- @TOM NEWS
- Oct 2020
Cyberpunk TH 2020 ละครเวทีสั้น 4 เรื่อง ที่มีประเด็นเลสฯ อยู่ด้วย
Photos : Supissara Wanchanwech
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ดีงามเกินคาด เป็นความบันเทิงที่ไม่ได้จบแล้วจบเลย แต่ทำให้เราตกผลึกความคิด และยังคิดต่อไปอีกไกลแสนไกล เหมือนได้อ่านงานวรรณกรรมไซไฟดีๆ หรือดูหนังไซไฟโลกอนาคตพังก์ๆ เพี้ยนๆ ที่ผสมผสานกันระหว่างการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์โลกอนาคต ปรัชญาชีวิต และความเป็นมนุษย์ที่เปราะบางเหลือเกิน
Cyberpunk TH 2020 ผลงานละครเวทีสั้น 4 เรื่องจาก 4 ผู้กำกับ/เขียนบท ซึ่งจะใช้นักแสดงหลัก 4 คนหมุนเวียนกันไป เริ่มต้นที่เรื่อง When Charlie was There ที่โฟกัสไปที่นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นตำนานซึ่งกำลังสร้างหุ่นยนต์ตัวใหม่ โดยไม่ยอมออกไปพบเจอโลกแห่งความเป็นจริง ชอบการตั้งคำถามหลายๆ เรื่องทั้งในแง่ของหลักคิดความเชื่อ อุดมการณ์ การทำงาน ไปจนถึงคำถามที่ว่าอะไรคือสิ่งจริงแท้ แล้วพอคนดูอย่างเราๆ เริ่มปรับตัวให้คุ้นชินกับโลกแบบ Cyberpunk TH 2020 ได้แล้ว ละครเรื่องที่สองก็เริ่มขึ้นกับ It’s a fxxking MATCH! ที่เราชอบมาก! ด้วยความที่มันเล่นกับความเป็น Dating Application ในโลกอนาคตที่มนุษย์เผชิญกับโรคติดต่อ (ราวกับโควิด-19 ยังไม่หมดไป) จนเราไม่อาจมีปฏิสัมพันธ์พบเจอตัวเป็นๆ กันได้ จึงต้องมาพึ่งพาการคลายเหงาในโลกไซเบอร์ เท่านั้นไม่พอ เจ้าแอพที่ว่านี่ยังมี “บอต” หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ที่แอพฯ สร้างขึ้นเพื่อหลอกผู้ใช้งานให้เจอเทพแห่งการนัดเดต แล้วตัวบทก็ล้ำไปอีกขั้น เมื่อให้ผู้ใช้งานที่แมทช์ (หรือจับคู่ได้ลงตัว) กับบอตสาวนักเดตเป็นผู้หญิงเหมือนกัน มันเลยพูดถึงเรื่องเพศสภาพ แรงดึงดูดทางเพศ คนรักเพศเดียวกัน (ไปจนถึงหุ่นยนต์รักเพศเดียวกัน) ได้ฉลาดมากๆ ในฐานะที่ทำงานด้านแอพพลิเคชั่น เราชอบไอเดียนี้มาก แล้วตัวบทที่พลิกผันไปมาก็ทำให้เราร้องอุทานซ้ำแล้วซ้ำอีก
ต่อด้วยอีกเรื่องที่บ้าบอมาก (ในแง่ดี) กับ “แล้วฝันก็เป็นจริง อีก 5 วัน ผมจะได้ไป The Matrix..” ที่บอกอย่างตรงไปตรงมาว่ายั่วล้อกับหนังไตรภาค The Matrix เมื่อเด็กหนุ่มกำลังเตรียมตัวเดินทางไป The Matrix โลกที่เค้าจะเป็นอมตะและมีชีวิตที่ดีกว่า แต่ก็มีเพียงแม่ของเขาแหละที่เห็นต่างและต่อต้าน แล้วจากที่คิดว่าละครจะเล่าเน้นที่การปะทะกันของคนสองรุ่นที่คิดเห็นไม่ตรงกัน ใครจะไปคิดว่ามันมีฉากแอ็คชั่นจ้า! ปิดท้ายด้วยเรื่องสุดท้ายที่พีคมาก และเราชอบมากที่สุดกับ “อาตมาฝันถึงการปฏิวัติ” เรื่องราวของ “หลวงปู่” พระสงฆ์รูปสุดท้ายที่ล้มป่วยหนักนอนนิ่งเป็น "หลวงปู่นิทรา" ทว่าญาติโยมก็ไม่ยอมให้ท่านละสังขารไป ยื้อไว้ด้วยการแพทย์แล้วยังถวายเครื่องเล่นมหัศจรรย์ที่ให้จิตวิญญาณของท่านได้โลดแล่นอยู่ในโลกเสมือนจริง โดยมี "อานอล" เป็นโปรแกรมสาวที่คอยอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้ท่าน ชอบมากกับการเอาพุทธศาสนามาเล่นสนุกแบบนี้ ทั้งวิพาษ์วิจารณ์แบบยียวน แล้วมันก็ชวนคิดต่อไปได้อีกไกล เมื่อที่สุดแล้ว ไม่ใช่แค่ว่านิพพานคืออะไร แต่เราก็ฉุกคิดได้ว่า เฮ้ย ไอ้ความพยายามไปสู่นิพพานเนี่ยมันก็เป็นทุกข์ด้วยเหมือนกันนี่หว่า
