- @TOM NEWS
- Jun-Jul 2020
Tales of the City ซีรี่ส์แห่งการเฉลิมฉลอง LGBTQ
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
นี่คือซีรี่ส์ที่เราเลือกดูเพื่อฉลอง #PrideMonth ของตัวเองในเดือนที่ผ่านมา แล้วก็ปลื้มมากกับ Tales of the City เพราะมันช่างเป็นซีรี่ส์ที่เข้าอกเข้าใจความหลากหลายทางเพศ นำเสนอภาพความเป็นชุมชนของชาว LGBTQ และเป็นอะไรที่ไปไกลกว่าแค่เรื่องการเปิดตัว Come Out, HIV/AIDS หรือการรับมือกับโฮโมโฟเบีย ที่สำคัญคือ มันไม่ได้จริงจังเคร่งเครียด อบอวลด้วยพลังบวก และสนุก!
เมื่อ Mary Ann หญิงสาววัยกลางคนเดินทางกลับมาบ้านเลขที่ 28 Barbary Lane บ้านหลังใหญ่บนเนินเขาที่ซานฟรานฯ เพื่อร่วมฉลองวันเกิดอายุครบ 90 ปีของ Anna หญิงทรานส์ผู้เป็นเจ้าของบ้านซึ่งเปิดให้ชาว LGBTQ หลากหลายรุ่นมาเช่าห้องอยู่ร่วมกัน และเป็นพื้นที่ที่ให้ร่มเงาแก่ชาว LGBTQ มาเนิ่นนานกว่า 50 ปี โดยไม่ได้คาดคิดเลยว่า เรื่องวุ่นๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในบ้านหลังนี้ ทั้งการสานสัมพันธ์ระหว่าง Mary Ann กับ Shawna ลูกสาวเควียร์ที่เธอทอดทิ้งไปหลายสิบปีเพื่อไปตามหาความฝันในเมืองใหญ่ แล้วไหนจะ Brian อดีตสามีของเธออีกล่ะ!, Michael เกย์หนุ่มรุ่นใหญ่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่กำลังพยายามก้าวไปอีกขั้นกับคนรักที่เด็กกว่าหลายปี, ความสัมพันธ์ที่เริ่มมีปัญหาระหว่าง Jake ทรานส์เมนที่กำลังสับสนกับรสนิยมทางเพศของตัวเองอีกครั้ง กับ Margot สาวเลสฯ ผู้อยู่เคียงข้างเค้าเสมอมา ไปจนถึงปมปริศนาครั้งใหญ่ เมื่อมีความพยายามข่มขู่แบล็กเมล Anna กับความผิดพลาดในอดีตเมื่อครั้งวัยสาวของเธอ
เราเพิ่งมารู้หลังจากดูไปครึ่งทางว่า Tales of the City คือภาคที่ 4 แล้วของซีรี่ส์ชุดนี้ โดยครั้งแรกมันถูกสร้างในปี 1993 ในชื่อ Tales of the City, ซีซั่นที่ 2 ในปี 1998 กับชื่อ More Tales of the City และซีซั่นที่ 3 ในปี 2001 กับชื่อ Further Tales of the City ดังนั้น สิ่งที่เราเห็นในเรื่องราวตรงหน้ามันจึงมีสายใยแห่งความผูกพันของตัวละครและประวัติศาสตร์ที่พวกเค้าร่วมกันสร้างมาหลายสิบปีอยู่จริงๆ แล้วนั่นมันก็น่ามหัศจรรย์มาก ที่มันทาบทับกับประวัติศาสตร์ของชุมชนและการใช้ชีวิตของชาว LGBTQ ในซานฟรานฯ ได้ด้วย
ทีมนักแสดงของ Tales of the City คือสิ่งดีงาม เราได้เห็นการเปิดโอกาสให้นักแสดง LGBTQ ได้รับบทตรงกับเพศตัวเอง ได้เห็นความหลากหลายทั้งเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ วัย ไปจนถึงเรื่องความพิการทางร่างกาย ถูกนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นอะไรที่งดงามมาก แล้วเราก็รู้สึกจริงๆ เลยว่า พวกเค้าอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวตรงหน้าอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
