- @TOM NEWS
- Aug 2021
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ เสี่ยงติดเชื้อ HCV ร่วม
By : Ruta
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยข้อมูลโอกาสและแนวโน้มของการติดเชื้อร่วมของไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) และไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งในปัจจุบัน พบมากกว่า 90% มาจากกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยไม่ป้องกัน และกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยมีการใช้ยา PrEP ซึ่งเป็นยาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น HCV พร้อมระบุ 3 ปัจจัย ก่อให้เกิดการติดเชื้อร่วมระหว่าง 2 ไวรัสดังกล่าวในผู้ป่วย ดังนี้ 1. การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 2. การใช้ยาเสพติดแบบฉีดหรือแบบสูดดมโดยเฉพาะยาไอซ์และโคเคน 3. มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส
พญ.อัญชลี อวิหิงสานนท์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ไวรัสตับอักเสบซี และ HIV มีช่องทางการติดต่อเช่นเดียวกัน เราจึงพบว่าในคนไข้ HIV มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูง คือในกลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติดแบบฉีด และในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะหากมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันและมีการใช้ยาไอซ์ทั้งแบบสูดดมและแบบฉีดจะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HCV สูงมากขึ้น ดังนั้นจึงถือว่าโรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men having sex with men : MSM)
ปัจจุบันใน กทม. ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่มากกว่า 90% จะเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและอายุน้อย ทำให้มีโอกาสพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มนี้ และอีกกลุ่มที่มีโอกาสติดเชื้อ HCV เพิ่มขึ้น ก็คือกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีและมีการใช้ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF)/emtricitabine (FTC) เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสหรือที่เรียกว่า PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เนื่องจากยา PrEPเป็นยาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบซี ได้ ดังนั้นในคนกลุ่มนี้ถ้ามีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันก็จะพบการติดเชื้อซิฟิลิสและไวรัสตับอักเสบซีสูงขึ้นได้ โดยปัจจุบัน MSM ที่มีอายุ 20 – 30 ปี พบภาวการณ์ติดเชื้อHCV แบบเฉียบพลัน (acute HCV) มากขึ้น
ทั้งนี้ ในคนที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV จะทำให้การแบ่งตัวของไวรัส HCV สูงขึ้น 8 – 20 เท่า เทียบกับการแบ่งตัวในผู้ติดเชื้อ HCV อย่างเดียว และพบปริมาณไวรัส HCV ในน้ำอสุจิหรือน้ำหล่อลื่นในผู้ติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV สูงถึง 40% ในขณะที่พบเพียง 20% ในผู้ที่ติดเชื้อ HCV เพียงอย่างเดียว (37.8% vs 18.4%) จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมกลุ่มที่ติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV จะมีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ HCV ทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งโดยปกติการกระจายเชื้อทางเพศสัมพันธ์พบได้น้อยมากถ้าผู้ติดเชื้อมี HCV อย่างเดียว
พญ.อัญชลี กล่าวเสริมว่า กลุ่มคนที่ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อ HIV และ HCV มีดังนี้ 1. กลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติดแบบฉีดและแบบสูดดม 2. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ (Transgender) 3. กลุ่มที่มีการติดเชื้อ HIV แต่ตรวจพบการติดเชื้อซิฟิลิส รวมทั้งมีค่าเอ็นไซม์ตับสูงขึ้น และ 4. กลุ่มอื่นๆ ที่ควรตรวจ เช่น กลุ่มคนที่มีประวัติการรับเลือดมาก่อนปี พ.ศ.2535 กลุ่มผู้ต้องขัง เนื่องจากมีการตรวจพบการติดเชื้อ HCV ในผู้ต้องขัง สูงถึง 3 – 7% กลุ่มคนเก็บขยะเพราะอาจถูกเข็มหรือของมีคมตำ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ก็ควรตรวจการติดเชื้อ HCV เช่นเดียวกัน
โดยเมื่อติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง ควรควบคุมพฤติกรรมที่ทำให้เกิดเยื่อพังผืดที่ตับมากขึ้น คือ งดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือในกลุ่มคนที่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ก็ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำ และป้องกันพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการติดเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกัน ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และไม่ควรมีคู่นอนหลายคน รวมทั้งหากเป็นผู้ป่วยเอชไอวี ให้กินยาต้าน HIV สม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของตนเองและคู่นอนเป็นประจำ
