- @TOM NEWS
- Aug 2024
สนธยาและหลังจากนั้น ละครเวทีแฟนตาซีกับตัวละครเควียร์
Photos : ภัทรพล กันทาวัฒน์
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[ระวัง SPOIL มีการเปิดเผยประเด็นสำคัญของละครเวที]
“จันทร์เจ้า” วิญญาณเด็กชายสวมใส่ชุดกระโปรง อาศัยอยู่ในหอคอยร้างกับ “วิกาล” ยมทูตหนุ่มผู้เงียบขรึม ที่คุยกับเค้าแทบจะนับคำได้ จันทร์เจ้ามีหน้าที่ดูแลวิญญาณเด็กเล็กๆ ในฐานะพี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งจำนวนวิญญาณน้อยก็เพิ่มขึ้นทุกที แล้วบางทีมันอาจจะถึงเวลาที่จันทร์เจ้าต้องทำอะไรสักอย่าง พร้อมๆ กับที่จะได้สะสางอดีตอันลึกลับดำมืดของตนเอง
นี่คือละครเวทีผลงานของคณะละครโยกย้ายส่ายสะโพกเธียเตอร์ ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยาย “สนธยาและหลังจากนั้น” (Death and the Maiden) ของ Moonscape ที่เรายังไม่ได้อ่านฉบับหนังสือ (แต่ก็ซื้อมาแล้ว) และเราเชื่อว่ารสชาติ/ความรู้สึกของการอ่านหนังสือ-ดูละคร คงต่างกันมากทีเดียว โดยเฉพาะการเลือกให้ “เกรซ - อภิศรา ชมภูศรี” มารับบทเป็นจันทร์เจ้า ซึ่งในช่วงแรกๆ เรายังไม่สามารถทำใจเชื่อได้ว่า นี่คือตัวละครเด็กชายใส่กระโปรง แต่เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งเรื่อง ความมหัศจรรย์ของการแสดงและโลกที่ละครสร้างขึ้น มันก็ค่อยๆ ทำให้เรามองเห็นจันทร์เจ้าเป็นตัวละครเด็กคนหนึ่ง – ที่ปราศจากเพศไปเลยด้วยซ้ำ ... อันที่จริง ชอบสรีระและการเคลื่อนไหวของเกรซมากนะ เราเชื่อว่า นี่คือตัวละครเด็ก แล้วในบางชั่วขณะ เราก็เชื่อว่าเธอคือเด็กผู้ชายตัวน้อยที่ถูกห่อหุ้มด้วยอาภรณ์ของเด็กผู้หญิงจริงๆ
ชอบการสร้างโลกแฟนตาซีของเรื่องมากเลย วิญญาณ-ความตาย-ยมทูต การส่งวิญญาณ/การเอาชนะปีศาจด้วยเสียงดนตรี (ชอบงานดนตรีเล่นสดในเรื่องนี้มาก มันหล่อเลี้ยงบรรยากาศ และสร้างมวลอารมณ์ที่หลากหลายไปกับเรื่องได้ด้วย) การรวมตัวกันของยมทูตช่วงท้าย การใช้พื้นที่ของโรงละครได้อย่างชาญฉลาด และเสื้อผ้าของตัวละครสวยมาก น่ารักมาก ดูรายละเอียดตรงโน้นตรงนี้ มันทั้งเก๋ และเล่าเรื่องด้วย ชอบ!
ถึงจะฉาบเคลือบไว้ด้วยมวลอารมณ์สดใสสนุกสนานของเหล่าตัวละครเด็กๆ รวมถึงท่าทีร่าเริงเกินเหตุของตัวละครหลักอย่าง “จันทร์เจ้า” เสื้อผ้าฟูฟ่อง การเล่นสนุก การเล่านิทาน และเรื่องราวแฟนตาซีเหนือจริง แต่แท้ที่จริงแล้ว โลกของ “สนธยาและหลังจากนั้น” มันดาร์กดิ่งสู่ความมืดยิ่งกว่านั้น ไม่ใช่เพราะมันพูดถึงความตาย แต่เพราะมันเป็นความตายของเด็กๆ ที่ถูกปลิดชีวิตอย่างโหดเหี้ยม อำมหิต ในฐานะผู้ใหญ่วัยกลางคืน เราแทบไม่รู้สึกรู้สากับความเป็นความตายอีกต่อไปแล้ว แต่พอมันเป็นความตายของเด็กๆ ที่ควรมีโอกาสจะได้โลดแล่น เลือกใช้ชีวิตของตัวเอง (ไม่ว่าจะดีหรือร้าย) มันก็ทำให้เราจุก เจ็บ และดิ่งต่อเนื่องมาอีกหลายวัน
แล้วมันก็น่าหดหู่ใจมากด้วยนะ ที่ดูเหมือนสิ่งที่ฆาตกร (ทั้งสองคน) ในเรื่องลงมือไป มันมาจากความบิดเบี้ยวในตัวของเค้าเอง หาได้มีปีศาจซาตานตัวใดเกลี้ยกล่อมให้ทำ เพราะปีศาจในเรื่องนี้ มันสนุกกับการล่อลวงมนุษย์ผู้อ่อนแอ และดื่มกินความทรงจำอันเจ็บปวดมากกว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว ความชั่วช้าของมนุษย์มันผุดพรายขึ้นมาจากที่ใดกัน มนุษย์เราสามารถทำร้ายทำลายชีวิตอื่นที่บอบบางไร้ทางสู้ด้วยความรื่นรมย์ง่ายๆ เช่นนั้นเองหรือ ... ดิ่งหนักไปอีก!
