- @TOM NEWS
- Jan 2023
5 อันดับหนังสือดีจริต LGBTQ ประจำปี 2022 (บวกด้วยมังงะวายอีกหนึ่งเรื่อง)
By : ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
เป็นธรรมเนียมที่เราทำติดต่อกันมาหลายปี กับการชวนเพจ "ชีวิตผมก็เหมือนหนัง" มาจัดอันดับหนังสือดีจริตโดนใจ LGBTQ+ ประจำปี ซึ่งก็ต้องอธิบายก่อนว่า หนังสือหลายๆ เล่มตีพิมพ์มาก่อนหน้านั้นแล้ว เพียงแต่ผู้เขียนได้หยิบยกมานำเสนอเป็นหนังสือดีน่าประทับใจตามที่ตนเองได้อ่านในปีที่ผ่านมาเพียงเท่านั้น และความพิเศษก็คือในปีนี้ มีมังงะ Boys Love ติดอันดับมาเป็นกรณีพิเศษด้วยหนึ่งเรื่อง
สุสานสยาม
ปราบต์ เขียน
“ปราบต์” สร้างโลกอนาคตอันแสนมืดหม่นขึ้นมา หลังจากสงครามการเมืองกลางเมืองทำลายประเทศชาติลงไป พร้อมๆ กับมลพิษร้ายแรงถึงขีดสุด จนประชาชนในสยามอลังการถูกแบ่งชนชั้นและมีการงานที่ต้องทำเพื่อชาติกันทุกคน แต่แล้วเมื่อเกิดการตั้งคำถามบางอย่างขึ้น มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมและการเปลี่ยนแปลงทั้งบนดินและโลกใต้ดิน ไม่แน่การอุบัติขึ้นของโรคประหลาดที่ทำให้มนุษย์กลายร่างเป็นซอมบี้ไล่กัดกินสมองผู้คน อาจจะทำให้สยามอลังการเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วกว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงเสียอีก
ทะเลสาบน้ำตา
วีรพร นิติประภา เขียน
“ยิหวา” เด็กหญิงที่ถูกแม่ทิ้งไว้ให้ใช้ชีวิตตามลำพังในห้องหนึ่งของอาคารรูปทรงประหลาด ถึงอย่างนั้นเธอก็มีกิจกรรมต้องทำเต็มไปหมด โดยเฉพาะการออกไปสังสรรค์กับสมาคมลับใต้ต้นชงโค อันประกอบไปด้วย คุณยายชรา, ห่านตัวโต และแมวเหมียว ส่วน “อนิล”เป็นเด็กชาย หากถอดเรื่องแฟนตาซี บรรยากาศเหนือจริง และกลิ่นอายของนิทานสำหรับเด็กออก “ทะเลสาบน้ำตา” คือเรื่องราวการใช้ชีวิตอันเต็มไปด้วยบาดแผลและเว้าแหว่งจากการถูกทอดทิ้งของเด็กชายและเด็กหญิง ที่บังเอิญได้มาพานพบกัน ได้เติมเต็มชีวิต ปลอบประโลม และโอบกอดกันและกัน พร้อมๆ กับเล่าเรื่องของคนรุ่นเก่าที่ยังคงพยายามหาทางเยียวยาตนเองจากความทรงจำอันเลวร้ายในวันเก่าก่อน บ้างค้นพบความสุขในชีวิตอีกครั้ง บ้างยังคงหลงทางสับสน และบ้างก็สูญหายไปตลอดกาล
น้ำหอม Das Parfum
Patrick Süskind เขียน | สีมน แปล
ฌอง บับติส เกรอนุย เกิดมาจากแม่ค้าขายปลาในตลาดกลางกรุงปารีส ในปี 1738 แม่ผู้คลอดเค้าและตั้งใจปล่อยให้ตายในกองขยะใต้ร้านขายปลา ท่ามกลางกลิ่นเน่าเหม็นสุดประมาณนั้น เกรอนุยรอดตายได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ยังมีเรื่องประหลาดชวนพิศวงตามมาอีกมากมายตลอดชีวิตของเค้า โดยเฉพาะการไร้ซึ่งกลิ่นกายติดตัว และทักษะการสูดดมกลิ่นต่างๆ ได้ล้ำลึกเกินกว่ามนุษย์มนาจะทำได้ แล้วจากชีวิตที่ดูสิ้นไร้ความหวังอับจนหนทาง เกรอนุยค่อยๆ ไต่เต้าสู่การเป็นนักสร้างสรรค์น้ำหอมที่แฝงกายไว้เบื้องหลังร้านน้ำหอมชื่อดัง ทักษะต่างๆ ที่เค้าเพียรศึกษาและสะสมกลิ่นนับล้านไว้ในจินตนาการ เพียงมุ่งสู่การสร้างสรรค์กลิ่นที่อยู่เหนือสุดแห่งกลิ่นใดทั้งปวง กลิ่นที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของหญิงสาวหลายคน
