- @TOM NEWS
- Feb 2022
Blue Period อะนิเมะศิลปะกับตัวละคร LGBTQ+ ที่เรารัก
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
Blue Period สร้างจากมังงะชื่อเดียวกันของยามากุจิ ซึบาสะ เล่าเรื่องราวของ “ยากุจิ ยาโทระ” เด็กนักเรียน ม. ปลาย ที่เพิ่งค้นพบว่าตัวเองตกหลุมรักการวาดภาพสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าให้แล้ว และจากการสมัครเข้าชมรมศิลปะในโรงเรียน เค้าก็ตัดสินใจมุ่งมั่นฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก เพื่อเป้าหมายเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปะชื่อดังให้ได้
เสน่ห์ประการแรกของ Blue Period ก็คือ ตัวละครหลักอย่าง “ยาโทระ” นั้นงดงามมากจริงๆ การเป็นมนุษย์ที่มีความซับซ้อนหลายเลเยอร์และซื่อตรงกับตัวเองนั้นมันต่อติดกับเราได้ง่ายมาก เค้าเป็นเด็กหัวดี เรียนเก่ง แม้จะอยู่ในแก๊งเพื่อนเกเร แต่นั่นเป็นเพราะเค้าพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดตามมาตรฐานต่างหาก เช่นเดียวกัน การสวมหน้ากากเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี ก็เป็นเพียงเพื่อหลบซ่อนตัวตนอีกด้านของตัวเองเอาไว้ พร้อมกับเพื่อทำให้ทุกคนรอบตัวสบายใจ นั่นเพราะยาโทระคิดถึงคนอื่นเสมอ (มีไดอะล็อกที่บอกด้วยซ้ำว่า เขาอ่านบรรยากาศรอบตัว และผู้คนรอบตัวได้เสมอ) แล้วยิ่งเมื่อยาโทระค้นพบโลกของศิลปะ ความมุ่งมั่นพยายามและฝึกฝนจะสู้กับพวกมีพรสวรรค์ได้ไหมนะ นั่นคือสิ่งที่เราเอาใจช่วยเค้าตลอด 12 EP
เชื่อว่าคนดูส่วนใหญ่จะสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเข้าคลาสเรียนรู้ศิลปะไปพร้อมกับตัวละครมาก และต่อให้เราไม่ใช่คนสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่เราก็สามารถสนุกกับการเป็นผู้ดูงานศิลปะในอะนิเมะนี้ได้เช่นกัน ชอบมากๆ ด้วยที่มันนำเสนอขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน ทั้งแบบเป็นขั้นเป็นตอน คิดธีม วางรูปแบบ วาดลงสมุดสเก็ต แล้วค่อยลงมือ แต่ก็ไม่แปลก ถ้าจะทำงานไปคิดไป แล้วค่อยมาจัดการกับสมุดสเก็ต โดยไม่ตีค่าด้วยว่าวิธีหลังคือสิ่งที่ผิดบาป
มีหลายตอนมากที่กระทบใจเราจนน้ำตาคลอ แน่นอน พาร์ตการดิ้นรนและอึดอัดสับสนของตัวละคร “ริวจิ” เด็กหนุ่มหน้าสวยที่แต่งตัวเป็นผู้หญิงตลอดเวลานั้นน่าจะโดนใจชาว LGBTQ+ ทุกคน ทั้งความกร้าวแกร่งในการเป็นตัวของตัวเอง การปะทะกับครอบครัว และการเลือกเส้นทางเพื่อความฝัน แต่เราชอบซีนเล็กๆ เมื่อริวจินัดเดตกับชายหนุ่มคนหนึ่ง ก่อนที่จะถูกปฏิเสธเพราะเค้าไม่รู้มาก่อนว่า เธอเป็นเด็กผู้ชาย ไม่ใช่เด็กผู้หญิงอย่างรูปลักษณ์ภายนอก มันทำให้เราคิดถึงรุ่นพี่สมัยเรียนคนหนึ่ง ที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเดิมซ้ำๆ และการต้องคอย Come Out บอกกับคนที่เดตด้วยซ้ำๆ ว่า “ฉันไม่ใช่ผู้หญิง” มันก็เหมือนถูกทำร้ายให้เจ็บซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
ซีนที่ยาโทโระวาดภาพแม่ของตัวเอง แล้วบอกว่า เค้าได้รู้ว่าแม่เหนื่อยกับการดูแลบ้ายและครอบครัวมากแค่ไหนจากการวาดรูปนี้ก็ดีมากๆ, ซีนวาดภาพเปลือยระหว่างยาโทโระกับริวจิ ก่อนจะลากไปสู่ซีนวาดภาพเปลือยในไคลแม็กซ์ก็ดี และของยกให้ทุกซีนที่คุณครูสอนศิลปะที่โรงเรียน และคุณครูสอนศิลปะที่โรงเรียนติวพูดกับยาโทโระ คือรวมฮิตพลังบันดาลใจที่ส่งมาถึงเราได้ทุก EP
