- @TOM NEWS
- Jan 2023
5 อันดับหนัง LGBTQ+ ประจำปี 2022
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
เช่นเคย เมื่อถึงช่วงเวลานี้ของทุกปี เราจะชวนเพจ "ชีวิตผมก็เหมือนหนัง" มาจัดอันดับภาพยนตร์ที่มีประเด็น LGBTQ+ ประจำปี ซึ่งก็ต้องอธิบายกันอีกครั้งว่า การจัดอันดับนี้จะนับเฉพาะภาพยนตร์ที่ผ่านตาของผู้เขียนในปีที่ผ่านมาเท่านั้น
What Did You Eat Yesterday? (2021)
ความสัมพันธ์ของคู่รักวัยสี่สิบกว่าๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันมาพักใหญ่ๆ แต่ก็มีเรื่องให้ต้องเรียนรู้กันและกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อถึงวันที่ความสัมพันธ์ของพวกเค้าอาจจะไม่สอดคล้องกับความหวังของครอบครัว ความแก่ชราที่คืบคลานเข้ามา และชีวิตที่ไม่มีอะไรยืนยันความเป็นคู่ชีวิตของพวกเค้าได้เลย ซึ่งเป็นอะไรที่น่าทึ่งนะที่หนังที่ต่อยอดจากซีรีส์อย่าง What Did You Eat Yesterday? และ Cherry Magic! ต่างก็เล่นกับประเด็นแบบเดียวกัน เพื่อส่องสะท้อนภาพสังคมญี่ปุ่น ในวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมของพวกเค้ายังมองไม่เห็นที่ทางใดๆ ได้เลย
Cherry Magic! The Movie (2022)
การสานต่อความสำเร็จจากเวอร์ชั่นซีรีส์ ซึ่งเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของ “อาดาจิ” พนักงานออฟฟิศหนุ่มเด๋อๆ ด๋าๆ ที่มีพลังวิเศษอ่านใจคนได้ เพราะครองความซิงมาจนถึงอายุ 30 ปี แล้วดันไปอ่านใจได้ว่า “คุโรซาว่า” พนักงานหนุ่มสุดฮอตของบริษัทแอบชอบเค้า! โดยในเวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้ก็เล่าต่อจากซีรีส์เลย เมื่อทั้งคู่ตกลงคบหาเป็นแฟนกันแล้ว แต่เรื่องยุ่งยากวุ่นวายก็ยังมีให้ฟันฝ่า ทั้งเรื่องที่อาดาจิได้รับการโปรโมทจากบริษัทจนต้องย้ายไปอยู่อีกเมือง กลายเป็นรักทางไกล การยอมรับจากพ่อแม่และครอบครัวของทั้งสองฝั่ง และการปรับตัวครั้งใหญ่ในความสัมพันธ์ เมื่ออาดาจิสูญเสียพลังวิเศษไปแล้ว! (ต้องอธิบายไหมว่าทำไมถึงเสียพลังวิเศษ!?)