จดหมายรักฉบับสุดท้าย Last Letter
อิวาอิ ชุนจิ เขียน | ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
เรื่องราวของ “เคียวชิโร่” นักเขียนนวนิยายที่อยู่ห่างไกลจากคำว่าประสบความสำเร็จเป็นหลัก และราวกับว่าเค้าเป็นคนเขียน Last Letter ที่เรากำลังอ่านอยู่นี้ เพื่อสื่อสารถึง “มิซากิ” หญิงสาวที่เค้าเคยตกหลุมรักในสมัยเป็นนักเรียน พยายามสานสัมพันธ์จนได้คบหากันในสมัยเรียนมหา’ลัย แม้จะเลิกรากันไปนานหลายสิบปี แต่รักแรกนี้ก็ยังอยู่ในใจเค้าเสมอมา โดยที่ไม่รู้เลยว่า มิซากิได้เสียชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยเหตุบังเอิญและโชคชะตา เคียวชิโร่ได้พบกับ “ยูริ” น้องสาวของมิซากิที่โผล่มาร่วมงานเลี้ยงรุ่นแทนพี่สาวของตัวเอง แต่เพื่อนๆ ทุกคนในรุ่นดันเข้าใจว่าเธอคือมิซากิ จากจุดนั้นเอง เคียวชิโร่จึงได้เริ่มติดต่อกับยูริในฐานะมิซากิ ทั้งๆ ที่เค้าก็รู้ว่าเธอคือน้องสาว ไม่ใช่มิซากิจริงๆ แล้วมันก็เลยเถิดต่อเนื่องมาถึงการเขียนจดหมายสื่อสารกันไปมา แล้วเรื่องราวเหล่านี้ก็ทาบทับเข้ากับเหตุการณ์ในอดีตอีกครั้ง...
Mrs Dalloway คุณนายดัลโลเวย์
Virginia Woolf เขียน | ดลสิทธิ์ บางคมบาง แปล
ถึงตัวเล่มจะใช้ชื่อว่า Mrs Dalloway แต่ที่จริงแล้ว มันเล่าถึงตัวละครอีกมากมายนับสิบชีวิต แล้วก็อาจจะกล่าวได้ว่า ทุกตัวละครล้วนเกี่ยวพันกับ Mrs Dalloway ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่พวกเค้าก็มีความรู้สึกนึกคิด มีชีวิต และมีชะตากรรมเป็นของตัวเอง มีหลายตัวละครที่เราชอบมาก แต่ที่สุดของที่สุดก็ต้องยกให้กับ “เซพทิมุส” ชายที่กำลังอยู่ภาวะซึมเศร้าเข้าโจมตีจิตใจอย่างหนักหน่วง การใคร่ครวญถึงความตาย และความพยายามรับมือกับภาระความรับผิดชอบด้านจิตใตของภรรยาหากเค้าตายจากไป ไปจนถึงพวกหมอที่พยายามเข้ามาช่วยเหลือ (?) ให้เค้าหาย ก็จะมีใครเข้าใจภาวะเช่นนี้และความอยากฆ่าตัวตายได้ดีไปกว่า Virginia Woolf อีกล่ะ
10 COUNT
ริฮิโตะ ทาคาราอิ เขียน
10 COUNT เล่าเรื่องของ “ชิโรทานิ” เลขาประธานบริษัทผู้มีอาการไมโซโฟเบีย (Mysophobia) หรืออาการหวาดกลัวเชื้อโรคขั้นรุนแรง แบบที่ต้องสวมถุงมือไว้ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยจนมือพังไปหมด แล้วก็แยกตัวออกจากผู้คนต่างๆ เสมอ จนกระทั่งเค้าได้พบเข้ากับ “คุโรเสะ” นักจิตวิทยาหนุ่มหล่อมาดขรึมโดยบังเอิญ แล้วคุโรเสะก็อาสาช่วยบำบัดอาการของชิโรทานิให้เป็นการส่วนตัว ด้วยวิธี ERP (Exposure and Response Prevention) – วิธีบำบัดโดยให้ผู้ป่วยฝึกทำพฤติกรรมที่รู้สึกต่อต้านและป้องกันไม่ให้ทำพฤติกรรมซ้ำซากบางอย่าง ซึ่งมันมีสิ่งต่างๆ ที่คุโรเสะจะต้องค่อยๆ ลองทำไปทั้งหมด 10 ข้อ และเมื่อถึงข้อสุดท้ายก็ถือว่า พวกเค้าเสร็จสิ้นการบำบัด ... อันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง 10 COUNT นั่นเอง
