- @TOM NEWS
- Mar 2025
กมล งานละครเวทีที่หยิบเรื่องรักของมะเมี๊ยะมาตีความใหม่ได้น่าทึ่ง

Photos : Kamol The Play
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
คงต้องออกตัวตั้งแต่ตรงนี้ว่า สิ่งที่ทำให้เราอยากดู “กมล” นั้น เป็นเพราะมันเป็นงานละครของคนทำละครที่เรารัก ทั้งตัวผู้กำกับ “ส้มโอ - ธัญญรัตน์ ประดิษฐ์แท่น” (ร่วมเขียนบท), “ชวน - จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ” เขียนบท และ “พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล” ที่กลับมาแสดงละครเวทีอีกครั้ง ยิ่งพอได้รู้ว่า มันคือการหยิบเอาตำนานเรื่องราวความรักของ “มะเมี๊ยะ” มาตีความใหม่ก็ยิ่งอยากดู
โรงละครเปิดต้อนรับผู้ชม ด้วยการปล่อยให้เราเฝ้ามองตัวละครของ “ลูกหว้า - พิจิกา จิตตะปุตตะ” นั่งดึงเส้นด้ายออกจากผืนผ้าในมือ พลางหยุดชะเง้อมองหาใครสักคน ครุ่นคิดอะไรบางอย่าง แล้วลงมือทำงานของเธอต่อ จากนั้นเธอก็เอ่ยเปรียบเปรยถึงความรักกับความพยายามซ่อมแซม แล้วตั้งคำถามถึงความพยายามสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาใหม่ ว่านั่นคือความรักด้วยหรือเปล่า (อะไรตรงนี้ เราชอบมาก!) จากนั้น เราก็ได้เฝ้ามองดูสายสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นระหว่าง “กมล” (ตัวละครที่เทียบเคียงได้กับ เจ้าน้อยศุขเกษม) ชายหนุ่มสูงศักดิ์จากนครเชียงใหม่ และ “เมียท” (ตัวละครที่เทียบเคียงได้กับ มะเมี๊ยะ) หญิงสาวพื้นเมืองชาวพม่า จากการเป็นลูกค้าซื้อบุหรี่สู่การเป็นคนรัก แต่แล้วเมื่อถึงวันที่กมลต้องเดินทางกลับบ้าน ท่ามกลางความสับสนว้าวุ่นใจในรักท้วมท้น เมียทจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านของกมลด้วย โดยเธอจะปลอมตัวเป็นผู้ชาย และอยู่เคียงข้างเค้าในฐานะเพื่อนสนิทจากแดนไกล แต่มันจะเป็นเช่นไร ในเมื่อกมลมีคู่หมั้นคู่หมายอยู่แล้ว และความแตกต่างระหว่างชนชั้น ความคิด ทัศนคติ การเมือง และหน้าที่ กลับทำให้ทุกฝ่ายเจ็บช้ำกันไปหมด
หากครึ่งเรื่องแรกคือการวางเส้นเรื่อง และสร้างตัวละครให้เราติดตามเอาใจช่วย ครึ่งเรื่องหลังของละครเวทีเรื่องนี้คือทีเด็ดที่จะทำให้มุมมองและความรู้สึกของคนดูเปลี่ยนไป เมื่อตัวละครเมียทเดินสวนกับ “จายวิน” เพื่อรื้อเรื่องเล่าที่ผ่านมาทั้งหมดใหม่ ถ้าหากแท้ที่จริงแล้วเมียทไม่ใช่หญิงชาวพม่าที่ปลอมตัวเป็นชาย เพื่อติดตามคนรักสูงศักดิ์กลับเมืองเชียงใหม่ แต่เป็นคนรักชายชาวพม่าล่ะ!? แล้วเรื่องก็ค่อยๆ เล่าย้อนจากฉากสุดท้ายที่เราได้ดูในครึ่งแรก สู่จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างกมลและจายวิน ซึ่งความสนุกมันอยู่ที่เราได้เห็นมิติอันซับซ้อนอีกแบบ ซึ่งแตกต่างจากฉากพูดคุยธรรมดาๆ ระหว่างกมลกับเมียทที่ผ่านมา
