- @TOM NEWS
- Jun 2023
Spider-Man: Across the Spider-Verse กับการสะท้อนตัวตน LGBTQ+
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
หากลืมไปแล้ว ก็ต้องเตือนกันสักนิดว่า Spider-Man: Into the Spider-Verse ภาคแรกของแอนิเมชั่นชุดนี้เล่นกับ “มัลติเวิร์ส” ก่อน Everything Everywhere All at Once และก่อน Spider-Man: No Way Home เสียอีก และหากคิดว่าภาคต่ออย่าง Spider-Man: Across the Spider-Verse จะย่ำอยู่กับที่ ก็ต้องคิดใหม่ เพราะมันทะเยอทะยานยิ่งกว่าเดิม ไม่ใช่แค่เรื่องการใส่ประเด็นมัลติเวิร์สมาแบบผิวๆ แต่มันทำให้เราต้องมองโลกแต่ละใบใหม่หมด โลกแต่ละใบมันทับซ้อนยุ่งเกี่ยวกันได้ไหม ชีวิตที่ถูกลิขิตชะตากรรมไว้แล้วมันคือสิ่งที่ถูกต้องจริงไหม การบิดหรือปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไรบางอย่างในโลกอีกใบมันทำให้เกิดหายนะจริงหรือเปล่า แล้วใครกันแน่ที่เป็นฮีโร่
1 ปีหลังจากภาคที่แล้ว Miles Morales เด็กหนุ่มผู้ต้องแบกความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในฐานะ Spider-Man ยังคงต้องพยายามใช้ชีวิตแบบโลกสองใบอย่างยุ่งวุ่นวายแบบสุด เค้ายังคงเก็บความลับว่าตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่ไว้กับตัว โดยไม่บอกพ่อแม่ และคิดถึงเพื่อนๆ จากโลกอีกใบอยู่เสมอ โดยเฉพาะ Gwen Stacy เด็กสาวผู้สวมชุดฮีโร่เช่นเดียวกับเค้า แต่แล้วการปรากฏตัวของ Spot วายร้ายที่ดูไม่ได้มีพิษมีภัยสักเท่าไหร่ กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เค้าต้องเผชิญหน้ากับภัยอันตรายที่อาจทำลายทุกสิ่งอย่างในชีวิต ไปจนถึงทำให้โลกในจักรวาลอื่นๆ ย่อยยับไปด้วย
มีหลายช่วงหลายตอนมากที่เราถูกเร่งสปีดตามการเคลื่อนไหวของตัวละครและเรื่องราวจนรู้สึกเหมือนถูกผลักให้พุ่งทะยานไปข้างหน้า กลิ้งหลุนๆ ล่องลอยไปมา จนมึนงงไปหมด แต่จริงๆ แล้วมันก็มีอีกหลายช่วงมากที่ตัวละครอยู่นิ่งๆ ด้วยความหงอยเหงา โดดเดี่ยว เคว้งคว้าง แน่นอน ในฐานะผู้ชมที่เป็นเกย์ เราอดคิดไม่ได้ว่า ความพยายามปกปิดและลังเลใจที่จะเปิดเผยตัวตนของ Miles Morales และ Gwen Stacy กับพ่อแม่ มันช่างเหมือนกับการตัดสินใจเปิดเผยตัวตน หรือ Come Out ของชาว LGBTQ+ จริงๆ แล้วไหนจะการตัดสินใจเดินออกจากครอบครัวของตัวเอง แล้วมาสร้างครอบครัวใหม่แบบ Chosen Family ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาว LGBTQ+ หลายคนเคยผ่านมันมาก่อน มันก็ยิ่งทำให้เราเอาตัวเองไปทาบทับกับตัวละครทั้งคู่อย่างช่วยไม่ได้ ถึงจะยังมีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่า สรุปแล้วผู้สร้างตั้งใจสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับคนข้ามเพศไปในตัวละคร Gwen Stacy หรือไม่ ก็ไม่เป็นไรหรอก
แน่นอน การพูดถึงความสำคัญของครอบครัว ความเข้าอกเข้าใจ เปิดกว้าง โอบรับลูกๆ ของตัวเอง ไม่ว่าพวกเค้าจะเป็นอะไร ทำอะไร หรือตัดสินใจเช่นไร มันก็กลายเป็นกระจกสะท้อนไปยังพ่อแม่ที่มีลูกๆ เป็นชาว LGBTQ+ ตามไปด้วย แล้วก็กลายเป็นพาร์ตครอบครัวนี่แหละ ที่ทำให้เราน้ำตาซึมอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่ใครหลายคนตื่นเต้นกับการได้เห็น Spider-Man หลากหลายเวอร์ชั่นที่โผล่กันมาแบบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะไคลแม็กซ์ช่วงท้ายเรื่อง เรากลับสนอกสนใจตัวละครวายร้ายอย่าง Spot จากตัวละครโจรกระจอกที่ถูกใครๆ หัวเราะเยาะใส่ (รวมถึงตัว Spider-Man ก็ให้ค่า Spot น้อยนิด) สู่การระเบิดความโกรธแค้นกลายเป็นตัวละครสุดอันตราย แล้วมันทำให้เราเชื่อได้จริงๆ ว่า Spot สามารถทำลายล้างทุกอย่างได้ มันน่าทึ่งดีจริงๆ
เอาล่ะ ก็ต้องตั้งตารอ Spider-Man: Beyond the Spider-Verse ซึ่งจะเป็นภาคจบของไตรภาคชุดนี้ ซึ่งเราหวังเหลือเกินว่า มันจะก้าวไปอีกขั้นที่เหนือกว่าได้อย่างงดงาม #คาดหวังแล้วนะ
