- @TOM NEWS
- Jun 2024
Hell hath no fury like a Queer scorned นักแสดงเควียร์กับความอัดอั้นตันใจ
Photos : H0m0Haus
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ไปดู Hell hath no fury like a Queer scorned ในวันที่เราเพิ่งเป็นกรรมการ ในรอบการนำเสนอแคมเปญรณรงค์เพื่อสังคม LGBTQ+ ของเวที Mr. Gay World Thailand 2024 เสร็จหมาดๆ หลังจากนั่งฟังผู้เข้าประกวดเกย์ 30 คน พูดสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจ ประกาศถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และนำเสนอโปรเจ็กต์ที่พวกเค้าคิดว่ามันจะช่วยผลักดันให้ทุกอย่างดีขึ้นมาตลอดทั้งวัน มาเจอการแสดงที่ประกาศ/ตะโกนปิดท้ายวัน มันก็หนักหนาสาหัสเอาการอยู่ แต่มันก็สะใจดีเหลือเกิน แล้วพาร์ตสุดท้ายของการแสดงก็ทำให้เรายืนน้ำตาไหล จนต้องหลบมุมมืดเช็ดน้ำตาป้อยๆ
Hell hath no fury like a Queer scorned เป็นผลงานการกำกับชิ้นล่าสุดของ “ปฏิพล (มิสโอ๊ต) อัศวมหาพงษ์” ที่เราพูดได้เต็มปากว่าติดตามผลงานมานาน แล้วพองานของมิสโอ๊ตมักจะหยิบเอาเรื่องราวในชีวิตของตัวเองมาบอกเล่าให้ผู้ชมได้รับรู้ ทั้งเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว เราก็พลอยรู้สึกสนิทสนมกับตัวมิสโอ๊ตไปด้วย ทั้งที่ในชีวิตจริงได้คุยกันน้อยมากๆ ก็ตาม ความพิเศษของงานชิ้นนี้ก็คือ การที่ตัวมิสโอ๊ตปรากฏตัวพร้อมกับ “หทัยชนก (ใบหม่อน) รุ่งเรืองเศรษฐ์” ศิลปินที่นิยามตนเองว่าเป็น Non-Binary Sapphic ในพื้นที่การแสดง แล้วปล่อยให้ผู้ชมทำความรู้จักและติดตามเรื่องราวของทั้งคู่ ทั้งในแง่ตัวตนการเป็น LGBTQ+ กับพื้นที่ในบ้าน และการเป็นศิลปินนักแสดง/คนทำงานละคร ที่ถูกพ่วงติดกับคำว่า LGBTQ+ ไปด้วย
ความสนุกของงานชิ้นนี้ก็คือ ตัวผู้ชมถูกปล่อยให้นั่ง ยืน เดินได้อย่างอิสระในพื้นที่ (จะเดินเข้าออกระหว่างการแสดงก็ได้เช่นกัน) แล้วศิลปินทั้งสองคนก็ใช้พื้นที่และวิธีการอันหลากหลายในการบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ทั้งพื้นที่บนโต๊ะทำงาน ด้วยการพิมพ์ข้อความแสดงความคิดอ่านในคอมพิวเตอร์ ขีดเขียนจดหมายบนกระดาษใบเล็กใบน้อย หยิบหนังสือสอนการแสดงมาอ่าน (หรือไม่อ่าน) พื้นที่มุมหนึ่งที่ทั้งคู่ลากเอาเก้าอี้มาวางนั่งสลับกันสัมภาษณ์/แคสติ้ง การจัดวางเรียงต่อเก้าอี้จนสูงเป็นประติมากรรมของใบหม่อน การที่ทั้งคู่ต่างเขียนข้อความผรุสวาทบนกระดาษแผ่นใหญ่แล้วนำไปติดทั่ว การแขวนผ้าที่เต็มไปด้วยตัวหนังสืออ่านสนุก (แน่นอน! หยาบได้ใจสุดๆ) แล้วในช่วงเวลาเกือบทั้งหมดนี้ คนดูอย่างเราๆ ยังได้รับคำแนะนำให้เปิดคลิปใน YouTube เพื่อฟังเสียงพูดคุยของมิสโอ๊ตและใบหม่อน (ที่ถูกบันทึกไว้แล้ว) เสริมเติมเรื่องที่พวกเค้าอยากจะเล่าเข้าไปอีก