จริงๆ ก็น่าคิดเหมือนกันว่า ในวันที่โลกเปิดกว้างรับความหลากหลายทางเพศ แม้แต่ในประเทศไทยก็มีกฎหมายรองรับ จะมีใครอีกบ้างไหมนะ ที่ยังทนทุกข์กับการไม่สามารถเปิดเผยตัวตน หรือแสดงออกซึ่งความรักของตนเองได้ อืม ก็คงจะมีคนที่อยู่ในชนชั้นแบบเดียวกับกมลนี่ล่ะกระมัง
อันที่จริงได้ยินเสียงติติงถึงการแสดงของ "โมสต์ - วิศรุต หิมรัตน์" ที่รับบทกมลไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าไปดูละคร ซึ่งครึ่งแรกการแสดงของโมสต์ก็ทำให้เราหงุดหงิดจริงๆ มันช่างแห้งแล้ง ไร้อารมณ์ และไม่ทำให้เรารู้สึกถึงอะไรข้างในตัวละครเลย ทว่าในครึ่งหลัง วิธีการโต้ตอบระหว่างตัวละครของเค้ากับจายวินกลับแตกต่าง และมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เรามองเห็นและเข้าใจความรู้สึกของตัวละครของเค้า จุดนั้นเอง ทำให้เราไม่แน่ใจว่า เอ๊ะ นี่มันผ่านการออกแบบวิธีการแสดงมาแล้วหรือเปล่า หากครึ่งแรกมันคือสิ่งที่ผู้คนเชื่อกันว่า ตำนานความรักระหว่างชายสูงศักดิ์จากเมืองเชียงใหม่กับหญิงสาวชาวพม่าถูกกีดกันด้วยความแตกต่างของชนชั้นและเชื้อชาติเป็นเรื่องจริง ทว่าตัวละครของเค้ากลับตะโกนออกมาว่า มันไม่ใช่เรื่องจริงอย่างที่ทุกคนเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเค้ากับเพื่อนนักเรียนชายชาวพม่าต่างหากที่เป็นเรื่องจริง การแสดงทั้งหมดนี้มันก็ตอบโจทย์หมดเลย!
เอาจริงๆ กระแสของ “กมล” ดีมากนะ อยากให้รีสเตจอีก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสไหม ไปลุ้นกันจ้ะ
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
คงต้องออกตัวตั้งแต่ตรงนี้ว่า สิ่งที่ทำให้เราอยากดู “กมล” นั้น เป็นเพราะมันเป็นงานละครของคนทำละครที่เรารัก ทั้งตัวผู้กำกับ “ส้มโอ - ธัญญรัตน์ ประดิษฐ์แท่น” (ร่วมเขียนบท), “ชวน - จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ” เขียนบท และ “พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล” ที่กลับมาแสดงละครเวทีอีกครั้ง ยิ่งพอได้รู้ว่า มันคือการหยิบเอาตำนานเรื่องราวความรักของ “มะเมี๊ยะ” มาตีความใหม่ก็ยิ่งอยากดู
โรงละครเปิดต้อนรับผู้ชม ด้วยการปล่อยให้เราเฝ้ามองตัวละครของ “ลูกหว้า - พิจิกา จิตตะปุตตะ” นั่งดึงเส้นด้ายออกจากผืนผ้าในมือ พลางหยุดชะเง้อมองหาใครสักคน ครุ่นคิดอะไรบางอย่าง แล้วลงมือทำงานของเธอต่อ จากนั้นเธอก็เอ่ยเปรียบเปรยถึงความรักกับความพยายามซ่อมแซม แล้วตั้งคำถามถึงความพยายามสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาใหม่ ว่านั่นคือความรักด้วยหรือเปล่า (อะไรตรงนี้ เราชอบมาก!) จากนั้น เราก็ได้เฝ้ามองดูสายสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นระหว่าง “กมล” (ตัวละครที่เทียบเคียงได้กับ เจ้าน้อยศุขเกษม) ชายหนุ่มสูงศักดิ์จากนครเชียงใหม่ และ “เมียท” (ตัวละครที่เทียบเคียงได้กับ มะเมี๊ยะ) หญิงสาวพื้นเมืองชาวพม่า