- @TOM NEWS
- Nov 2022
Bros ชุลมุนวุ่นรักของเกย์วัย 40
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ในความเป็นหนังโรแมนติกพาฝัน (เจือด้วยกลิ่นคอมเมดี้ตลกหน้าตายแบบหนักๆ) อันว่าด้วยเกย์หนุ่มหล่อหุ่นล่ำมาตกหลุมรักสานสัมพันธ์กับเกย์จิตตก มองโลกในแง่ร้าย และปากร้ายเต็มพิกัด มันกลับดูสมจริงสมจังได้มากขึ้นด้วยรายละเอียดในคาแร็คเตอร์ และอุปสรรคต่างๆ ที่พวกเค้าต้องพบเจอ จนถึงจุดนึง เราก็มองเห็นตัวเอง คนรอบข้าง และความสัมพันธ์ทั้งดีและร้ายที่ผ่านมาในชีวิตของเราเอง ผ่านตัวละครอย่าง Bobby และ Aaron ในหนังเรื่องนี้
ใครจะไปคิดว่าชีวิตของ Bobby เกย์หนุ่มวัย 40 ที่ครองชีวิตเป็นโสดมาตลอด (ไม่นับการนัดเยเย่ผ่านแอพฯ น่ะนะ – ชอบตอนที่เค้าพูดถึงความเหงาอันอบอุ่นหลังจากมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้าผ่านแอพฯ นี้มาก) อยู่ๆ ก็มีเรื่องให้วุ่นวายหัวใจในตอนที่เค้ากำลังง่วนอยู่กับการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ กลางนิวยอร์กพอดิบพอดี แล้วหนุ่มคนนั้นก็ดันเป็นเกย์หล่อล่ำผู้แตกต่างจากเค้าแบบสุดขั้ว จากความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศจุดยืนแต่แรกว่า เราไม่ได้เดตกันนะ และเราต่างก็ไม่ได้อยากมีแฟนด้วยกันทั้งคู่ ไปๆ มาๆ ดูเหมือนหัวใจมันจะหวั่นไหวเกินกว่าเส้นที่ขีดเอาไว้ซะแล้วสิ ความเจ๋งของ Bros คือ มันทำให้เราเชื่อในแรงดึงดูดที่ตัวละครมีต่อกันได้ โดยเฉพาะฝั่ง Aaron ที่มองเห็นเสน่ห์ในตัว Bobby ผ่านสิ่งที่เค้าทำ ความมั่นใจในการแสดงออก และตัวตนที่แตกต่างจากตัวเค้า แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อความสัมพันธ์เดินหน้าไป การที่ Aaron ยังหวั่นไหวไปกับหนุ่มๆ หน้าตาดีหุ่นล่ำแบบตัวเค้าเอง มันก็ทำให้ความสัมพันธ์เดินมาถึงจุดที่เปราะบางมาก แล้วอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่เราคิดว่ามันช่างสมจริงเหลือเกิน
ชอบมากๆ ด้วยที่ Bros สะท้อนไลฟ์สไตล์ของเกย์ยุคนี้ผ่านมุกตลกต่างๆ ทั้งการใช้เดตติ้งแอพฯ การเข้ายิมฟิตหุ่น การใช้สเตียรอยด์เร่งกล้าม ความสัมพันธ์และเซ็กส์ที่เปิดกว้างและลื่นไหลมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงมุกตลกตามสไตล์นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQ+ ที่ทำให้เราหัวเราะน้ำตาไหลทุกครั้งที่มีการประชุมของทีมบริหารพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ โอเค มุกตลกแบบนี้มันไม่แมสหรือเข้าถึงคนทั่วไป หรือแม้แต่ LGBTQ+ ทั่วไปหรอก แต่ในฐานะคนที่อยู่ท่ามกลางนักเคลื่อนไหวต่างๆ มาตลอดหลายปี อะไรแบบนี้นี่ล่ะ ถูกจริตเราเป็นที่สุด แล้วพอตัวละครอย่าง Bobby พูดอะไรที่จริงจังถึงประวัติศาสตร์ LGBTQ+ พื้นที่ของเกย์ที่ถูกปิดกั้นกีดกันมาตลอด หรือแม้แต่ฉากระเบิดอารมณ์ที่ว่าด้วยการถูกขอร้องให้ลดทอนความเป็นตัวของตัวเองลง มันก็ทำให้เราน้ำตาไหลอาบหน้า และเกือบจะปล่อยโฮออกมาเลยด้วยซ้ำ
