- @TOM NEWS
- Jul 2017
นักวิชาการ มธ. ชี้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ กรณีเพศทางเลือกในสังคมไทย
Photos : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
By : Ruta
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ “สิทธิเพศทางเลือก กับจุดยืนในประเทศไทย สังคม กฎหมาย การทำงาน” เวทีเปิดพื้นที่กระตุ้นสังคมถึงปัญหาต่างๆ ในสังคมของเพศทางเลือกในประเทศไทย โดยมี ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม และนายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ ร่วมเสวนา กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งเราได้เก็บตกมาฝากกัน
ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ในสังคมไทยมีการเปิดเผยของเพศทางเลือกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและในโลก หลากหลายประเทศได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านความไม่เท่าเทียม และพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปของสังคม แต่สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันนั้น สามารถเล็งเห็นถึงปัญหาด้านกฎหมายที่ไม่รองรับถึงสิทธิความไม่เท่าเทียมทางเพศ กรณีเพศทางเลือก แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ คำนำหน้าในเอกสารสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน, พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงานกับทัศนคติของคนในสังคม, กฎหมายรับรองครอบครัว กฎหมายการจดทะเบียนสมรสกับการใช้ชีวิตครอบครัว
1) คำนำหน้าในเอกสารสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน – ปัญหาด้านการใช้คำนำหน้าในเอกสารสำคัญเป็นปัญหารากฐานที่นำมาสู่ประเด็นพื้นฐานการใช้ชีวิต และการไม่มีที่ยืนในสังคมที่ชัดเจนของกลุ่มเพศทางเลือก ซึ่งการประกาศใช้ พ.ร.บ. รับรองเพศ จะเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานโดยเพศทางเลือกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้นั้น จะสามารถเลือกใช้คำนำหน้าได้ตามเพศวิถี และจะได้รับผลตามกฎหมายของเพศนั้นๆ โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อนี้ ยังถือเป็นการลดปัญหาความไม่ยอมรับด้านสังคมอีกทางด้วยเช่นกัน
2) พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงานกับทัศนคติของคนในสังคม – สืบเนื่องจากประเด็นคำนำหน้าในเอกสารสำคัญ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคมการทำงาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในปัจจุบันมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงาน ที่รองรับในประเด็นดังกล่าวอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่การประกาศใช้ พ.ร.บ. รับรองเพศนั้น จะเป็นการแก้ไขประเด็นข้างต้นให้มีความครอบคลุม และช่วยลดความไม่เท่าเทียมของ พ.ร.บ. ดังกล่าวได้มากขึ้น
3) กฎหมายรับรองครอบครัว กฎหมายการจดทะเบียนสมรสกับการใช้ชีวิตครอบครัว – อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การเรียกร้องสิทธิของกลุ่มเพศทางเลือกทั่วโลก โดยกฎหมายที่ไม่รองรับการใช้ชีวิตคู่ของเพศทางเลือก ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ด้านกฎหมายมากมาย เช่น การใช้สิทธิแทนคู่สมรส, การรับรองสิทธิหากคู่สมรสเสียชีวิต, รวมไปถึงการรับบุตรบุญธรรม ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันไม่ได้การระบุห้ามไว้แต่อย่างใด แต่เมื่อมีการรับรองถึงคู่สมรสของเพศทางเลือกแล้วนั้น จะช่วยปรับทัศนคติของคนในสังคม และทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายแล้ว พ.ร.บ. รับรองเพศ ไม่ได้ถูกประกาศใช้ในประเทศไทย สิ่งที่ทางภาครัฐบาลควรเล็งเห็น คือ การเปิดเผยและการเติบโตขึ้นของจำนวนประชากรเพศทางเลือกในประเทศไทย และปัญหาต่างๆ ด้านสิทธิความไม่เท่าเทียมของประชากรเพศทางเลือก ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน, ความไม่เท่าเทียมในการทำงาน, และด้านการสมรสและการใช้ชีวิตครอบครัว ที่ทางภาครัฐควรหาแนวทางเพื่อตอบสนองการดูแลประชากรอย่างครอบคลุม ประกอบกับหามาตรการรองรับกับการเปิดกว้างที่เพิ่มมากขึ้นของกระแสโลก และกฎหมายของประเทศไทยที่สวนทางกับภาพลักษณ์ของประเทศจากสายตาของชาวต่างชาติที่มองประเทศไทยเป็นหนึ่งในแดนในฝันของเพศทางเลือก ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ตนยังเป็นวัยรุ่น ณ ขณะนั้น การแสดงออกของเพศทางเลือก ยังไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมมากนัก ทุกอย่างถูกปิดกั้น และมีความไม่เท่าเทียมสูง ทั้งในแง่ของการเรียนและการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องแต่งกายให้ตรงตามเพศสภาพ หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติ ก็ถูกกีดกันไม่ให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าจะชักจูงลูกศิษย์ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ แต่ในปัจจุบัน สังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการเปิดกว้างมากขึ้น และชี้วัดบุคคลที่ความสามารถมากกว่าเพศสภาพเป็นลำดับ แต่ในขณะเดียวกันก็มีในบางบริบทที่ยังไม่ได้เปิดรับมากนัก ซึ่งหาก พ.