จากการเป็นลูกค้าซื้อบุหรี่สู่การเป็นคนรัก แต่แล้วเมื่อถึงวันที่กมลต้องเดินทางกลับบ้าน ท่ามกลางความสับสนว้าวุ่นใจในรักท้วมท้น เมียทจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านของกมลด้วย โดยเธอจะปลอมตัวเป็นผู้ชาย และอยู่เคียงข้างเค้าในฐานะเพื่อนสนิทจากแดนไกล แต่มันจะเป็นเช่นไร ในเมื่อกมลมีคู่หมั้นคู่หมายอยู่แล้ว และความแตกต่างระหว่างชนชั้น ความคิด ทัศนคติ การเมือง และหน้าที่ กลับทำให้ทุกฝ่ายเจ็บช้ำกันไปหมด
หากครึ่งเรื่องแรกคือการวางเส้นเรื่อง และสร้างตัวละครให้เราติดตามเอาใจช่วย ครึ่งเรื่องหลังของละครเวทีเรื่องนี้คือทีเด็ดที่จะทำให้มุมมองและความรู้สึกของคนดูเปลี่ยนไป เมื่อตัวละครเมียทเดินสวนกับ “จายวิน” เพื่อรื้อเรื่องเล่าที่ผ่านมาทั้งหมดใหม่ ถ้าหากแท้ที่จริงแล้วเมียทไม่ใช่หญิงชาวพม่าที่ปลอมตัวเป็นชาย เพื่อติดตามคนรักสูงศักดิ์กลับเมืองเชียงใหม่ แต่เป็นคนรักชายชาวพม่าล่ะ!? แล้วเรื่องก็ค่อยๆ เล่าย้อนจากฉากสุดท้ายที่เราได้ดูในครึ่งแรก สู่จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างกมลและจายวิน ซึ่งความสนุกมันอยู่ที่เราได้เห็นมิติอันซับซ้อนอีกแบบ ซึ่งแตกต่างจากฉากพูดคุยธรรมดาๆ ระหว่างกมลกับเมียทที่ผ่านมา
จริงๆ ก็น่าคิดเหมือนกันว่า ในวันที่โลกเปิดกว้างรับความหลากหลายทางเพศ แม้แต่ในประเทศไทยก็มีกฎหมายรองรับ จะมีใครอีกบ้างไหมนะ ที่ยังทนทุกข์กับการไม่สามารถเปิดเผยตัวตน หรือแสดงออกซึ่งความรักของตนเองได้ อืม ก็คงจะมีคนที่อยู่ในชนชั้นแบบเดียวกับกมลนี่ล่ะกระมัง
อันที่จริงได้ยินเสียงติติงถึงการแสดงของ "โมสต์ - วิศรุต หิมรัตน์" ที่รับบทกมลไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าไปดูละคร ซึ่งครึ่งแรกการแสดงของโมสต์ก็ทำให้เราหงุดหงิดจริงๆ มันช่างแห้งแล้ง ไร้อารมณ์ และไม่ทำให้เรารู้สึกถึงอะไรข้างในตัวละครเลย ทว่าในครึ่งหลัง วิธีการโต้ตอบระหว่างตัวละครของเค้ากับจายวินกลับแตกต่าง และมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เรามองเห็นและเข้าใจความรู้สึกของตัวละครของเค้า จุดนั้นเอง ทำให้เราไม่แน่ใจว่า เอ๊ะ นี่มันผ่านการออกแบบวิธีการแสดงมาแล้วหรือเปล่า หากครึ่งแรกมันคือสิ่งที่ผู้คนเชื่อกันว่า ตำนานความรักระหว่างชายสูงศักดิ์จากเมืองเชียงใหม่กับหญิงสาวชาวพม่าถูกกีดกันด้วยความแตกต่างของชนชั้นและเชื้อชาติเป็นเรื่องจริง ทว่าตัวละครของเค้ากลับตะโกนออกมาว่า มันไม่ใช่เรื่องจริงอย่างที่ทุกคนเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเค้ากับเพื่อนนักเรียนชายชาวพม่าต่างหากที่เป็นเรื่องจริง การแสดงทั้งหมดนี้มันก็ตอบโจทย์หมดเลย!
เอาจริงๆ กระแสของ “กมล” ดีมากนะ อยากให้รีสเตจอีก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสไหม ไปลุ้นกันจ้ะ