Thanks ภาพโดย: ภัทรพล กันทาวัฒน์
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[ระวัง SPOIL มีการเปิดเผยประเด็นสำคัญของละครเวที]
“จันทร์เจ้า” วิญญาณเด็กชายสวมใส่ชุดกระโปรง อาศัยอยู่ในหอคอยร้างกับ “วิกาล” ยมทูตหนุ่มผู้เงียบขรึม ที่คุยกับเค้าแทบจะนับคำได้ จันทร์เจ้ามีหน้าที่ดูแลวิญญาณเด็กเล็กๆ ในฐานะพี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งจำนวนวิญญาณน้อยก็เพิ่มขึ้นทุกที แล้วบางทีมันอาจจะถึงเวลาที่จันทร์เจ้าต้องทำอะไรสักอย่าง พร้อมๆ กับที่จะได้สะสางอดีตอันลึกลับดำมืดของตนเอง
นี่คือละครเวทีผลงานของคณะละครโยกย้ายส่ายสะโพกเธียเตอร์ ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยาย “สนธยาและหลังจากนั้น” (Death and the Maiden) ของ Moonscape ที่เรายังไม่ได้อ่านฉบับหนังสือ (แต่ก็ซื้อมาแล้ว) และเราเชื่อว่ารสชาติ/ความรู้สึกของการอ่านหนังสือ-ดูละคร คงต่างกันมากทีเดียว โดยเฉพาะการเลือกให้ “เกรซ - อภิศรา ชมภูศรี” มารับบทเป็นจันทร์เจ้า ซึ่งในช่วงแรกๆ เรายังไม่สามารถทำใจเชื่อได้ว่า นี่คือตัวละครเด็กชายใส่กระโปรง แต่เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งเรื่อง ความมหัศจรรย์ของการแสดงและโลกที่ละครสร้างขึ้น มันก็ค่อยๆ ทำให้เรามองเห็นจันทร์เจ้าเป็นตัวละครเด็กคนหนึ่ง – ที่ปราศจากเพศไปเลยด้วยซ้ำ ... อันที่จริง ชอบสรีระและการเคลื่อนไหวของเกรซมากนะ เราเชื่อว่า นี่คือตัวละครเด็ก แล้วในบางชั่วขณะ เราก็เชื่อว่าเธอคือเด็กผู้ชายตัวน้อยที่ถูกห่อหุ้มด้วยอาภรณ์ของเด็กผู้หญิงจริงๆ
ชอบการสร้างโลกแฟนตาซีของเรื่องมากเลย วิญญาณ-ความตาย-ยมทูต การส่งวิญญาณ/การเอาชนะปีศาจด้วยเสียงดนตรี (ชอบงานดนตรีเล่นสดในเรื่องนี้มาก มันหล่อเลี้ยงบรรยากาศ และสร้างมวลอารมณ์ที่หลากหลายไปกับเรื่องได้ด้วย) การรวมตัวกันของยมทูตช่วงท้าย การใช้พื้นที่ของโรงละครได้อย่างชาญฉลาด และเสื้อผ้าของตัวละครสวยมาก น่ารักมาก ดูรายละเอียดตรงโน้นตรงนี้ มันทั้งเก๋ และเล่าเรื่องด้วย ชอบ!
ถึงจะฉาบเคลือบไว้ด้วยมวลอารมณ์สดใสสนุกสนานของเหล่าตัวละครเด็กๆ รวมถึงท่าทีร่าเริงเกินเหตุของตัวละครหลักอย่าง “จันทร์เจ้า” เสื้อผ้าฟูฟ่อง การเล่นสนุก การเล่านิทาน และเรื่องราวแฟนตาซีเหนือจริง แต่แท้ที่จริงแล้ว โลกของ “สนธยาและหลังจากนั้น” มันดาร์กดิ่งสู่ความมืดยิ่งกว่านั้น ไม่ใช่เพราะมันพูดถึงความตาย แต่เพราะมันเป็นความตายของเด็กๆ ที่ถูกปลิดชีวิตอย่างโหดเหี้ยม อำมหิต ในฐานะผู้ใหญ่วัยกลางคืน เราแทบไม่รู้สึกรู้สากับความเป็นความตายอีกต่อไปแล้ว แต่พอมันเป็นความตายของเด็กๆ ที่ควรมีโอกาสจะได้โลดแล่น เลือกใช้ชีวิตของตัวเอง (ไม่ว่าจะดีหรือร้าย) มันก็ทำให้เราจุก เจ็บ และดิ่งต่อเนื่องมาอีกหลายวัน
แล้วมันก็น่าหดหู่ใจมากด้วยนะ ที่ดูเหมือนสิ่งที่ฆาตกร (ทั้งสองคน) ในเรื่องลงมือไป มันมาจากความบิดเบี้ยวในตัวของเค้าเอง หาได้มีปีศาจซาตานตัวใดเกลี้ยกล่อมให้ทำ เพราะปีศาจในเรื่องนี้ มันสนุกกับการล่อลวงมนุษย์ผู้อ่อนแอ และดื่มกินความทรงจำอันเจ็บปวดมากกว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว ความชั่วช้าของมนุษย์มันผุดพรายขึ้นมาจากที่ใดกัน มนุษย์เราสามารถทำร้ายทำลายชีวิตอื่นที่บอบบางไร้ทางสู้ด้วยความรื่นรมย์ง่ายๆ เช่นนั้นเองหรือ ... ดิ่งหนักไปอีก!
Thanks ภาพโดย: ภัทรพล กันทาวัฒน์