สามารถรับชม Blue Period ได้ทาง Netflix
Blue Period สร้างจากมังงะชื่อเดียวกันของยามากุจิ ซึบาสะ เล่าเรื่องราวของ “ยากุจิ ยาโทระ” เด็กนักเรียน ม. ปลาย ที่เพิ่งค้นพบว่าตัวเองตกหลุมรักการวาดภาพสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าให้แล้ว และจากการสมัครเข้าชมรมศิลปะในโรงเรียน เค้าก็ตัดสินใจมุ่งมั่นฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก เพื่อเป้าหมายเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปะชื่อดังให้ได้
เสน่ห์ประการแรกของ Blue Period ก็คือ ตัวละครหลักอย่าง “ยาโทระ” นั้นงดงามมากจริงๆ การเป็นมนุษย์ที่มีความซับซ้อนหลายเลเยอร์และซื่อตรงกับตัวเองนั้นมันต่อติดกับเราได้ง่ายมาก เค้าเป็นเด็กหัวดี เรียนเก่ง แม้จะอยู่ในแก๊งเพื่อนเกเร แต่นั่นเป็นเพราะเค้าพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดตามมาตรฐานต่างหาก เช่นเดียวกัน การสวมหน้ากากเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี ก็เป็นเพียงเพื่อหลบซ่อนตัวตนอีกด้านของตัวเองเอาไว้ พร้อมกับเพื่อทำให้ทุกคนรอบตัวสบายใจ นั่นเพราะยาโทระคิดถึงคนอื่นเสมอ (มีไดอะล็อกที่บอกด้วยซ้ำว่า เขาอ่านบรรยากาศรอบตัว และผู้คนรอบตัวได้เสมอ) แล้วยิ่งเมื่อยาโทระค้นพบโลกของศิลปะ ความมุ่งมั่นพยายามและฝึกฝนจะสู้กับพวกมีพรสวรรค์ได้ไหมนะ นั่นคือสิ่งที่เราเอาใจช่วยเค้าตลอด 12 EP
เชื่อว่าคนดูส่วนใหญ่จะสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเข้าคลาสเรียนรู้ศิลปะไปพร้อมกับตัวละครมาก และต่อให้เราไม่ใช่คนสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่เราก็สามารถสนุกกับการเป็นผู้ดูงานศิลปะในอะนิเมะนี้ได้เช่นกัน ชอบมากๆ ด้วยที่มันนำเสนอขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน ทั้งแบบเป็นขั้นเป็นตอน คิดธีม วางรูปแบบ วาดลงสมุดสเก็ต แล้วค่อยลงมือ แต่ก็ไม่แปลก ถ้าจะทำงานไปคิดไป แล้วค่อยมาจัดการกับสมุดสเก็ต โดยไม่ตีค่าด้วยว่าวิธีหลังคือสิ่งที่ผิดบาป
มีหลายตอนมากที่กระทบใจเราจนน้ำตาคลอ แน่นอน พาร์ตการดิ้นรนและอึดอัดสับสนของตัวละคร “ริวจิ” เด็กหนุ่มหน้าสวยที่แต่งตัวเป็นผู้หญิงตลอดเวลานั้นน่าจะโดนใจชาว LGBTQ+ ทุกคน ทั้งความกร้าวแกร่งในการเป็นตัวของตัวเอง การปะทะกับครอบครัว และการเลือกเส้นทางเพื่อความฝัน แต่เราชอบซีนเล็กๆ เมื่อริวจินัดเดตกับชายหนุ่มคนหนึ่ง ก่อนที่จะถูกปฏิเสธเพราะเค้าไม่รู้มาก่อนว่า เธอเป็นเด็กผู้ชาย ไม่ใช่เด็กผู้หญิงอย่างรูปลักษณ์ภายนอก มันทำให้เราคิดถึงรุ่นพี่สมัยเรียนคนหนึ่ง ที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเดิมซ้ำๆ และการต้องคอย Come Out บอกกับคนที่เดตด้วยซ้ำๆ ว่า “ฉันไม่ใช่ผู้หญิง” มันก็เหมือนถูกทำร้ายให้เจ็บซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
ซีนที่ยาโทโระวาดภาพแม่ของตัวเอง แล้วบอกว่า เค้าได้รู้ว่าแม่เหนื่อยกับการดูแลบ้ายและครอบครัวมากแค่ไหนจากการวาดรูปนี้ก็ดีมากๆ, ซีนวาดภาพเปลือยระหว่างยาโทโระกับริวจิ ก่อนจะลากไปสู่ซีนวาดภาพเปลือยในไคลแม็กซ์ก็ดี และของยกให้ทุกซีนที่คุณครูสอนศิลปะที่โรงเรียน และคุณครูสอนศิลปะที่โรงเรียนติวพูดกับยาโทโระ คือรวมฮิตพลังบันดาลใจที่ส่งมาถึงเราได้ทุก EP
สามารถรับชม Blue Period ได้ทาง Netflix