ทีมนักแสดงทั้ง 4 คน (สายฟ้า ตันธนา, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, กมลสรวง อักษรานุเคราะห์ และ ณัฐชญา สืบแย้ม) เก่งมาก มีเสน่ห์มาก แล้วชอบมากๆ ที่แต่ละคนพยายามฉีกคาแร็คเตอร์ของแต่ละเรื่องให้ขาดออกจากกัน แล้วพวกเค้าก็ทำได้จริงๆ ชอบยิ่งกว่ากับการเรียงลำดับเรื่องราวทั้ง 4 เรื่อง แล้วจะด้วยความบังเอิญหรือไม่ก็ตาม ในความแตกต่างและก้าวล้ำของตัวบท ทุกเรื่องล้วนแต่เล่าเรื่องความพยายามแสวงหาความสุขกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่รับหน้าที่มาดูแลให้นักวิทยาศาสตร์มีความสุข บอตสาวที่ตั้งคำถามว่าเธอมีความสุขอยู่ไหม สองแม่ลูกที่ค้นพบว่าความสุขมันอยู่ในโลกตรงหน้านี่แหละ หรือสุดท้ายหลวงปู่ก็ต้องถามตัวเองว่า อยากจะอยู่อย่างเป็นสุขหรือนิพพานกันแน่ ... หรือที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะอีกกี่ร้อยกี่พันปี พวกเราก็ต้องการแค่ความสุข?
Cyberpunk TH 2020 ทำการแสดงทั้งหมด 9 รอบ 9-11 , 16-17 , 23-25 , 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19:30 น. สถานที่ Spark Drama Studio (BTS อโศก) ราคาบัตรปกติ 550 บาท จองบัตรได้ที่ Inbox Fanpage : www.facebook.com/toolongtheatre/
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ดีงามเกินคาด เป็นความบันเทิงที่ไม่ได้จบแล้วจบเลย แต่ทำให้เราตกผลึกความคิด และยังคิดต่อไปอีกไกลแสนไกล เหมือนได้อ่านงานวรรณกรรมไซไฟดีๆ หรือดูหนังไซไฟโลกอนาคตพังก์ๆ เพี้ยนๆ ที่ผสมผสานกันระหว่างการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์โลกอนาคต ปรัชญาชีวิต และความเป็นมนุษย์ที่เปราะบางเหลือเกิน
Cyberpunk TH 2020 ผลงานละครเวทีสั้น 4 เรื่องจาก 4 ผู้กำกับ/เขียนบท ซึ่งจะใช้นักแสดงหลัก 4 คนหมุนเวียนกันไป เริ่มต้นที่เรื่อง When Charlie was There ที่โฟกัสไปที่นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นตำนานซึ่งกำลังสร้างหุ่นยนต์ตัวใหม่ โดยไม่ยอมออกไปพบเจอโลกแห่งความเป็นจริง ชอบการตั้งคำถามหลายๆ เรื่องทั้งในแง่ของหลักคิดความเชื่อ อุดมการณ์ การทำงาน ไปจนถึงคำถามที่ว่าอะไรคือสิ่งจริงแท้ แล้วพอคนดูอย่างเราๆ เริ่มปรับตัวให้คุ้นชินกับโลกแบบ Cyberpunk TH 2020 ได้แล้ว ละครเรื่องที่สองก็เริ่มขึ้นกับ It’s a fxxking MATCH! ที่เราชอบมาก! ด้วยความที่มันเล่นกับความเป็น Dating Application ในโลกอนาคตที่มนุษย์เผชิญกับโรคติดต่อ (ราวกับโควิด-19 ยังไม่หมดไป) จนเราไม่อาจมีปฏิสัมพันธ์พบเจอตัวเป็นๆ กันได้ จึงต้องมาพึ่งพาการคลายเหงาในโลกไซเบอร์ เท่านั้นไม่พอ เจ้าแอพที่ว่านี่ยังมี “บอต” หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ที่แอพฯ สร้างขึ้นเพื่อหลอกผู้ใช้งานให้เจอเทพแห่งการนัดเดต แล้วตัวบทก็ล้ำไปอีกขั้น เมื่อให้ผู้ใช้งานที่แมทช์ (หรือจับคู่ได้ลงตัว) กับบอตสาวนักเดตเป็นผู้หญิงเหมือนกัน มันเลยพูดถึงเรื่องเพศสภาพ แรงดึงดูดทางเพศ คนรักเพศเดียวกัน (ไปจนถึงหุ่นยนต์รักเพศเดียวกัน) ได้ฉลาดมากๆ ในฐานะที่ทำงานด้านแอพพลิเคชั่น เราชอบไอเดียนี้มาก แล้วตัวบทที่พลิกผันไปมาก็ทำให้เราร้องอุทานซ้ำแล้วซ้ำอีก
ต่อด้วยอีกเรื่องที่บ้าบอมาก (ในแง่ดี) กับ “แล้วฝันก็เป็นจริง อีก 5 วัน ผมจะได้ไป The Matrix..” ที่บอกอย่างตรงไปตรงมาว่ายั่วล้อกับหนังไตรภาค The Matrix เมื่อเด็กหนุ่มกำลังเตรียมตัวเดินทางไป The Matrix โลกที่เค้าจะเป็นอมตะและมีชีวิตที่ดีกว่า แต่ก็มีเพียงแม่ของเขาแหละที่เห็นต่างและต่อต้าน แล้วจากที่คิดว่าละครจะเล่าเน้นที่การปะทะกันของคนสองรุ่นที่คิดเห็นไม่ตรงกัน ใครจะไปคิดว่ามันมีฉากแอ็คชั่นจ้า! ปิดท้ายด้วยเรื่องสุดท้ายที่พีคมาก และเราชอบมากที่สุดกับ “อาตมาฝันถึงการปฏิวัติ” เรื่องราวของ “หลวงปู่” พระสงฆ์รูปสุดท้ายที่ล้มป่วยหนักนอนนิ่งเป็น "หลวงปู่นิทรา" ทว่าญาติโยมก็ไม่ยอมให้ท่านละสังขารไป ยื้อไว้ด้วยการแพทย์แล้วยังถวายเครื่องเล่นมหัศจรรย์ที่ให้จิตวิญญาณของท่านได้โลดแล่นอยู่ในโลกเสมือนจริง โดยมี "อานอล" เป็นโปรแกรมสาวที่คอยอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้ท่าน ชอบมากกับการเอาพุทธศาสนามาเล่นสนุกแบบนี้ ทั้งวิพาษ์วิจารณ์แบบยียวน แล้วมันก็ชวนคิดต่อไปได้อีกไกล เมื่อที่สุดแล้ว ไม่ใช่แค่ว่านิพพานคืออะไร แต่เราก็ฉุกคิดได้ว่า เฮ้ย ไอ้ความพยายามไปสู่นิพพานเนี่ยมันก็เป็นทุกข์ด้วยเหมือนกันนี่หว่า
ทีมนักแสดงทั้ง 4 คน (สายฟ้า ตันธนา, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, กมลสรวง อักษรานุเคราะห์ และ ณัฐชญา สืบแย้ม) เก่งมาก มีเสน่ห์มาก แล้วชอบมากๆ ที่แต่ละคนพยายามฉีกคาแร็คเตอร์ของแต่ละเรื่องให้ขาดออกจากกัน แล้วพวกเค้าก็ทำได้จริงๆ ชอบยิ่งกว่ากับการเรียงลำดับเรื่องราวทั้ง 4 เรื่อง แล้วจะด้วยความบังเอิญหรือไม่ก็ตาม ในความแตกต่างและก้าวล้ำของตัวบท ทุกเรื่องล้วนแต่เล่าเรื่องความพยายามแสวงหาความสุขกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่รับหน้าที่มาดูแลให้นักวิทยาศาสตร์มีความสุข บอตสาวที่ตั้งคำถามว่าเธอมีความสุขอยู่ไหม สองแม่ลูกที่ค้นพบว่าความสุขมันอยู่ในโลกตรงหน้านี่แหละ หรือสุดท้ายหลวงปู่ก็ต้องถามตัวเองว่า อยากจะอยู่อย่างเป็นสุขหรือนิพพานกันแน่ ... หรือที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะอีกกี่ร้อยกี่พันปี พวกเราก็ต้องการแค่ความสุข?
Cyberpunk TH 2020 ทำการแสดงทั้งหมด 9 รอบ 9-11 , 16-17 , 23-25 , 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19:30 น. สถานที่ Spark Drama Studio (BTS อโศก) ราคาบัตรปกติ 550 บาท จองบัตรได้ที่ Inbox Fanpage : www.facebook.com/toolongtheatre/