- @TOM NEWS
- Feb 2021
Ideal Home คู่เกย์กับจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ในขณะที่พล็อตมันโคตรจะเป็นสูตรสำเร็จ Andrew Fleming ผู้กำกับ/ควบตำแหน่งเขียนบท ก็หาทางใส่รายละเอียดต่างๆ ให้ Ideal Home มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งคาแร็คเตอร์ของตัวละคร บรรยากาศอันมีเมืองซานตาเฟ ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นฉากหลัง มุกตลกร้ายหน้าตาย และการบอกเล่าถึงความสัมพันธ์ของเกย์วัยกลางคนได้อย่างจริงใจ (ขอใส่หมายเหตุไว้ตรงนี้ด้วยว่า เรารักงานของ Andrew Fleming ในยุค 90 มาก ทั้ง The Craft สี่แหววพลังแม่มด ที่เพิ่งถูกนำกลับมาสร้างต่อกึ่งรีเมกใหม่ และ Dick หนังตลกร้ายอิงคดีของ Richard Nixon ที่มี Kirsten Dunst กับ Michelle Williams แสดงนำ)
Erasmus เป็นเจ้าของรายการทำอาหารชื่อดัง ที่แม้หน้าฉากจะสวยหรูแค่ไหน แต่หลังฉากเค้าก็เป็นแค่เกย์แก่อารมณ์แปรปรวนและยากจะรับมือ แน่นอน คนที่เหนื่อยใจและกายมากที่สุดก็คือ Paul คนรักของเค้าที่ดูแลทุกอย่างทั้งงานนอกบ้านและในบ้านมานานนับ 10 ปี แล้วจู่ๆ ก็มีเด็กชายวัย 10 ขวบโผล่มาในฐานะหลานชายของ Erasmus ซึ่งภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดูเค้าก็ตกอยู่ที่คู่เกย์ที่เถียงกันได้ทุกเรื่องคู่นี้ เพราะพ่อของเจ้าหนูนั้นถูกจับเข้าคุกไปแล้ว ถึงตรงนี้ เราก็พอจะเดาเรื่องที่เหลือต่อไปจนจบได้แล้วใช่ไหม แต่ก็นั่นแหละ Ideal Home มีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราจดจ่ออยู่กับเรื่องตรงหน้าได้โดยไม่เบื่อ หรือยี๊กับมุกเดิมๆ แบบต้องกลั้นใจตายไปก่อนเรื่องจบ
ชอบมากที่มันไม่ได้พยายามเล่นตามสูตรว่า สุดท้ายแล้วเด็กน้อยนิสัยกักขฬะก็เปลี่ยนจากหลังมือเป็นหน้ามือ หรือสองเกย์แก่ก็ไม่ได้เป็นผู้ปกครองแสนวิเศษที่ปราศจากจุดบกพร่อง พวกเค้ายังคงเป็นมนุษย์ธรรมดาๆ ที่เต็มไปด้วยข้อเสีย เจ้าหนูก็ยังเป็นเด็กโดดเดี่ยว เก็บตัว กำแพงสูง และมีนิสัยแย่ๆ ติดตัวอยู่ แล้วประเด็นสำคัญของ Ideal Home ก็ไม่ได้โฟกัสเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเด็กน้อยกับผู้ปกครองเกย์สักเท่าไหร่ด้วย แต่เค้าหยิบเอาเรื่องนี้มาขยายประเด็นความสัมพันธ์ของคนรักที่อยู่ด้วยกันมานาน การยอมรับในข้อเสีย เรื่องผิดพลาด การเสียสละในการก้าวหน้าของชีวิตและความสัมพันธ์ต่างหาก
ชอบประโยคที่ Erasmus ตัวละครของ Steve Coogan พูดกับหลานชายตัวแสบในเรื่องมากๆ เมื่อหลานกังวลว่า เค้าอาจจะไม่ได้อยู่กับคุณตาทั้งสองตลอดไป Erasmus ก็จับไหล่ทั้งสองข้างของหลานชายแล้วบอก (ประมาณว่า) “ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ มันเป็นเรื่องชั่วคราว (Temporary) ทั้งนั้นแหละ” ไม่มีอะไรคงอยู่ถาวร ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น คือพอมันออกมาจากปากตัวละครตัวนี้แล้วเราโคตรเชื่อสิ่งที่เค้าพูดเลย ชอบทุกจังหวะที่ตัวละครคู่รักเกย์คู่นี้พูดสื่อสารกันด้วย มันมีรายละเอียดแบบที่คนที่คบกันมานานๆ เท่านั้นจะเข้าใจ ทั้งมุมหวาน มุมหวีดกรีดร้อง มุมงอน มุมโกรธขึ้ง ไปจนถึงพาร์ตท้ายๆ ของหนังก็ดีงามมากๆ แต่ที่สุดของที่สุดคือ เราชอบตัวละคร Paul ของ Paul Rudd มาก นอกจากลุคที่แดดดี้มาก น่ากินมากแล้ว ความมีมิติของตัวละครยังน่าสนใจสุดๆ
คิดว่าคนที่น่าจะชอบ Ideal Home แบบสุดๆ น่าจะต้องเป็นคนที่ผ่านอะไรในชีวิตมาแล้วพอสมควร เคยมีความสัมพันธ์ระยะยาวมาแล้ว รวมถึงเคยวาดภาพครอบครัว LGBTQ ในนิยามใหม่ๆ ด้วย