Everything Everywhere All at Once (2022)
ในวันแสนวุ่นวายของ Evelyn ที่เธอต้องตื่นมาเตรียมเอกสารเพื่อไปพบเจ้าหน้าที่สรรพากร ต้องดูแลพ่อวัยชราที่เพิ่งย้ายข้ามประเทศมารักษาตัวที่อเมริกา ต้องเตรียมจัดงานปาร์ตี้ที่ร้านซักรีดอันเป็นธุรกิจของเธอและสามี ต้องรับมือกับลูกสาวผู้เหนื่อยหน่ายชีวิตที่อยากจะพาแฟนสาวมาเปิดตัวในงานปาร์ตี้ด้วย และไหนจะสามีที่ไม่เอาไหนของเธออีกล่ะ อยู่ๆ Waymond สามีของเธอในอีกจักรวาลก็โผล่ขึ้นมาเพื่อขอร้องให้เธอช่วยทำบางสิ่งบางอย่าง ก่อนที่วายร้ายจากอีกจักรวาลจะทำลายทุกคนในทุกจักรวาลด้วยหลุมดำที่มีหน้าตาเหมือนขนมปังเบเกิล แต่ผู้หญิงธรรมดาๆ อย่างเธอจะทำอะไรได้เล่า คำตอบอยู่ที่เคล็ดลับการดึงทักษะพิเศษจากตัว Evelyn ในจักรวาลอื่นมาใช้ โดยเธอจะต้องทำสิ่งประหลาดๆ ที่ตัวเองไม่มีทางทำในโลกใบนี้ แล้วกดปุ่มที่หูฟังวิเศษ จากนั้นทักษะนั้นๆ ถูกโปรแกรมใส่เข้ามาในตัวเธอได้ และมันก็กลายเป็นที่มาของฉากเพี้ยนๆ มุกตลกสุดฮา และเปิดจักรวาลต่างๆ ที่เราจะได้เห็น Evelyn อีกร้อยแบบ
Bros (2022)
ใครจะไปคิดว่าชีวิตของ Bobby เกย์หนุ่มวัย 40 ที่ครองชีวิตเป็นโสดมาตลอด (ไม่นับการนัดเยเย่ผ่านแอพฯ น่ะนะ – ชอบตอนที่เค้าพูดถึงความเหงาอันอบอุ่นหลังจากมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้าผ่านแอพฯ นี้มาก) อยู่ๆ ก็มีเรื่องให้วุ่นวายหัวใจในตอนที่เค้ากำลังง่วนอยู่กับการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ กลางนิวยอร์กพอดิบพอดี แล้วหนุ่มคนนั้นก็ดันเป็นเกย์หล่อล่ำผู้แตกต่างจากเค้าแบบสุดขั้ว จากความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศจุดยืนแต่แรกว่า เราไม่ได้เดตกันนะ และเราต่างก็ไม่ได้อยากมีแฟนด้วยกันทั้งคู่ ไปๆ มาๆ ดูเหมือนหัวใจมันจะหวั่นไหวเกินกว่าเส้นที่ขีดเอาไว้ซะแล้วสิ ความเจ๋งของ Bros คือ มันทำให้เราเชื่อในแรงดึงดูดที่ตัวละครมีต่อกันได้ โดยเฉพาะฝั่ง Aaron ที่มองเห็นเสน่ห์ในตัว Bobby ผ่านสิ่งที่เค้าทำ ความมั่นใจในการแสดงออก และตัวตนที่แตกต่างจากตัวเค้า แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อความสัมพันธ์เดินหน้าไป การที่ Aaron ยังหวั่นไหวไปกับหนุ่มๆ หน้าตาดีหุ่นล่ำแบบตัวเค้าเอง มันก็ทำให้ความสัมพันธ์เดินมาถึงจุดที่เปราะบางมาก แล้วอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่เราคิดว่ามันช่างสมจริงเหลือเกิน
Wheel of Fortune and Fantasy (2021)