เป็นธรรมเนียมที่เราทำติดต่อกันมาหลายปี กับการชวนเพจ "ชีวิตผมก็เหมือนหนัง" มาจัดอันดับหนังสือดีจริตโดนใจ LGBTQ+ ประจำปี ซึ่งก็ต้องอธิบายก่อนว่า หนังสือหลายๆ เล่มตีพิมพ์มาก่อนหน้านั้นแล้ว เพียงแต่ผู้เขียนได้หยิบยกมานำเสนอเป็นหนังสือดีน่าประทับใจตามที่ตนเองได้อ่านในปีที่ผ่านมาเพียงเท่านั้น และความพิเศษก็คือในปีนี้ มีมังงะ Boys Love ติดอันดับมาเป็นกรณีพิเศษด้วยหนึ่งเรื่อง
สุสานสยาม
ปราบต์ เขียน
“ปราบต์” สร้างโลกอนาคตอันแสนมืดหม่นขึ้นมา หลังจากสงครามการเมืองกลางเมืองทำลายประเทศชาติลงไป พร้อมๆ กับมลพิษร้ายแรงถึงขีดสุด จนประชาชนในสยามอลังการถูกแบ่งชนชั้นและมีการงานที่ต้องทำเพื่อชาติกันทุกคน แต่แล้วเมื่อเกิดการตั้งคำถามบางอย่างขึ้น มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมและการเปลี่ยนแปลงทั้งบนดินและโลกใต้ดิน ไม่แน่การอุบัติขึ้นของโรคประหลาดที่ทำให้มนุษย์กลายร่างเป็นซอมบี้ไล่กัดกินสมองผู้คน อาจจะทำให้สยามอลังการเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วกว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงเสียอีก
ทะเลสาบน้ำตา
วีรพร นิติประภา เขียน
“ยิหวา” เด็กหญิงที่ถูกแม่ทิ้งไว้ให้ใช้ชีวิตตามลำพังในห้องหนึ่งของอาคารรูปทรงประหลาด ถึงอย่างนั้นเธอก็มีกิจกรรมต้องทำเต็มไปหมด โดยเฉพาะการออกไปสังสรรค์กับสมาคมลับใต้ต้นชงโค อันประกอบไปด้วย คุณยายชรา, ห่านตัวโต และแมวเหมียว ส่วน “อนิล”เป็นเด็กชาย หากถอดเรื่องแฟนตาซี บรรยากาศเหนือจริง และกลิ่นอายของนิทานสำหรับเด็กออก “ทะเลสาบน้ำตา” คือเรื่องราวการใช้ชีวิตอันเต็มไปด้วยบาดแผลและเว้าแหว่งจากการถูกทอดทิ้งของเด็กชายและเด็กหญิง ที่บังเอิญได้มาพานพบกัน ได้เติมเต็มชีวิต ปลอบประโลม และโอบกอดกันและกัน พร้อมๆ กับเล่าเรื่องของคนรุ่นเก่าที่ยังคงพยายามหาทางเยียวยาตนเองจากความทรงจำอันเลวร้ายในวันเก่าก่อน บ้างค้นพบความสุขในชีวิตอีกครั้ง บ้างยังคงหลงทางสับสน และบ้างก็สูญหายไปตลอดกาล
น้ำหอม Das Parfum
Patrick Süskind เขียน | สีมน แปล
ฌอง บับติส เกรอนุย เกิดมาจากแม่ค้าขายปลาในตลาดกลางกรุงปารีส ในปี 1738 แม่ผู้คลอดเค้าและตั้งใจปล่อยให้ตายในกองขยะใต้ร้านขายปลา ท่ามกลางกลิ่นเน่าเหม็นสุดประมาณนั้น เกรอนุยรอดตายได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ยังมีเรื่องประหลาดชวนพิศวงตามมาอีกมากมายตลอดชีวิตของเค้า โดยเฉพาะการไร้ซึ่งกลิ่นกายติดตัว และทักษะการสูดดมกลิ่นต่างๆ ได้ล้ำลึกเกินกว่ามนุษย์มนาจะทำได้ แล้วจากชีวิตที่ดูสิ้นไร้ความหวังอับจนหนทาง เกรอนุยค่อยๆ ไต่เต้าสู่การเป็นนักสร้างสรรค์น้ำหอมที่แฝงกายไว้เบื้องหลังร้านน้ำหอมชื่อดัง ทักษะต่างๆ ที่เค้าเพียรศึกษาและสะสมกลิ่นนับล้านไว้ในจินตนาการ เพียงมุ่งสู่การสร้างสรรค์กลิ่นที่อยู่เหนือสุดแห่งกลิ่นใดทั้งปวง กลิ่นที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของหญิงสาวหลายคน
จดหมายรักฉบับสุดท้าย Last Letter
อิวาอิ ชุนจิ เขียน | ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
เรื่องราวของ “เคียวชิโร่” นักเขียนนวนิยายที่อยู่ห่างไกลจากคำว่าประสบความสำเร็จเป็นหลัก และราวกับว่าเค้าเป็นคนเขียน Last Letter ที่เรากำลังอ่านอยู่นี้ เพื่อสื่อสารถึง “มิซากิ” หญิงสาวที่เค้าเคยตกหลุมรักในสมัยเป็นนักเรียน พยายามสานสัมพันธ์จนได้คบหากันในสมัยเรียนมหา’ลัย แม้จะเลิกรากันไปนานหลายสิบปี แต่รักแรกนี้ก็ยังอยู่ในใจเค้าเสมอมา โดยที่ไม่รู้เลยว่า มิซากิได้เสียชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยเหตุบังเอิญและโชคชะตา เคียวชิโร่ได้พบกับ “ยูริ” น้องสาวของมิซากิที่โผล่มาร่วมงานเลี้ยงรุ่นแทนพี่สาวของตัวเอง แต่เพื่อนๆ ทุกคนในรุ่นดันเข้าใจว่าเธอคือมิซากิ จากจุดนั้นเอง เคียวชิโร่จึงได้เริ่มติดต่อกับยูริในฐานะมิซากิ ทั้งๆ ที่เค้าก็รู้ว่าเธอคือน้องสาว ไม่ใช่มิซากิจริงๆ แล้วมันก็เลยเถิดต่อเนื่องมาถึงการเขียนจดหมายสื่อสารกันไปมา แล้วเรื่องราวเหล่านี้ก็ทาบทับเข้ากับเหตุการณ์ในอดีตอีกครั้ง...
Mrs Dalloway คุณนายดัลโลเวย์
Virginia Woolf เขียน | ดลสิทธิ์ บางคมบาง แปล
ถึงตัวเล่มจะใช้ชื่อว่า Mrs Dalloway แต่ที่จริงแล้ว มันเล่าถึงตัวละครอีกมากมายนับสิบชีวิต แล้วก็อาจจะกล่าวได้ว่า ทุกตัวละครล้วนเกี่ยวพันกับ Mrs Dalloway ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่พวกเค้าก็มีความรู้สึกนึกคิด มีชีวิต และมีชะตากรรมเป็นของตัวเอง มีหลายตัวละครที่เราชอบมาก แต่ที่สุดของที่สุดก็ต้องยกให้กับ “เซพทิมุส” ชายที่กำลังอยู่ภาวะซึมเศร้าเข้าโจมตีจิตใจอย่างหนักหน่วง การใคร่ครวญถึงความตาย และความพยายามรับมือกับภาระความรับผิดชอบด้านจิตใตของภรรยาหากเค้าตายจากไป ไปจนถึงพวกหมอที่พยายามเข้ามาช่วยเหลือ (?) ให้เค้าหาย ก็จะมีใครเข้าใจภาวะเช่นนี้และความอยากฆ่าตัวตายได้ดีไปกว่า Virginia Woolf อีกล่ะ
10 COUNT
ริฮิโตะ ทาคาราอิ เขียน
10 COUNT เล่าเรื่องของ “ชิโรทานิ” เลขาประธานบริษัทผู้มีอาการไมโซโฟเบีย (Mysophobia) หรืออาการหวาดกลัวเชื้อโรคขั้นรุนแรง แบบที่ต้องสวมถุงมือไว้ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยจนมือพังไปหมด แล้วก็แยกตัวออกจากผู้คนต่างๆ เสมอ จนกระทั่งเค้าได้พบเข้ากับ “คุโรเสะ” นักจิตวิทยาหนุ่มหล่อมาดขรึมโดยบังเอิญ แล้วคุโรเสะก็อาสาช่วยบำบัดอาการของชิโรทานิให้เป็นการส่วนตัว ด้วยวิธี ERP (Exposure and Response Prevention) – วิธีบำบัดโดยให้ผู้ป่วยฝึกทำพฤติกรรมที่รู้สึกต่อต้านและป้องกันไม่ให้ทำพฤติกรรมซ้ำซากบางอย่าง ซึ่งมันมีสิ่งต่างๆ ที่คุโรเสะจะต้องค่อยๆ ลองทำไปทั้งหมด 10 ข้อ และเมื่อถึงข้อสุดท้ายก็ถือว่า พวกเค้าเสร็จสิ้นการบำบัด ... อันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง 10 COUNT นั่นเอง