ถึงเราจะไม่ได้มีประสบการณ์แบบเดียวกับมิสโอ๊ตในการใช้ชีวิต ไม่ได้เป็น Sapphic เหมือนใบหม่อน ไม่แม้แต่จะอยู่ในวงการละครเวที/การแสดง แต่เรากลับ “รู้สึก” และเข้าใจพวกเค้ามากๆ ความรู้สึกโกรธเกรี้ยว หงุดหงิด ไม่พอใจ และเจ็บปวด กลายเป็นจุดร่วมที่ปรากฏขึ้นอีกครั้งบนจอภาพในช่วงท้ายของการแสดง เมื่อภาพประวัติศาสตร์ในการเคลื่อนไหวของชาว LGBTQ+ ในต่างแดน กำลังบอกเราว่า ดูเหมือนชาว LGBTQ+ เรายังวิ่งวนอยู่ในจุดเดิม การแบ่งแยก การต่อต้าน ความไม่เข้าใจ อคติ ยังคงเกิดขึ้นเสมอ แม้แต่ในกลุ่มพวกเราชาว LGBTQ+ กันเอง
อย่างที่บอกไป ชอบช่วงท้ายของการแสดงมาก นอกจากซาวด์กลองป่วนประสาทที่ดังไม่หยุดแล้ว การลาก กระชาก ดึงทึ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างมากองในพื้นที่มุมหนึ่งของการแสดง ราวกับรอให้ใครจุดไฟเผาให้วายวอด เหมือนกับสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องนี้ มันไร้ความหมาย ไม่มีใครสนใจ ได้ยิน หรือแคร์อะไรหรอก ... เจ็บปวดดี!
ป.ล. พอเป็นคนนอกวงการละคร แล้วการได้ยินนักแสดงพูดคุยกันเรื่องวงใน โดยดูดเสียงเซ็นเซอร์ชื่อคนออก เออ มันยิ่งกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น อยากเผือกอยากรู้ไปกับเค้าด้วยจริงๆ นี่สินะ พลังของการเซ็นเซอร์
Hell hath no fury like a Queer scorned เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลศิลปะการแสดง H0m0Haus มีแค่ 5 รอบการแสดง ระหว่าง 1 – 9 มิถุนายน 2024 ที่ Buffalo Bridge Gallery รายละเอียดเพิ่มเติม www.h0m0haus.com
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
ไปดู Hell hath no fury like a Queer scorned ในวันที่เราเพิ่งเป็นกรรมการ ในรอบการนำเสนอแคมเปญรณรงค์เพื่อสังคม LGBTQ+ ของเวที Mr. Gay World Thailand 2024 เสร็จหมาดๆ หลังจากนั่งฟังผู้เข้าประกวดเกย์ 30 คน พูดสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจ ประกาศถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และนำเสนอโปรเจ็กต์ที่พวกเค้าคิดว่ามันจะช่วยผลักดันให้ทุกอย่างดีขึ้นมาตลอดทั้งวัน มาเจอการแสดงที่ประกาศ/ตะโกนปิดท้ายวัน มันก็หนักหนาสาหัสเอาการอยู่ แต่มันก็สะใจดีเหลือเกิน แล้วพาร์ตสุดท้ายของการแสดงก็ทำให้เรายืนน้ำตาไหล จนต้องหลบมุมมืดเช็ดน้ำตาป้อยๆ
Hell hath no fury like a Queer scorned เป็นผลงานการกำกับชิ้นล่าสุดของ “ปฏิพล (มิสโอ๊ต) อัศวมหาพงษ์” ที่เราพูดได้เต็มปากว่าติดตามผลงานมานาน แล้วพองานของมิสโอ๊ตมักจะหยิบเอาเรื่องราวในชีวิตของตัวเองมาบอกเล่าให้ผู้ชมได้รับรู้ ทั้งเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว เราก็พลอยรู้สึกสนิทสนมกับตัวมิสโอ๊ตไปด้วย ทั้งที่ในชีวิตจริงได้คุยกันน้อยมากๆ ก็ตาม ความพิเศษของงานชิ้นนี้ก็คือ การที่ตัวมิสโอ๊ตปรากฏตัวพร้อมกับ “หทัยชนก (ใบหม่อน) รุ่งเรืองเศรษฐ์” ศิลปินที่นิยามตนเองว่าเป็น Non-Binary Sapphic ในพื้นที่การแสดง แล้วปล่อยให้ผู้ชมทำความรู้จักและติดตามเรื่องราวของทั้งคู่ ทั้งในแง่ตัวตนการเป็น LGBTQ+ กับพื้นที่ในบ้าน และการเป็นศิลปินนักแสดง/คนทำงานละคร ที่ถูกพ่วงติดกับคำว่า LGBTQ+ ไปด้วย