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยข้อมูลโอกาสและแนวโน้มของการติดเชื้อร่วมของไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) และไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งในปัจจุบัน พบมากกว่า 90% มาจากกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยไม่ป้องกัน และกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยมีการใช้ยา PrEP ซึ่งเป็นยาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น HCV พร้อมระบุ 3 ปัจจัย ก่อให้เกิดการติดเชื้อร่วมระหว่าง 2 ไวรัสดังกล่าวในผู้ป่วย ดังนี้ 1. การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 2. การใช้ยาเสพติดแบบฉีดหรือแบบสูดดมโดยเฉพาะยาไอซ์และโคเคน 3. มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส
พญ.อัญชลี อวิหิงสานนท์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ไวรัสตับอักเสบซี และ HIV มีช่องทางการติดต่อเช่นเดียวกัน เราจึงพบว่าในคนไข้ HIV มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูง คือในกลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติดแบบฉีด และในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะหากมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันและมีการใช้ยาไอซ์ทั้งแบบสูดดมและแบบฉีดจะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HCV สูงมากขึ้น ดังนั้นจึงถือว่าโรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men having sex with men : MSM)
ปัจจุบันใน กทม. ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่มากกว่า 90% จะเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและอายุน้อย ทำให้มีโอกาสพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มนี้ และอีกกลุ่มที่มีโอกาสติดเชื้อ HCV เพิ่มขึ้น ก็คือกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีและมีการใช้ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF)/emtricitabine (FTC) เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสหรือที่เรียกว่า PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เนื่องจากยา PrEPเป็นยาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบซี ได้ ดังนั้นในคนกลุ่มนี้ถ้ามีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันก็จะพบการติดเชื้อซิฟิลิสและไวรัสตับอักเสบซีสูงขึ้นได้ โดยปัจจุบัน MSM ที่มีอายุ 20 – 30 ปี พบภาวการณ์ติดเชื้อHCV แบบเฉียบพลัน (acute HCV) มากขึ้น
ทั้งนี้ ในคนที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV จะทำให้การแบ่งตัวของไวรัส HCV สูงขึ้น 8 – 20 เท่า เทียบกับการแบ่งตัวในผู้ติดเชื้อ HCV อย่างเดียว และพบปริมาณไวรัส HCV ในน้ำอสุจิหรือน้ำหล่อลื่นในผู้ติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV สูงถึง 40% ในขณะที่พบเพียง 20% ในผู้ที่ติดเชื้อ HCV เพียงอย่างเดียว (37.8% vs 18.4%) จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมกลุ่มที่ติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV จะมีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ HCV ทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งโดยปกติการกระจายเชื้อทางเพศสัมพันธ์พบได้น้อยมากถ้าผู้ติดเชื้อมี HCV อย่างเดียว
พญ.อัญชลี กล่าวเสริมว่า กลุ่มคนที่ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อ HIV และ HCV มีดังนี้ 1. กลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติดแบบฉีดและแบบสูดดม 2. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ (Transgender) 3. กลุ่มที่มีการติดเชื้อ HIV แต่ตรวจพบการติดเชื้อซิฟิลิส รวมทั้งมีค่าเอ็นไซม์ตับสูงขึ้น และ 4. กลุ่มอื่นๆ ที่ควรตรวจ เช่น กลุ่มคนที่มีประวัติการรับเลือดมาก่อนปี พ.ศ.2535 กลุ่มผู้ต้องขัง เนื่องจากมีการตรวจพบการติดเชื้อ HCV ในผู้ต้องขัง สูงถึง 3 – 7% กลุ่มคนเก็บขยะเพราะอาจถูกเข็มหรือของมีคมตำ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ก็ควรตรวจการติดเชื้อ HCV เช่นเดียวกัน
โดยเมื่อติดเชื้อ HIV ร่วมกับ HCV แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง ควรควบคุมพฤติกรรมที่ทำให้เกิดเยื่อพังผืดที่ตับมากขึ้น คือ งดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือในกลุ่มคนที่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ก็ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำ และป้องกันพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการติดเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกัน ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และไม่ควรมีคู่นอนหลายคน รวมทั้งหากเป็นผู้ป่วยเอชไอวี ให้กินยาต้าน HIV สม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของตนเองและคู่นอนเป็นประจำ