Wheel of Fortune and Fantasy คือหนังรวมเรื่องสั้น 3 ตอนที่มีจุดร่วมกันอยู่กับธีม “ความบังเอิญ” ของผู้กำกับ/เขียนบท “ริวสุเกะ ฮามากุจิ” ที่โด่งดังจาก Drive My Car โดยความน่ามหัศจรรย์ของมันก็คือ ในความเรียบง่ายที่ปล่อยให้ตัวละครพูด พูด และพูด กลับเต็มไปด้วยความผันผวนของมวลอารมณ์และบรรยากาศ แล้วในทุกตอนก็ล้วนทำให้เรารู้สึกปลื้มปิติ ตื่นรู้ เบิกบาน ในมิติต่างๆ กัน โดยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็น LGBTQ+ ก็คือ “Once Again” เรื่องสั้นที่พูดได้ว่าน่าอัศจรรย์มากที่สุด เมื่อหญิงสาววัยกลางคนสองคนเดินสวนตรงบันไดเลื่อนสถานีรถไฟ หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมากว่า 20 ปี พวกเธอเริ่มถักทอสายใยของทรงจำแห่งความสัมพันธ์ ก่อนจะพบว่าพวกเธอเป็นคนแปลกหน้าของกันและกัน แต่แล้วพวกเธอก็ตัดสินใจสวมบทบาทเป็นใครอีกคนเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปให้กันและกัน
เช่นเคย เมื่อถึงช่วงเวลานี้ของทุกปี เราจะชวนเพจ "ชีวิตผมก็เหมือนหนัง" มาจัดอันดับภาพยนตร์ที่มีประเด็น LGBTQ+ ประจำปี ซึ่งก็ต้องอธิบายกันอีกครั้งว่า การจัดอันดับนี้จะนับเฉพาะภาพยนตร์ที่ผ่านตาของผู้เขียนในปีที่ผ่านมาเท่านั้น
What Did You Eat Yesterday? (2021)
ความสัมพันธ์ของคู่รักวัยสี่สิบกว่าๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันมาพักใหญ่ๆ แต่ก็มีเรื่องให้ต้องเรียนรู้กันและกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อถึงวันที่ความสัมพันธ์ของพวกเค้าอาจจะไม่สอดคล้องกับความหวังของครอบครัว ความแก่ชราที่คืบคลานเข้ามา และชีวิตที่ไม่มีอะไรยืนยันความเป็นคู่ชีวิตของพวกเค้าได้เลย ซึ่งเป็นอะไรที่น่าทึ่งนะที่หนังที่ต่อยอดจากซีรีส์อย่าง What Did You Eat Yesterday? และ Cherry Magic! ต่างก็เล่นกับประเด็นแบบเดียวกัน เพื่อส่องสะท้อนภาพสังคมญี่ปุ่น ในวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมของพวกเค้ายังมองไม่เห็นที่ทางใดๆ ได้เลย
Cherry Magic! The Movie (2022)
การสานต่อความสำเร็จจากเวอร์ชั่นซีรีส์ ซึ่งเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของ “อาดาจิ” พนักงานออฟฟิศหนุ่มเด๋อๆ ด๋าๆ ที่มีพลังวิเศษอ่านใจคนได้ เพราะครองความซิงมาจนถึงอายุ 30 ปี แล้วดันไปอ่านใจได้ว่า “คุโรซาว่า” พนักงานหนุ่มสุดฮอตของบริษัทแอบชอบเค้า! โดยในเวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้ก็เล่าต่อจากซีรีส์เลย เมื่อทั้งคู่ตกลงคบหาเป็นแฟนกันแล้ว แต่เรื่องยุ่งยากวุ่นวายก็ยังมีให้ฟันฝ่า ทั้งเรื่องที่อาดาจิได้รับการโปรโมทจากบริษัทจนต้องย้ายไปอยู่อีกเมือง กลายเป็นรักทางไกล การยอมรับจากพ่อแม่และครอบครัวของทั้งสองฝั่ง และการปรับตัวครั้งใหญ่ในความสัมพันธ์ เมื่ออาดาจิสูญเสียพลังวิเศษไปแล้ว! (ต้องอธิบายไหมว่าทำไมถึงเสียพลังวิเศษ!?)