ความสนุกของงานชิ้นนี้ก็คือ ตัวผู้ชมถูกปล่อยให้นั่ง ยืน เดินได้อย่างอิสระในพื้นที่ (จะเดินเข้าออกระหว่างการแสดงก็ได้เช่นกัน) แล้วศิลปินทั้งสองคนก็ใช้พื้นที่และวิธีการอันหลากหลายในการบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ทั้งพื้นที่บนโต๊ะทำงาน ด้วยการพิมพ์ข้อความแสดงความคิดอ่านในคอมพิวเตอร์ ขีดเขียนจดหมายบนกระดาษใบเล็กใบน้อย หยิบหนังสือสอนการแสดงมาอ่าน (หรือไม่อ่าน) พื้นที่มุมหนึ่งที่ทั้งคู่ลากเอาเก้าอี้มาวางนั่งสลับกันสัมภาษณ์/แคสติ้ง การจัดวางเรียงต่อเก้าอี้จนสูงเป็นประติมากรรมของใบหม่อน การที่ทั้งคู่ต่างเขียนข้อความผรุสวาทบนกระดาษแผ่นใหญ่แล้วนำไปติดทั่ว การแขวนผ้าที่เต็มไปด้วยตัวหนังสืออ่านสนุก (แน่นอน! หยาบได้ใจสุดๆ) แล้วในช่วงเวลาเกือบทั้งหมดนี้ คนดูอย่างเราๆ ยังได้รับคำแนะนำให้เปิดคลิปใน YouTube เพื่อฟังเสียงพูดคุยของมิสโอ๊ตและใบหม่อน (ที่ถูกบันทึกไว้แล้ว) เสริมเติมเรื่องที่พวกเค้าอยากจะเล่าเข้าไปอีก
ถึงเราจะไม่ได้มีประสบการณ์แบบเดียวกับมิสโอ๊ตในการใช้ชีวิต ไม่ได้เป็น Sapphic เหมือนใบหม่อน ไม่แม้แต่จะอยู่ในวงการละครเวที/การแสดง แต่เรากลับ “รู้สึก” และเข้าใจพวกเค้ามากๆ ความรู้สึกโกรธเกรี้ยว หงุดหงิด ไม่พอใจ และเจ็บปวด กลายเป็นจุดร่วมที่ปรากฏขึ้นอีกครั้งบนจอภาพในช่วงท้ายของการแสดง เมื่อภาพประวัติศาสตร์ในการเคลื่อนไหวของชาว LGBTQ+ ในต่างแดน กำลังบอกเราว่า ดูเหมือนชาว LGBTQ+ เรายังวิ่งวนอยู่ในจุดเดิม การแบ่งแยก การต่อต้าน ความไม่เข้าใจ อคติ ยังคงเกิดขึ้นเสมอ แม้แต่ในกลุ่มพวกเราชาว LGBTQ+ กันเอง
อย่างที่บอกไป ชอบช่วงท้ายของการแสดงมาก นอกจากซาวด์กลองป่วนประสาทที่ดังไม่หยุดแล้ว การลาก กระชาก ดึงทึ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างมากองในพื้นที่มุมหนึ่งของการแสดง ราวกับรอให้ใครจุดไฟเผาให้วายวอด เหมือนกับสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องนี้ มันไร้ความหมาย ไม่มีใครสนใจ ได้ยิน หรือแคร์อะไรหรอก ... เจ็บปวดดี!
ป.ล. พอเป็นคนนอกวงการละคร แล้วการได้ยินนักแสดงพูดคุยกันเรื่องวงใน โดยดูดเสียงเซ็นเซอร์ชื่อคนออก เออ มันยิ่งกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น อยากเผือกอยากรู้ไปกับเค้าด้วยจริงๆ นี่สินะ พลังของการเซ็นเซอร์
Hell hath no fury like a Queer scorned เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลศิลปะการแสดง H0m0Haus มีแค่ 5 รอบการแสดง ระหว่าง 1 – 9 มิถุนายน 2024 ที่ Buffalo Bridge Gallery รายละเอียดเพิ่มเติม www.h0m0haus.com