ปมปัญหาของแต่ละตัวละครก็น่าสนใจ เราไมได้เห็นการปฏิเสธหรือรับไม่ได้ที่ลูกเป็น LGBTQ แล้ว แต่มันคือการแก้ปมในใจที่ซับซ้อนกว่านั้น เมื่อลูกๆ ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ (ทั้งในแง่กายภาพและจิตใจ), การไม่ได้เห็นการตีโพยตีพายประเด็นเอชไอวี หรือคู่รักผลเลือดต่างต้องมีปัญหากับเรื่องนี้แล้ว (เพราะมี PrEP แล้ว) แต่ชีวิตคู่ก็ไม่เคยง่าย, เราได้เห็นการเปิดกว้างเสรีเรื่องเพศและไร้ซึ่งทีท่าตัดสินใดๆ แต่ก็ใช่ว่า LGBTQ รุ่นใหม่จะไม่ประสบปัญหาความสับสนและต้องรับมือกับตัวตนข้างใน แล้วก็ชอบมากที่มันพูดถึงความสัมพันธ์ของ LGBTQ แต่ละรุ่น เคารพกับประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นก่อนกรุยทางมาให้ แล้วก็ชื่นชมถึงพลังสดใหม่ของคนรุ่นหลังด้วยเช่นกัน
ชอบ EP8 ที่ย้อนเวลากลับไปยังยุค 60 ทั้ง EP เพื่อไปติดตามดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับ Anna กันแน่ ชีวิตสาวทรานส์ในยุคนั้นที่ต้องเผชิญหน้ากับการรีดไถรังแกของตำรวจในซานฟรานฯ เหล่า LGBTQ ยุคก่อนต้องแลกอะไรมามากมายเหลือเกิน ขณะเดียวกันใน EP7 เราก็ได้ฟังเสียงของชาวเกย์ที่ต้องรับมือกับโรคระบาดอย่างเอชไอวี/เอดส์ในยุคต่อมา แล้วการปะทะกันของเกย์คนละเจนเนอเรชั่นบนโต๊ะอาหารนั้นก็น่าขนลุกมาก แล้วมันก็น่าชื่นชมที่สุดที่ใน EPสุดท้าย เราได้เห็นการรวมพลังกันของ LGBTQ ยุคใหม่ การโอบกอดด้วยความรักของคนทุกรุ่น และเป็นการปิดซีรี่ส์ด้วยพลังบวกที่ตื้นตันดีจังเลย
ป.ล. ใน Netflix มีตอนพิเศษซ่อนอยู่ เมื่อทีมงานให้นักแสดง Tales of the City มาอ่านจดหมายของลูกชายเกย์ที่เขียนถึงพ่อแม่ของตัวเอง มันเป็นคลิปสั้นๆ ง่ายๆ ที่ช่างทรงพลังและน่าชื่นชมเหลือเกิน!
นี่คือซีรี่ส์ที่เราเลือกดูเพื่อฉลอง #PrideMonth ของตัวเองในเดือนที่ผ่านมา แล้วก็ปลื้มมากกับ Tales of the City เพราะมันช่างเป็นซีรี่ส์ที่เข้าอกเข้าใจความหลากหลายทางเพศ นำเสนอภาพความเป็นชุมชนของชาว LGBTQ และเป็นอะไรที่ไปไกลกว่าแค่เรื่องการเปิดตัว Come Out, HIV/AIDS หรือการรับมือกับโฮโมโฟเบีย ที่สำคัญคือ มันไม่ได้จริงจังเคร่งเครียด อบอวลด้วยพลังบวก และสนุก!
เมื่อ Mary Ann หญิงสาววัยกลางคนเดินทางกลับมาบ้านเลขที่ 28 Barbary Lane บ้านหลังใหญ่บนเนินเขาที่ซานฟรานฯ เพื่อร่วมฉลองวันเกิดอายุครบ 90 ปีของ Anna หญิงทรานส์ผู้เป็นเจ้าของบ้านซึ่งเปิดให้ชาว LGBTQ หลากหลายรุ่นมาเช่าห้องอยู่ร่วมกัน และเป็นพื้นที่ที่ให้ร่มเงาแก่ชาว LGBTQ มาเนิ่นนานกว่า 50 ปี โดยไม่ได้คาดคิดเลยว่า เรื่องวุ่นๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในบ้านหลังนี้ ทั้งการสานสัมพันธ์ระหว่าง Mary Ann กับ Shawna ลูกสาวเควียร์ที่เธอทอดทิ้งไปหลายสิบปีเพื่อไปตามหาความฝันในเมืองใหญ่ แล้วไหนจะ Brian อดีตสามีของเธออีกล่ะ!, Michael เกย์หนุ่มรุ่นใหญ่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่กำลังพยายามก้าวไปอีกขั้นกับคนรักที่เด็กกว่าหลายปี, ความสัมพันธ์ที่เริ่มมีปัญหาระหว่าง Jake ทรานส์เมนที่กำลังสับสนกับรสนิยมทางเพศของตัวเองอีกครั้ง กับ Margot สาวเลสฯ ผู้อยู่เคียงข้างเค้าเสมอมา ไปจนถึงปมปริศนาครั้งใหญ่ เมื่อมีความพยายามข่มขู่แบล็กเมล Anna กับความผิดพลาดในอดีตเมื่อครั้งวัยสาวของเธอ