ร.บ. รับรองเพศ ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบในทุกขั้นตอน และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ตนมองว่า ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น อันสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางเพศจะหมดไป และอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของคนในสังคมอย่างเป็นสุข
ในมุมมองของ นายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ กล่าวเสริมว่า ตนค่อนข้างโชคดีที่ตลอดการเรียน 4 ปีการศึกษาที่ มธ. มีเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศ ทั้งการแต่งกายในชุดนักศึกษาหญิงเข้าเรียน และการสวมชุดครุยรับปริญญา ซึ่งทำให้ตนรู้สึกเท่าเทียม และไม่ได้แปลกแยกจากเพื่อนคนอื่น แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาก็ได้รับผลกระทบในบางบริบทของสังคม เมื่อต้องสัมภาษณ์เพื่อเข้าฝึกงานบริษัทแห่งหนึ่ง แต่กลับถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า นโยบายของบริษัทไม่รับบุคคลที่แต่งกายตรงข้ามกับสถานภาพทางเพศ จึงทำให้ตนต้องหาที่ฝึกงานใหม่ ซึ่งหาก พ.ร.บ. รับรองเพศได้ผ่านการอนุมัติและดำเนินการใช้จริงแล้ว โดยส่วนตัวมองว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งในการทลายกำแพงของความเหลื่อมล้ำให้เบาบางลง เกิดความเข้าใจที่ดีและยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล รวมถึงไม่ตัดสินบุคคลอื่นเพียงแค่เพศสภาพ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ “สิทธิเพศทางเลือก กับจุดยืนในประเทศไทย สังคม กฎหมาย การทำงาน” เวทีเปิดพื้นที่กระตุ้นสังคมถึงปัญหาต่างๆ ในสังคมของเพศทางเลือกในประเทศไทย โดยมี ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม, และนายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ ร่วมเสวนา กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.02-564-4493 หรือ www.tu.ac.th
By : Ruta
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ “สิทธิเพศทางเลือก กับจุดยืนในประเทศไทย สังคม กฎหมาย การทำงาน” เวทีเปิดพื้นที่กระตุ้นสังคมถึงปัญหาต่างๆ ในสังคมของเพศทางเลือกในประเทศไทย โดยมี ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม และนายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ ร่วมเสวนา กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งเราได้เก็บตกมาฝากกัน
ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ในสังคมไทยมีการเปิดเผยของเพศทางเลือกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและในโลก หลากหลายประเทศได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านความไม่เท่าเทียม และพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปของสังคม แต่สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันนั้น สามารถเล็งเห็นถึงปัญหาด้านกฎหมายที่ไม่รองรับถึงสิทธิความไม่เท่าเทียมทางเพศ กรณีเพศทางเลือก แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ คำนำหน้าในเอกสารสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน, พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงานกับทัศนคติของคนในสังคม, กฎหมายรับรองครอบครัว กฎหมายการจดทะเบียนสมรสกับการใช้ชีวิตครอบครัว
1) คำนำหน้าในเอกสารสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน – ปัญหาด้านการใช้คำนำหน้าในเอกสารสำคัญเป็นปัญหารากฐานที่นำมาสู่ประเด็นพื้นฐานการใช้ชีวิต และการไม่มีที่ยืนในสังคมที่ชัดเจนของกลุ่มเพศทางเลือก ซึ่งการประกาศใช้ พ.ร.บ. รับรองเพศ จะเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานโดยเพศทางเลือกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้นั้น จะสามารถเลือกใช้คำนำหน้าได้ตามเพศวิถี และจะได้รับผลตามกฎหมายของเพศนั้นๆ โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อนี้ ยังถือเป็นการลดปัญหาความไม่ยอมรับด้านสังคมอีกทางด้วยเช่นกัน
2) พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงานกับทัศนคติของคนในสังคม – สืบเนื่องจากประเด็นคำนำหน้าในเอกสารสำคัญ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคมการทำงาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในปัจจุบันมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมด้านการทำงาน ที่รองรับในประเด็นดังกล่าวอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่การประกาศใช้ พ.ร.บ. รับรองเพศนั้น จะเป็นการแก้ไขประเด็นข้างต้นให้มีความครอบคลุม และช่วยลดความไม่เท่าเทียมของ พ.ร.บ. ดังกล่าวได้มากขึ้น
3) กฎหมายรับรองครอบครัว กฎหมายการจดทะเบียนสมรสกับการใช้ชีวิตครอบครัว – อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การเรียกร้องสิทธิของกลุ่มเพศทางเลือกทั่วโลก โดยกฎหมายที่ไม่รองรับการใช้ชีวิตคู่ของเพศทางเลือก ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ด้านกฎหมายมากมาย เช่น การใช้สิทธิแทนคู่สมรส, การรับรองสิทธิหากคู่สมรสเสียชีวิต, รวมไปถึงการรับบุตรบุญธรรม ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันไม่ได้การระบุห้ามไว้แต่อย่างใด แต่เมื่อมีการรับรองถึงคู่สมรสของเพศทางเลือกแล้วนั้น จะช่วยปรับทัศนคติของคนในสังคม และทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายแล้ว พ.ร.บ. รับรองเพศ ไม่ได้ถูกประกาศใช้ในประเทศไทย สิ่งที่ทางภาครัฐบาลควรเล็งเห็น คือ การเปิดเผยและการเติบโตขึ้นของจำนวนประชากรเพศทางเลือกในประเทศไทย และปัญหาต่างๆ ด้านสิทธิความไม่เท่าเทียมของประชากรเพศทางเลือก ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน, ความไม่เท่าเทียมในการทำงาน, และด้านการสมรสและการใช้ชีวิตครอบครัว ที่ทางภาครัฐควรหาแนวทางเพื่อตอบสนองการดูแลประชากรอย่างครอบคลุม ประกอบกับหามาตรการรองรับกับการเปิดกว้างที่เพิ่มมากขึ้นของกระแสโลก และกฎหมายของประเทศไทยที่สวนทางกับภาพลักษณ์ของประเทศจากสายตาของชาวต่างชาติที่มองประเทศไทยเป็นหนึ่งในแดนในฝันของเพศทางเลือก ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ตนยังเป็นวัยรุ่น ณ ขณะนั้น การแสดงออกของเพศทางเลือก ยังไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมมากนัก ทุกอย่างถูกปิดกั้น และมีความไม่เท่าเทียมสูง ทั้งในแง่ของการเรียนและการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องแต่งกายให้ตรงตามเพศสภาพ หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติ ก็ถูกกีดกันไม่ให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าจะชักจูงลูกศิษย์ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ แต่ในปัจจุบัน สังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการเปิดกว้างมากขึ้น และชี้วัดบุคคลที่ความสามารถมากกว่าเพศสภาพเป็นลำดับ แต่ในขณะเดียวกันก็มีในบางบริบทที่ยังไม่ได้เปิดรับมากนัก ซึ่งหาก พ.ร.บ. รับรองเพศ ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบในทุกขั้นตอน และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ตนมองว่า ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น อันสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางเพศจะหมดไป และอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของคนในสังคมอย่างเป็นสุข
ในมุมมองของ นายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ กล่าวเสริมว่า ตนค่อนข้างโชคดีที่ตลอดการเรียน 4 ปีการศึกษาที่ มธ. มีเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศ ทั้งการแต่งกายในชุดนักศึกษาหญิงเข้าเรียน และการสวมชุดครุยรับปริญญา ซึ่งทำให้ตนรู้สึกเท่าเทียม และไม่ได้แปลกแยกจากเพื่อนคนอื่น แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาก็ได้รับผลกระทบในบางบริบทของสังคม เมื่อต้องสัมภาษณ์เพื่อเข้าฝึกงานบริษัทแห่งหนึ่ง แต่กลับถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า นโยบายของบริษัทไม่รับบุคคลที่แต่งกายตรงข้ามกับสถานภาพทางเพศ จึงทำให้ตนต้องหาที่ฝึกงานใหม่ ซึ่งหาก พ.ร.บ. รับรองเพศได้ผ่านการอนุมัติและดำเนินการใช้จริงแล้ว โดยส่วนตัวมองว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งในการทลายกำแพงของความเหลื่อมล้ำให้เบาบางลง เกิดความเข้าใจที่ดีและยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล รวมถึงไม่ตัดสินบุคคลอื่นเพียงแค่เพศสภาพ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ “สิทธิเพศทางเลือก กับจุดยืนในประเทศไทย สังคม กฎหมาย การทำงาน” เวทีเปิดพื้นที่กระตุ้นสังคมถึงปัญหาต่างๆ ในสังคมของเพศทางเลือกในประเทศไทย โดยมี ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม, และนายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะเพศทางเลือกคลื่นลูกใหม่ ร่วมเสวนา กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.02-564-4493 หรือ www.tu.ac.th