต้องหยุดอ่านทวนแล้วทวนอีกหลายๆ รอบ เพื่อหาความหมายที่แท้จริงซึ่งอ่านซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดอีก ... ฟังดูเหมือนอ่านยาก ก็ใช่ มันอ่านยาก แต่มันก็เพลิดเพลินดีเหมือนกัน
จดหมายฉบับยาวนี้ถูกเขียนขึ้นในระหว่างที่ออสการ์ ไวลด์ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเรดดิ้งในช่วงเวลาท้ายๆ ของการรับโทษ 2 ปี จากข้อหากระทำลามกอนาจาร (Gross Indecency) เพราะในยุคนั้น การเป็น “รักร่วมเพศ” (อยากจะใช้คำว่า คนรักเพศเดียวกันนะ แต่ใช้คำว่า “รักร่วมเพศ” ที่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQ เกลียด เพื่อสะท้อนให้เห็นความเลวทรามที่ถูกแปะป้ายตีตรวนให้พวกเรา) ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ถึงแม้ว่าคดีความส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นคดีธรรมดาๆ ที่ไม่ได้มีใครสนใจนัก ทว่ามันตรงกันข้ามกับกรณีของ ออสการ์ ไวลด์ ที่เป็นเซเลบริตี้คนดังในแวดวงสังคม และมาพร้อมข่าวฉาวโฉ่ จากสัมพันธ์ที่เขามีต่อลอร์ดอัลเฟรด ดักลาส จนในที่สุดมันก็ทำลายชื่อเสียงของเค้าย่อยยับปนปี้ และพาเค้ามาลงเอยที่คุกเช่นนี้
ถึงแม้เนื้อหาในจดหมายหรือในส่วนที่ตีพิมพ์เป็น “De Profundis ที่ใดมีความเศร้า” นี้จะไม่ได้พูดถึงที่มาที่ไปของคดีที่ว่า แต่มันก็ถูกเรียบเรียงและบอกเล่าอย่างละเอียดอยู่ในส่วนคำนำผู้แปล, คำนำบรรณาธิการ และ “รักที่ไม่กล้าเอ่ยนาม” สรุปเรื่องราวท้ายเล่มที่อ่านสนุกมาก และขนลุกไปหมดเมื่อได้รู้ว่า นิยามความรักที่ลอร์ดอัลเฟรดเขียนไว้ในบทกวี Two Loves ถูกยกขึ้นถามในการพิจารณาคดีด้วยว่า “อะไรคือรักที่ไม่กล้าเอ่ยนาม”
กลับมาที่ตัวเนื้อหาความเรียงขนาดยาวที่ออสการ์เขียนเป็นจดหมายนี้ มันถูกโรเบิร์ต รอส เพื่อนและอดีตคนรัก ตัดทอนเนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องส่วนตัวและตัดชื่อบุคคลที่ถูกพาดพิงทิ้งไปส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันคดีความที่อาจตามมา จนออกมาเป็น “De Profundis ที่ใดมีความเศร้า” ซึ่งทำให้เราครุ่นคิดถึงการรับมือของผู้คนที่ถูกจองจำอยู่ในคุก พวกเค้ามีวิธีการที่จะผ่านพ้นไปในแต่ละวันอย่างไรนะ สุดท้ายเค้าจะมองหาแง่มุมดีๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นได้เหมือนออสการ์ไหม มีความหวังหรือความฝันอะไรบ้างหลังจากได้เดินสู่อิสรภาพ
แปลกดีที่เราแทบไม่พบการตอบโต้อย่างโกรธแค้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือคนที่ตัดสินเค้าอย่างตรงไปตรงมา (อาจจะมีก็ได้ แต่ถูกรอสตัดทิ้งไปแล้ว) แต่การหยิบยกเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์มาพูดคุย ตีความ โดยเชิดชูพระคริสต์ในมิติต่างๆ ก็เป็นการตบหน้าพวกมือถือสากปากถือศีล (รวมถึงลูกขุนในศาล) ทั้งหลายว่า ข้อหาที่พวกแกมอบให้ฉันมันไม่ใช่เรื่องผิดบาปผิดเพี้ยนอะไรเลย ฉันต่างหากคือผู้เข้าใจพระคริสต์อย่างถ่องแท้ ไม่ใช่พวกแก!
เอาเข้าจริง ตัวหนังสือของออสการ์ในจดหมาย/ความเรียงนี้มันเต็มไปด้วยพลังบวก จากการยอมรับและเข้าใจชีวิต มันมีความฝันและความมุ่งหมายที่จะใช้ชีวิตหลังออกมาจากคุกด้วยความมั่นอกมั่นใจ เชิดหน้ารับทุกสิ่ง รักตัวเองและคนอื่นๆ ให้มากขึ้น จนเราอยากจะเอาไปให้เหล่าคนดังทั้งหลายที่เคยทำเรื่องผิดพลาดจนต้องไปอยู่ในเรือนจำได้อ่าน ทว่าในชีวิตจริงของชายผู้ใช้ความรักนำชีวิตอย่างออสการ์มันช่างแสนเศร้า ... หลังออกมาจากคุก ออสการ์พบว่าสังคมที่ลอนดอนไม่ได้ต้อนรับเค้าอีกต่อไปแล้ว เค้าจึงย้ายไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ได้ใช้ชีวิตกับลอร์ดอัลเฟรดคนรักที่พาเค้ามาสู่จุดตกต่ำนี้สั้นๆ ก่อนจะถูกทิ้งไปอีกครั้ง แล้วจมอยู่กับความเมามายจนล้มป่วย และตายจากไปในวัยเพียง 46 ปี