Ideal Home เข้าฉายในโรงภาพยนตร์บ้านเราแล้ววันนี้
ในขณะที่พล็อตมันโคตรจะเป็นสูตรสำเร็จ Andrew Fleming ผู้กำกับ/ควบตำแหน่งเขียนบท ก็หาทางใส่รายละเอียดต่างๆ ให้ Ideal Home มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งคาแร็คเตอร์ของตัวละคร บรรยากาศอันมีเมืองซานตาเฟ ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นฉากหลัง มุกตลกร้ายหน้าตาย และการบอกเล่าถึงความสัมพันธ์ของเกย์วัยกลางคนได้อย่างจริงใจ (ขอใส่หมายเหตุไว้ตรงนี้ด้วยว่า เรารักงานของ Andrew Fleming ในยุค 90 มาก ทั้ง The Craft สี่แหววพลังแม่มด ที่เพิ่งถูกนำกลับมาสร้างต่อกึ่งรีเมกใหม่ และ Dick หนังตลกร้ายอิงคดีของ Richard Nixon ที่มี Kirsten Dunst กับ Michelle Williams แสดงนำ)
Erasmus เป็นเจ้าของรายการทำอาหารชื่อดัง ที่แม้หน้าฉากจะสวยหรูแค่ไหน แต่หลังฉากเค้าก็เป็นแค่เกย์แก่อารมณ์แปรปรวนและยากจะรับมือ แน่นอน คนที่เหนื่อยใจและกายมากที่สุดก็คือ Paul คนรักของเค้าที่ดูแลทุกอย่างทั้งงานนอกบ้านและในบ้านมานานนับ 10 ปี แล้วจู่ๆ ก็มีเด็กชายวัย 10 ขวบโผล่มาในฐานะหลานชายของ Erasmus ซึ่งภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดูเค้าก็ตกอยู่ที่คู่เกย์ที่เถียงกันได้ทุกเรื่องคู่นี้ เพราะพ่อของเจ้าหนูนั้นถูกจับเข้าคุกไปแล้ว ถึงตรงนี้ เราก็พอจะเดาเรื่องที่เหลือต่อไปจนจบได้แล้วใช่ไหม แต่ก็นั่นแหละ Ideal Home มีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราจดจ่ออยู่กับเรื่องตรงหน้าได้โดยไม่เบื่อ หรือยี๊กับมุกเดิมๆ แบบต้องกลั้นใจตายไปก่อนเรื่องจบ
ชอบมากที่มันไม่ได้พยายามเล่นตามสูตรว่า สุดท้ายแล้วเด็กน้อยนิสัยกักขฬะก็เปลี่ยนจากหลังมือเป็นหน้ามือ หรือสองเกย์แก่ก็ไม่ได้เป็นผู้ปกครองแสนวิเศษที่ปราศจากจุดบกพร่อง พวกเค้ายังคงเป็นมนุษย์ธรรมดาๆ ที่เต็มไปด้วยข้อเสีย เจ้าหนูก็ยังเป็นเด็กโดดเดี่ยว เก็บตัว กำแพงสูง และมีนิสัยแย่ๆ ติดตัวอยู่ แล้วประเด็นสำคัญของ Ideal Home ก็ไม่ได้โฟกัสเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเด็กน้อยกับผู้ปกครองเกย์สักเท่าไหร่ด้วย แต่เค้าหยิบเอาเรื่องนี้มาขยายประเด็นความสัมพันธ์ของคนรักที่อยู่ด้วยกันมานาน การยอมรับในข้อเสีย เรื่องผิดพลาด การเสียสละในการก้าวหน้าของชีวิตและความสัมพันธ์ต่างหาก
ชอบประโยคที่ Erasmus ตัวละครของ Steve Coogan พูดกับหลานชายตัวแสบในเรื่องมากๆ เมื่อหลานกังวลว่า เค้าอาจจะไม่ได้อยู่กับคุณตาทั้งสองตลอดไป Erasmus ก็จับไหล่ทั้งสองข้างของหลานชายแล้วบอก (ประมาณว่า) “ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ มันเป็นเรื่องชั่วคราว (Temporary) ทั้งนั้นแหละ” ไม่มีอะไรคงอยู่ถาวร ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น คือพอมันออกมาจากปากตัวละครตัวนี้แล้วเราโคตรเชื่อสิ่งที่เค้าพูดเลย ชอบทุกจังหวะที่ตัวละครคู่รักเกย์คู่นี้พูดสื่อสารกันด้วย มันมีรายละเอียดแบบที่คนที่คบกันมานานๆ เท่านั้นจะเข้าใจ ทั้งมุมหวาน มุมหวีดกรีดร้อง มุมงอน มุมโกรธขึ้ง ไปจนถึงพาร์ตท้ายๆ ของหนังก็ดีงามมากๆ แต่ที่สุดของที่สุดคือ เราชอบตัวละคร Paul ของ Paul Rudd มาก นอกจากลุคที่แดดดี้มาก น่ากินมากแล้ว ความมีมิติของตัวละครยังน่าสนใจสุดๆ
คิดว่าคนที่น่าจะชอบ Ideal Home แบบสุดๆ น่าจะต้องเป็นคนที่ผ่านอะไรในชีวิตมาแล้วพอสมควร เคยมีความสัมพันธ์ระยะยาวมาแล้ว รวมถึงเคยวาดภาพครอบครัว LGBTQ ในนิยามใหม่ๆ ด้วย
Ideal Home เข้าฉายในโรงภาพยนตร์บ้านเราแล้ววันนี้