- @TOM NEWS
- Nov 2023
สมรสเท่าเทียม เตรียมเข้าสู่สภา รัฐบาลเศรษฐา 12 ธันวาคมนี้
By : Ruta
ดูเหมือนพวกเราอาจจะมีความหวังกับรัฐบาลเศรษฐา เมื่อ คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) (ฉบับที่…) พ.ศ. … (สมรสเท่าเทียม) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ พร้อมกันนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศชัดว่า พร้อมจะนำ “สมรสเท่าเทียม” เข้าสู่การพิจารณาในการเปิดประชุมสภาวันที่ 12 ธันวาคมที่จะถึงนี้
สำหรับ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาลเศรษฐานี้ อยู่ที่การแก้ไขให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด สามารถทำการหมั้น และสมรสกันได้ อีกทั้งยังมีการแก้ไขบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้คนรักเพศเดียวกัน สามารถมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัว เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง เพราะได้เปลี่ยนจากคำว่า “ชาย-หญิง” เป็น “บุคคล - บุคคล” นั่นเอง นอกจากนี้ ยังเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน และเหตุฟ้องหย่า ให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เราต้องจับตาและติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาลเศรษฐานี้ จะผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่
ดูเหมือนพวกเราอาจจะมีความหวังกับรัฐบาลเศรษฐา เมื่อ คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) (ฉบับที่…) พ.ศ. … (สมรสเท่าเทียม) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ พร้อมกันนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศชัดว่า พร้อมจะนำ “สมรสเท่าเทียม” เข้าสู่การพิจารณาในการเปิดประชุมสภาวันที่ 12 ธันวาคมที่จะถึงนี้
สำหรับ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาลเศรษฐานี้ อยู่ที่การแก้ไขให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด สามารถทำการหมั้น และสมรสกันได้ อีกทั้งยังมีการแก้ไขบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้คนรักเพศเดียวกัน สามารถมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัว เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง เพราะได้เปลี่ยนจากคำว่า “ชาย-หญิง” เป็น “บุคคล - บุคคล” นั่นเอง นอกจากนี้ ยังเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน และเหตุฟ้องหย่า ให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เราต้องจับตาและติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาลเศรษฐานี้ จะผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่