หากลืมไปแล้ว ก็ต้องเตือนกันสักนิดว่า Spider-Man: Into the Spider-Verse ภาคแรกของแอนิเมชั่นชุดนี้เล่นกับ “มัลติเวิร์ส” ก่อน Everything Everywhere All at Once และก่อน Spider-Man: No Way Home เสียอีก และหากคิดว่าภาคต่ออย่าง Spider-Man: Across the Spider-Verse จะย่ำอยู่กับที่ ก็ต้องคิดใหม่ เพราะมันทะเยอทะยานยิ่งกว่าเดิม ไม่ใช่แค่เรื่องการใส่ประเด็นมัลติเวิร์สมาแบบผิวๆ แต่มันทำให้เราต้องมองโลกแต่ละใบใหม่หมด โลกแต่ละใบมันทับซ้อนยุ่งเกี่ยวกันได้ไหม ชีวิตที่ถูกลิขิตชะตากรรมไว้แล้วมันคือสิ่งที่ถูกต้องจริงไหม การบิดหรือปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไรบางอย่างในโลกอีกใบมันทำให้เกิดหายนะจริงหรือเปล่า แล้วใครกันแน่ที่เป็นฮีโร่
1 ปีหลังจากภาคที่แล้ว Miles Morales เด็กหนุ่มผู้ต้องแบกความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในฐานะ Spider-Man ยังคงต้องพยายามใช้ชีวิตแบบโลกสองใบอย่างยุ่งวุ่นวายแบบสุด เค้ายังคงเก็บความลับว่าตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่ไว้กับตัว โดยไม่บอกพ่อแม่ และคิดถึงเพื่อนๆ จากโลกอีกใบอยู่เสมอ โดยเฉพาะ Gwen Stacy เด็กสาวผู้สวมชุดฮีโร่เช่นเดียวกับเค้า แต่แล้วการปรากฏตัวของ Spot วายร้ายที่ดูไม่ได้มีพิษมีภัยสักเท่าไหร่ กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เค้าต้องเผชิญหน้ากับภัยอันตรายที่อาจทำลายทุกสิ่งอย่างในชีวิต ไปจนถึงทำให้โลกในจักรวาลอื่นๆ ย่อยยับไปด้วย
มีหลายช่วงหลายตอนมากที่เราถูกเร่งสปีดตามการเคลื่อนไหวของตัวละครและเรื่องราวจนรู้สึกเหมือนถูกผลักให้พุ่งทะยานไปข้างหน้า กลิ้งหลุนๆ ล่องลอยไปมา จนมึนงงไปหมด แต่จริงๆ แล้วมันก็มีอีกหลายช่วงมากที่ตัวละครอยู่นิ่งๆ ด้วยความหงอยเหงา โดดเดี่ยว เคว้งคว้าง แน่นอน ในฐานะผู้ชมที่เป็นเกย์ เราอดคิดไม่ได้ว่า ความพยายามปกปิดและลังเลใจที่จะเปิดเผยตัวตนของ Miles Morales และ Gwen Stacy กับพ่อแม่ มันช่างเหมือนกับการตัดสินใจเปิดเผยตัวตน หรือ Come Out ของชาว LGBTQ+ จริงๆ แล้วไหนจะการตัดสินใจเดินออกจากครอบครัวของตัวเอง แล้วมาสร้างครอบครัวใหม่แบบ Chosen Family ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาว LGBTQ+ หลายคนเคยผ่านมันมาก่อน มันก็ยิ่งทำให้เราเอาตัวเองไปทาบทับกับตัวละครทั้งคู่อย่างช่วยไม่ได้ ถึงจะยังมีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่า สรุปแล้วผู้สร้างตั้งใจสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับคนข้ามเพศไปในตัวละคร Gwen Stacy หรือไม่ ก็ไม่เป็นไรหรอก
แน่นอน การพูดถึงความสำคัญของครอบครัว ความเข้าอกเข้าใจ เปิดกว้าง โอบรับลูกๆ ของตัวเอง ไม่ว่าพวกเค้าจะเป็นอะไร ทำอะไร หรือตัดสินใจเช่นไร มันก็กลายเป็นกระจกสะท้อนไปยังพ่อแม่ที่มีลูกๆ เป็นชาว LGBTQ+ ตามไปด้วย แล้วก็กลายเป็นพาร์ตครอบครัวนี่แหละ ที่ทำให้เราน้ำตาซึมอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่ใครหลายคนตื่นเต้นกับการได้เห็น Spider-Man หลากหลายเวอร์ชั่นที่โผล่กันมาแบบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะไคลแม็กซ์ช่วงท้ายเรื่อง เรากลับสนอกสนใจตัวละครวายร้ายอย่าง Spot จากตัวละครโจรกระจอกที่ถูกใครๆ หัวเราะเยาะใส่ (รวมถึงตัว Spider-Man ก็ให้ค่า Spot น้อยนิด) สู่การระเบิดความโกรธแค้นกลายเป็นตัวละครสุดอันตราย แล้วมันทำให้เราเชื่อได้จริงๆ ว่า Spot สามารถทำลายล้างทุกอย่างได้ มันน่าทึ่งดีจริงๆ
เอาล่ะ ก็ต้องตั้งตารอ Spider-Man: Beyond the Spider-Verse ซึ่งจะเป็นภาคจบของไตรภาคชุดนี้ ซึ่งเราหวังเหลือเกินว่า มันจะก้าวไปอีกขั้นที่เหนือกว่าได้อย่างงดงาม #คาดหวังแล้วนะ