- @TOM NEWS
- Jul 2021
The Craft: Legacy กับประเด็นความหลากหลายทางเพศที่แตะอยู่เบาๆ
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
เพิ่งมีโอกาสได้ดู The Craft: Legacy ที่มาลงสตรีมมิ่งให้ชมกันทาง Netflix หลังจากพลาดไปตอนเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ แล้วก็พบว่า นี่คือการหยิบเอาหนังคัลต์ของวัยรุ่นยุค 90 มาทำใหม่ได้เสียของมาก จาก The Craft “สี่แหววพลังแม่มด” หนังปี 1996 ของผู้กำกับ/เขียนบท Andrew Fleming ที่เรารักมาก สู่การสานต่อเป็น The Craft: Legacy ของผู้กำกับ/เขียนบท Zoe Lister-Jones ที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากความทะเยอทะยาน และอยากเล่าโน้นเล่านี่เต็มไปหมด
เรื่องราวของ Lily สาวน้อยที่ต้องย้ายมายังเมืองใหม่ เพราะคุณแม่ของเธอตัดสินใจลองใช้ชีวิตคู่กับว่าที่สามีใหม่ ซึ่งนอกจากจะต้องปรับตัวกับครอบครัวใหม่ ที่มีพี่ชายต่างพ่อต่างแม่อีก 3 คน (จำเป็นต้องมีตัวละครลูกชายเยอะขนาดนี้ไหม มีบทให้พูดเยอะแยะหรือก็เปล่า!) เข้าเรียนในโรงเรียนใหม่ เธอยังเจอเรื่องน่าขายหน้าตั้งแต่วันแรก แต่โชคยังดีที่เธอก็ได้เพื่อนใหม่เป็นแก๊งสาวท่าทางประหลาดอีก 3 คน มาชวนให้เธอเข้ารวมกลุ่มเป็นแก๊งแม่มด 4 ทิศ แล้วจากความตั้งใจที่จะร่ายมนตร์เล่นๆ สนุกๆ มันก็เริ่มถลำลึกจนกลายเป็นเรื่องใหญ่โต แล้วมันอาจจะทำให้พวกเธอตกอยู่ในอันตรายโดยไม่รู้ตัว
มองเห็นความพยายามจะพูดถึงการปะทะกันของผู้ชาย-ผู้หญิง แซมๆ ด้วยประเด็น Toxic Masculinity ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ประเภทเป็นผู้ชายห้ามร้องไห้ ห้ามอ่อนแอ อะไรแบบนั้น แถมด้วยประเด็นความหลากหลายทางเพศ/ความลื่นไหลทางเพศเข้ามาอีก แต่พอเรื่องที่จะเล่นจะเล่ามันอยู่กระจัดกระจาย ให้เวลาไม่มากพอ มันเลยพัง แถมหลายๆ จุดยังทำได้ไม่ถึงอีกต่างหาก อย่างตอน Adam พ่อใหม่ของ Lily – รับบทโดย David Duchovny ล้อมวงผู้ชายเพื่อพูดสไตล์ไลฟ์โค้ชก็ไม่สามารถทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ตัวละครพูดได้เลย หรืออย่างการใส่ประเด็นความหลากหลายทางเพศเข้ามาหยอดตรงโน้นตรงนี้มันก็ออกมาอิหลักอิเหลื่อมากกว่าจะน่าประทับใจ เช่น ฉากตัวละครแม่มดสาวเดินผ่านเด็กเกย์ที่กำลังถูกกลั่นแกล้งโดนเด็กผู้ชาย แม่มดสาวของเราก็เสกคาถาให้เสื้อผ้าของตัวละครเด็กผู้ชายกลายเป็นสีรุ้ง ... แค่นั้น! หรือฉากที่ตัวละครสำคัญเปิดเผยเรื่องประสบการณ์ทางเพศที่เคยมีอะไรกับคนเพศเดียวกัน มันก็ออกมาอยู่ในเกณฑ์เกือบๆ ดี แล้วก็ไม่ได้มีการแตะต้องประเด็นนี้อีกอย่างชัดเจนหรือนำไปสู่อะไร จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่หนังมีประเด็นใหม่ๆ ที่หนักแน่นและน่าสนใจ แต่กลับไม่ได้ให้เวลาหรือความสำคัญกับมันมากพอแบบนี้