ไม่ว่า Bros จะประสบความสำเร็จด้านรายได้หรือไม่ หรือจะถูกใจใครมากน้อยแค่ไหน มันคือหนังที่สัมผัสแตะต้องตัวตนของเรามากที่สุดเรื่องหนึ่งในปีนี้ การเป็นเกย์ที่เติบโตมาพร้อมกับกรอบอะไรบางอย่าง แสวงหาการยอมรับและการทำความเข้าใจในตัวตนของตัวเองมาตลอดช่วงชีวิตวัยรุ่น การมีความฝันอยากจะมีพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ ดีๆ ในกรุงเทพฯ การทำงานอยู่ท่ามกลางผู้คนที่สนใจประเด็นความหลากหลายทางเพศ รวมถึงมีโอกาสได้เข้าไปคลุกคลีสร้างสรรค์งานหลายๆ ชิ้น สิ่งที่ Aaron พูดในช่วงท้ายๆ ของหนังถึงเพื่อนๆ ชาว LGBTQ+ รวมถึงประวัติศาสตร์ของชาว LGBTQ+ นั้นงดงามมาก ขณะเดียวกัน ในแง่ความเป็นหนังรอมคอม Bros ก็ทำให้เราเชื่อมั่นในความรักของเกย์ แม้ว่ามันจะไม่มีสูตรสำเร็จ และมีเรื่องให้ทุกคู่ต้องเรียนรู้กันไปตลอดระยะเวลาความสัมพันธ์ก็ตามที คีย์เวิร์ดที่สำคัญก็คือ เราทุกคนต่างคู่ควรที่จะมีความรัก และ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนโลกใบนี้ จะมีใครสักคนที่รักคุณอย่างที่คุณเป็น ไม่ว่าคุณจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีโทนเสียงแบบใด หรือแม้แต่ออกสาวแค่ไหนก็ตาม!
Bros “เพื่อนชาย?” เข้าฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์
ในความเป็นหนังโรแมนติกพาฝัน (เจือด้วยกลิ่นคอมเมดี้ตลกหน้าตายแบบหนักๆ) อันว่าด้วยเกย์หนุ่มหล่อหุ่นล่ำมาตกหลุมรักสานสัมพันธ์กับเกย์จิตตก มองโลกในแง่ร้าย และปากร้ายเต็มพิกัด มันกลับดูสมจริงสมจังได้มากขึ้นด้วยรายละเอียดในคาแร็คเตอร์ และอุปสรรคต่างๆ ที่พวกเค้าต้องพบเจอ จนถึงจุดนึง เราก็มองเห็นตัวเอง คนรอบข้าง และความสัมพันธ์ทั้งดีและร้ายที่ผ่านมาในชีวิตของเราเอง ผ่านตัวละครอย่าง Bobby และ Aaron ในหนังเรื่องนี้
ใครจะไปคิดว่าชีวิตของ Bobby เกย์หนุ่มวัย 40 ที่ครองชีวิตเป็นโสดมาตลอด (ไม่นับการนัดเยเย่ผ่านแอพฯ น่ะนะ – ชอบตอนที่เค้าพูดถึงความเหงาอันอบอุ่นหลังจากมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้าผ่านแอพฯ นี้มาก) อยู่ๆ ก็มีเรื่องให้วุ่นวายหัวใจในตอนที่เค้ากำลังง่วนอยู่กับการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ กลางนิวยอร์กพอดิบพอดี แล้วหนุ่มคนนั้นก็ดันเป็นเกย์หล่อล่ำผู้แตกต่างจากเค้าแบบสุดขั้ว จากความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศจุดยืนแต่แรกว่า เราไม่ได้เดตกันนะ และเราต่างก็ไม่ได้อยากมีแฟนด้วยกันทั้งคู่ ไปๆ มาๆ ดูเหมือนหัวใจมันจะหวั่นไหวเกินกว่าเส้นที่ขีดเอาไว้ซะแล้วสิ ความเจ๋งของ Bros คือ มันทำให้เราเชื่อในแรงดึงดูดที่ตัวละครมีต่อกันได้ โดยเฉพาะฝั่ง Aaron ที่มองเห็นเสน่ห์ในตัว Bobby ผ่านสิ่งที่เค้าทำ ความมั่นใจในการแสดงออก และตัวตนที่แตกต่างจากตัวเค้า แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อความสัมพันธ์เดินหน้าไป การที่ Aaron ยังหวั่นไหวไปกับหนุ่มๆ หน้าตาดีหุ่นล่ำแบบตัวเค้าเอง มันก็ทำให้ความสัมพันธ์เดินมาถึงจุดที่เปราะบางมาก แล้วอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่เราคิดว่ามันช่างสมจริงเหลือเกิน
ชอบมากๆ ด้วยที่ Bros สะท้อนไลฟ์สไตล์ของเกย์ยุคนี้ผ่านมุกตลกต่างๆ ทั้งการใช้เดตติ้งแอพฯ การเข้ายิมฟิตหุ่น การใช้สเตียรอยด์เร่งกล้าม ความสัมพันธ์และเซ็กส์ที่เปิดกว้างและลื่นไหลมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงมุกตลกตามสไตล์นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQ+ ที่ทำให้เราหัวเราะน้ำตาไหลทุกครั้งที่มีการประชุมของทีมบริหารพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ โอเค มุกตลกแบบนี้มันไม่แมสหรือเข้าถึงคนทั่วไป หรือแม้แต่ LGBTQ+ ทั่วไปหรอก แต่ในฐานะคนที่อยู่ท่ามกลางนักเคลื่อนไหวต่างๆ มาตลอดหลายปี อะไรแบบนี้นี่ล่ะ ถูกจริตเราเป็นที่สุด แล้วพอตัวละครอย่าง Bobby พูดอะไรที่จริงจังถึงประวัติศาสตร์ LGBTQ+ พื้นที่ของเกย์ที่ถูกปิดกั้นกีดกันมาตลอด หรือแม้แต่ฉากระเบิดอารมณ์ที่ว่าด้วยการถูกขอร้องให้ลดทอนความเป็นตัวของตัวเองลง มันก็ทำให้เราน้ำตาไหลอาบหน้า และเกือบจะปล่อยโฮออกมาเลยด้วยซ้ำ
ไม่ว่า Bros จะประสบความสำเร็จด้านรายได้หรือไม่ หรือจะถูกใจใครมากน้อยแค่ไหน มันคือหนังที่สัมผัสแตะต้องตัวตนของเรามากที่สุดเรื่องหนึ่งในปีนี้ การเป็นเกย์ที่เติบโตมาพร้อมกับกรอบอะไรบางอย่าง แสวงหาการยอมรับและการทำความเข้าใจในตัวตนของตัวเองมาตลอดช่วงชีวิตวัยรุ่น การมีความฝันอยากจะมีพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ ดีๆ ในกรุงเทพฯ การทำงานอยู่ท่ามกลางผู้คนที่สนใจประเด็นความหลากหลายทางเพศ รวมถึงมีโอกาสได้เข้าไปคลุกคลีสร้างสรรค์งานหลายๆ ชิ้น สิ่งที่ Aaron พูดในช่วงท้ายๆ ของหนังถึงเพื่อนๆ ชาว LGBTQ+ รวมถึงประวัติศาสตร์ของชาว LGBTQ+ นั้นงดงามมาก ขณะเดียวกัน ในแง่ความเป็นหนังรอมคอม Bros ก็ทำให้เราเชื่อมั่นในความรักของเกย์ แม้ว่ามันจะไม่มีสูตรสำเร็จ และมีเรื่องให้ทุกคู่ต้องเรียนรู้กันไปตลอดระยะเวลาความสัมพันธ์ก็ตามที คีย์เวิร์ดที่สำคัญก็คือ เราทุกคนต่างคู่ควรที่จะมีความรัก และ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนโลกใบนี้ จะมีใครสักคนที่รักคุณอย่างที่คุณเป็น ไม่ว่าคุณจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีโทนเสียงแบบใด หรือแม้แต่ออกสาวแค่ไหนก็ตาม!
Bros “เพื่อนชาย?” เข้าฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์