เราเพิ่งมารู้หลังจากดูไปครึ่งทางว่า Tales of the City คือภาคที่ 4 แล้วของซีรี่ส์ชุดนี้ โดยครั้งแรกมันถูกสร้างในปี 1993 ในชื่อ Tales of the City, ซีซั่นที่ 2 ในปี 1998 กับชื่อ More Tales of the City และซีซั่นที่ 3 ในปี 2001 กับชื่อ Further Tales of the City ดังนั้น สิ่งที่เราเห็นในเรื่องราวตรงหน้ามันจึงมีสายใยแห่งความผูกพันของตัวละครและประวัติศาสตร์ที่พวกเค้าร่วมกันสร้างมาหลายสิบปีอยู่จริงๆ แล้วนั่นมันก็น่ามหัศจรรย์มาก ที่มันทาบทับกับประวัติศาสตร์ของชุมชนและการใช้ชีวิตของชาว LGBTQ ในซานฟรานฯ ได้ด้วย
ทีมนักแสดงของ Tales of the City คือสิ่งดีงาม เราได้เห็นการเปิดโอกาสให้นักแสดง LGBTQ ได้รับบทตรงกับเพศตัวเอง ได้เห็นความหลากหลายทั้งเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ วัย ไปจนถึงเรื่องความพิการทางร่างกาย ถูกนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นอะไรที่งดงามมาก แล้วเราก็รู้สึกจริงๆ เลยว่า พวกเค้าอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวตรงหน้าอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
ปมปัญหาของแต่ละตัวละครก็น่าสนใจ เราไมได้เห็นการปฏิเสธหรือรับไม่ได้ที่ลูกเป็น LGBTQ แล้ว แต่มันคือการแก้ปมในใจที่ซับซ้อนกว่านั้น เมื่อลูกๆ ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ (ทั้งในแง่กายภาพและจิตใจ), การไม่ได้เห็นการตีโพยตีพายประเด็นเอชไอวี หรือคู่รักผลเลือดต่างต้องมีปัญหากับเรื่องนี้แล้ว (เพราะมี PrEP แล้ว) แต่ชีวิตคู่ก็ไม่เคยง่าย, เราได้เห็นการเปิดกว้างเสรีเรื่องเพศและไร้ซึ่งทีท่าตัดสินใดๆ แต่ก็ใช่ว่า LGBTQ รุ่นใหม่จะไม่ประสบปัญหาความสับสนและต้องรับมือกับตัวตนข้างใน แล้วก็ชอบมากที่มันพูดถึงความสัมพันธ์ของ LGBTQ แต่ละรุ่น เคารพกับประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นก่อนกรุยทางมาให้ แล้วก็ชื่นชมถึงพลังสดใหม่ของคนรุ่นหลังด้วยเช่นกัน
ชอบ EP8 ที่ย้อนเวลากลับไปยังยุค 60 ทั้ง EP เพื่อไปติดตามดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับ Anna กันแน่ ชีวิตสาวทรานส์ในยุคนั้นที่ต้องเผชิญหน้ากับการรีดไถรังแกของตำรวจในซานฟรานฯ เหล่า LGBTQ ยุคก่อนต้องแลกอะไรมามากมายเหลือเกิน ขณะเดียวกันใน EP7 เราก็ได้ฟังเสียงของชาวเกย์ที่ต้องรับมือกับโรคระบาดอย่างเอชไอวี/เอดส์ในยุคต่อมา แล้วการปะทะกันของเกย์คนละเจนเนอเรชั่นบนโต๊ะอาหารนั้นก็น่าขนลุกมาก แล้วมันก็น่าชื่นชมที่สุดที่ใน EPสุดท้าย เราได้เห็นการรวมพลังกันของ LGBTQ ยุคใหม่ การโอบกอดด้วยความรักของคนทุกรุ่น และเป็นการปิดซีรี่ส์ด้วยพลังบวกที่ตื้นตันดีจังเลย
ป.ล. ใน Netflix มีตอนพิเศษซ่อนอยู่ เมื่อทีมงานให้นักแสดง Tales of the City มาอ่านจดหมายของลูกชายเกย์ที่เขียนถึงพ่อแม่ของตัวเอง มันเป็นคลิปสั้นๆ ง่ายๆ ที่ช่างทรงพลังและน่าชื่นชมเหลือเกิน!