เพิ่งมีโอกาสได้ดู The Craft: Legacy ที่มาลงสตรีมมิ่งให้ชมกันทาง Netflix หลังจากพลาดไปตอนเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ แล้วก็พบว่า นี่คือการหยิบเอาหนังคัลต์ของวัยรุ่นยุค 90 มาทำใหม่ได้เสียของมาก จาก The Craft “สี่แหววพลังแม่มด” หนังปี 1996 ของผู้กำกับ/เขียนบท Andrew Fleming ที่เรารักมาก สู่การสานต่อเป็น The Craft: Legacy ของผู้กำกับ/เขียนบท Zoe Lister-Jones ที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากความทะเยอทะยาน และอยากเล่าโน้นเล่านี่เต็มไปหมด
เรื่องราวของ Lily สาวน้อยที่ต้องย้ายมายังเมืองใหม่ เพราะคุณแม่ของเธอตัดสินใจลองใช้ชีวิตคู่กับว่าที่สามีใหม่ ซึ่งนอกจากจะต้องปรับตัวกับครอบครัวใหม่ ที่มีพี่ชายต่างพ่อต่างแม่อีก 3 คน (จำเป็นต้องมีตัวละครลูกชายเยอะขนาดนี้ไหม มีบทให้พูดเยอะแยะหรือก็เปล่า!) เข้าเรียนในโรงเรียนใหม่ เธอยังเจอเรื่องน่าขายหน้าตั้งแต่วันแรก แต่โชคยังดีที่เธอก็ได้เพื่อนใหม่เป็นแก๊งสาวท่าทางประหลาดอีก 3 คน มาชวนให้เธอเข้ารวมกลุ่มเป็นแก๊งแม่มด 4 ทิศ แล้วจากความตั้งใจที่จะร่ายมนตร์เล่นๆ สนุกๆ มันก็เริ่มถลำลึกจนกลายเป็นเรื่องใหญ่โต แล้วมันอาจจะทำให้พวกเธอตกอยู่ในอันตรายโดยไม่รู้ตัว
มองเห็นความพยายามจะพูดถึงการปะทะกันของผู้ชาย-ผู้หญิง แซมๆ ด้วยประเด็น Toxic Masculinity ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ประเภทเป็นผู้ชายห้ามร้องไห้ ห้ามอ่อนแอ อะไรแบบนั้น แถมด้วยประเด็นความหลากหลายทางเพศ/ความลื่นไหลทางเพศเข้ามาอีก แต่พอเรื่องที่จะเล่นจะเล่ามันอยู่กระจัดกระจาย ให้เวลาไม่มากพอ มันเลยพัง แถมหลายๆ จุดยังทำได้ไม่ถึงอีกต่างหาก อย่างตอน Adam พ่อใหม่ของ Lily – รับบทโดย David Duchovny ล้อมวงผู้ชายเพื่อพูดสไตล์ไลฟ์โค้ชก็ไม่สามารถทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ตัวละครพูดได้เลย หรืออย่างการใส่ประเด็นความหลากหลายทางเพศเข้ามาหยอดตรงโน้นตรงนี้มันก็ออกมาอิหลักอิเหลื่อมากกว่าจะน่าประทับใจ เช่น ฉากตัวละครแม่มดสาวเดินผ่านเด็กเกย์ที่กำลังถูกกลั่นแกล้งโดนเด็กผู้ชาย แม่มดสาวของเราก็เสกคาถาให้เสื้อผ้าของตัวละครเด็กผู้ชายกลายเป็นสีรุ้ง ... แค่นั้น! หรือฉากที่ตัวละครสำคัญเปิดเผยเรื่องประสบการณ์ทางเพศที่เคยมีอะไรกับคนเพศเดียวกัน มันก็ออกมาอยู่ในเกณฑ์เกือบๆ ดี แล้วก็ไม่ได้มีการแตะต้องประเด็นนี้อีกอย่างชัดเจนหรือนำไปสู่อะไร จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่หนังมีประเด็นใหม่ๆ ที่หนักแน่นและน่าสนใจ แต่กลับไม่ได้ให้เวลาหรือความสำคัญกับมันมากพอแบบนี้