Everything Everywhere All at Once (2022)
ในวันแสนวุ่นวายของ Evelyn ที่เธอต้องตื่นมาเตรียมเอกสารเพื่อไปพบเจ้าหน้าที่สรรพากร ต้องดูแลพ่อวัยชราที่เพิ่งย้ายข้ามประเทศมารักษาตัวที่อเมริกา ต้องเตรียมจัดงานปาร์ตี้ที่ร้านซักรีดอันเป็นธุรกิจของเธอและสามี ต้องรับมือกับลูกสาวผู้เหนื่อยหน่ายชีวิตที่อยากจะพาแฟนสาวมาเปิดตัวในงานปาร์ตี้ด้วย และไหนจะสามีที่ไม่เอาไหนของเธออีกล่ะ อยู่ๆ Waymond สามีของเธอในอีกจักรวาลก็โผล่ขึ้นมาเพื่อขอร้องให้เธอช่วยทำบางสิ่งบางอย่าง ก่อนที่วายร้ายจากอีกจักรวาลจะทำลายทุกคนในทุกจักรวาลด้วยหลุมดำที่มีหน้าตาเหมือนขนมปังเบเกิล แต่ผู้หญิงธรรมดาๆ อย่างเธอจะทำอะไรได้เล่า คำตอบอยู่ที่เคล็ดลับการดึงทักษะพิเศษจากตัว Evelyn ในจักรวาลอื่นมาใช้ โดยเธอจะต้องทำสิ่งประหลาดๆ ที่ตัวเองไม่มีทางทำในโลกใบนี้ แล้วกดปุ่มที่หูฟังวิเศษ จากนั้นทักษะนั้นๆ ถูกโปรแกรมใส่เข้ามาในตัวเธอได้ และมันก็กลายเป็นที่มาของฉากเพี้ยนๆ มุกตลกสุดฮา และเปิดจักรวาลต่างๆ ที่เราจะได้เห็น Evelyn อีกร้อยแบบ
Bros (2022)
ใครจะไปคิดว่าชีวิตของ Bobby เกย์หนุ่มวัย 40 ที่ครองชีวิตเป็นโสดมาตลอด (ไม่นับการนัดเยเย่ผ่านแอพฯ น่ะนะ – ชอบตอนที่เค้าพูดถึงความเหงาอันอบอุ่นหลังจากมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้าผ่านแอพฯ นี้มาก) อยู่ๆ ก็มีเรื่องให้วุ่นวายหัวใจในตอนที่เค้ากำลังง่วนอยู่กับการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ LGBTQ+ กลางนิวยอร์กพอดิบพอดี แล้วหนุ่มคนนั้นก็ดันเป็นเกย์หล่อล่ำผู้แตกต่างจากเค้าแบบสุดขั้ว จากความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศจุดยืนแต่แรกว่า เราไม่ได้เดตกันนะ และเราต่างก็ไม่ได้อยากมีแฟนด้วยกันทั้งคู่ ไปๆ มาๆ ดูเหมือนหัวใจมันจะหวั่นไหวเกินกว่าเส้นที่ขีดเอาไว้ซะแล้วสิ ความเจ๋งของ Bros คือ มันทำให้เราเชื่อในแรงดึงดูดที่ตัวละครมีต่อกันได้ โดยเฉพาะฝั่ง Aaron ที่มองเห็นเสน่ห์ในตัว Bobby ผ่านสิ่งที่เค้าทำ ความมั่นใจในการแสดงออก และตัวตนที่แตกต่างจากตัวเค้า แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อความสัมพันธ์เดินหน้าไป การที่ Aaron ยังหวั่นไหวไปกับหนุ่มๆ หน้าตาดีหุ่นล่ำแบบตัวเค้าเอง มันก็ทำให้ความสัมพันธ์เดินมาถึงจุดที่เปราะบางมาก แล้วอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่เราคิดว่ามันช่างสมจริงเหลือเกิน
Wheel of Fortune and Fantasy (2021)
Wheel of Fortune and Fantasy คือหนังรวมเรื่องสั้น 3 ตอนที่มีจุดร่วมกันอยู่กับธีม “ความบังเอิญ” ของผู้กำกับ/เขียนบท “ริวสุเกะ ฮามากุจิ” ที่โด่งดังจาก Drive My Car โดยความน่ามหัศจรรย์ของมันก็คือ ในความเรียบง่ายที่ปล่อยให้ตัวละครพูด พูด และพูด กลับเต็มไปด้วยความผันผวนของมวลอารมณ์และบรรยากาศ แล้วในทุกตอนก็ล้วนทำให้เรารู้สึกปลื้มปิติ ตื่นรู้ เบิกบาน ในมิติต่างๆ กัน โดยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็น LGBTQ+ ก็คือ “Once Again” เรื่องสั้นที่พูดได้ว่าน่าอัศจรรย์มากที่สุด เมื่อหญิงสาววัยกลางคนสองคนเดินสวนตรงบันไดเลื่อนสถานีรถไฟ หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมากว่า 20 ปี พวกเธอเริ่มถักทอสายใยของทรงจำแห่งความสัมพันธ์ ก่อนจะพบว่าพวกเธอเป็นคนแปลกหน้าของกันและกัน แต่แล้วพวกเธอก็ตัดสินใจสวมบทบาทเป็นใครอีกคนเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปให้กันและกัน